WebBoard :กฎหมาย|การเปิดพินัยกรรมต้องทำเมื่อใด และอย่างไร

การเปิดพินัยกรรมต้องทำเมื่อใด และอย่างไร

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

การเปิดพินัยกรรมต้องทำเมื่อใด และอย่างไร

  • 26349
  • 9
  • post on 1 ธ.ค. 2557, 17:12

 กรณีเจ้าของพินัยกรรมได้เสียชีวิตลงแล้ว แต่ท่านได้ทำพินัยกรรมไว้ โดยมีทายาทเป็นบุตรและหลาน เนื้อหาพินัยกรรมต้องการยกส่วนที่เป็นสินสมรสของท่านได้แก่หลาน ส่วนสินสมรสของบิดาให้แก่บุตร (เนื่องจากเมื่อบิดาตาย ยังไม่ได้มีการจัดการมรดก) ต้องการทราบว่า

1.ควรทำการเปิดพินัยกรรมเมื่อใด จึงจะเหมาะสมไม่ชักช้าหรือรวดเร็วเกินไป เกรงว่าเก็บไว้นานจะเหมือนเป็นการปกปิด ว่ามีพินัยกรรม

2. ในการเปิดพินัยกรรมต้องมีผู้ใดมาบ้าง ประจักษ์พยานคือที่เหมาะสมควรเป็นใคร ควรเปิดที่ไหน

3. กรณีบุตรไม่ยอมรับพินัยกรรม ทางผู้จัดการมรดกที่ถูกแต่งตั้งต้องทำอย่างไรบ้าง

4. ผู้ตายมีสถานะเป็นผู้จัดการมรดกของสามีอยู่ ต้องมีการยกเลิกหรือไม่ ต้องทำอย่างไร

ขอบคุณค่ะ

โดยคุณ ่jacky007 (171.96.xxx.xxx) 1 ธ.ค. 2557, 17:12

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 9

ขอเรียนถามดังนี้ค่ะ

ปู่ของดิฉันทำพินัยกรรมยกที่ดินให้ไว้ก่อนเสียชีวิตให้พ่อของดิฉันและอาของดิฉันอีก 2 คน รวมพ่อดิฉันด้วยก็ 3 คน โดยไปทำกันที่ ที่ว่าการอำเภอ ต่อมาปู่ของดิฉันเสีย พ่อและอาของฉันก็ยังไม่ได้ไปเปิดพินัยกรรม จนล่วงเลยระยะเวลากว่า 7 ปี จนพ่อดิฉันเสียชีวิตเมื่อเดือนก.ย.62 จะรบกวนถามว่าจะต้องทำอย่างไรต่อไปค่ะ แม่ดิฉัน ดิฉัน และน้อง จะได้ส่วนแบ่งในส่วนที่ดินที่เป็นของพ่อหรือไม่ และต้องดำเนินการอย่างไรบ้างค่ะ.(แม่ของดิฉันจดทะเบียนกับพ่ออ่ะค่ะ). รบกวนตอบด้วยนะค่ะ


โดยคุณ ทยิดา เพ็ชรมา 3 ธ.ค. 2562, 13:23

ความคิดเห็นที่ 8

อยากทราบว่า ในกรณีที่ป้าของผมพาตาของผมทำพินัยกรรมเอาไว้แต่ผมไม่ได้อยู่ด้วยแล้วตาของผมได้เสียชีวิตไป ป้าและทายาทคนอื่นๆได้เปิดอ่านพินัยกรรม ในตอนอ่านพินัยกรรมผมก็ไม่ได้อยู่ด้วย แต่ผมเป็นคนเดียวที่อยู่ในบ้านเลขที่เดียวกันกับเจ้าของมรดกผมต้องทำยังไงครับ

โดยคุณ สัมฤทธิ์ 30 ส.ค. 2562, 11:27

ตอบความคิดเห็นที่ 8

ทายาทผู้ตายผู้มีสิทธิรับมรดกสามารถยื่นคำร้องตั้งผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมได้ ตามปพพ.มาตรา 1713 เพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกแก่ทายาทตามพินัยกรรมดังกล่าวได้ หรือโทรสอบถามทนายคลายทุกข์เบอร์ 02-9485700

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 9 ก.ย. 2562, 09:42

ความคิดเห็นที่ 7

สอบถามขั้นตอนการ ขอเปิดพินัยกรรม กรณีสามีชาวต่างประเทศ คือ รุ้ว่าสามีได้ทำพินัยกรรมไว้กับทนายคนนี้ แต่เราไม่มีพินัยกรรมกับเรา เขาติดต่อ เราติดต่อทนายถือพินัยกรรมไปเราต้องการขอเปิดพินัยกรรมว่าเราได้รับผลประโยชน์อะไรบ้าง ทนายตอบกลับมาให้เรา หาทนายที่ประเทศไทย และ ให้ทนายอธิบายกฏหมายเกี่ยวกับกฏมายพินัยกรรม น่าแปลกใจ ในเมื่อเราทราบพินัยกรรมอยู่กีบทนายคนนี้ แล้วทำไมทนายที่ถือพินัยกรรมต้องให้เราหาทนายตัวเองมา 

รบกวน ผู้รู้ ช่วยตอบหน่ยค่ะ

โดยคุณ นิตยา 9 ธ.ค. 2561, 22:06

ความคิดเห็นที่ 6

การไปเปิดพินัยกรรมต้องเอาตัวพยานไปด้วยไหมคะ

โดยคุณ Kanjana 23 พ.ย. 2561, 09:27

ความคิดเห็นที่ 5

อยากทราบว่าพยานที่เซ็นเป็นสามีของผู้รับผลประโยชน์จะเป็นอะไรไหมค่ะ

โดยคุณ น.ส. ศศิพร คุ้มทวี 27 ก.พ. 2561, 20:59

ความคิดเห็นที่ 4

อยากถามว่าป้าทำพินัยกรรมยกบ้านกับที่ดินให้แต่ก่อนทำป้าใด้เอาไปขอกู้กับธนาคารใว้และยังติดหนี้อีกเปนล้านจะมีผลอย่างไรบ้างครับ

โดยคุณ ฉัตรชัย อินเหลา 4 ม.ค. 2561, 11:48

ความคิดเห็นที่ 3

ผู้เสียชีวิตได้ทำพินัยกรรมไว้ ให้ลูกสาวคนเล็กเพียงคนเดียวส่วนภรรยาที่จดทะเบียนไม่ได้ให้ ภรรยาผู้เสียชีวิตมีสิทธิ์ที่จะได้ไมคะ  (ภรรยาที่เอ่ยมาคือภรรยาคนใหม่ ที่มาแต่ตัวไม่มีสมบัติติดตัวมา สมบัติทั้งหมด มีแต่ของผู้เสียชีวิตทั้งหมด)
โดยคุณ นางสาวสุจิตรา สมบูรณ์ 29 ต.ค. 2560, 12:38

ความคิดเห็นที่ 2

ขอบพระคุณ คุณมโนธรรม เจษฏาสาธุชน สำหรับการตอบข้อกฏหมายที่ชัดเจน ในหลาย ๆ ครั้งที่ถาม ขอให้บุญกุศลที่ท่านได้ให้ความรู้แก่ผู้รู้น้อย ให้ท่านเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไปค่ะ กราบขอบพระคุณอีกครั้งด้วยใจจริง

โดยคุณ ่jacky007 2 ธ.ค. 2557, 15:10

ความคิดเห็นที่ 1

1.ควรทำการเปิดพินัยกรรมเมื่อใด จึงจะเหมาะสมไม่ชักช้าหรือรวดเร็วเกินไป เกรงว่าเก็บไว้นานจะเหมือนเป็นการปกปิด ว่ามีพินัยกรรม

ตอบ...ไม่มีกฎหมายกำหนดว่า ต้องเปิดพินัยกรรมเมื่อไร แต่.. ในทางปฏิบัติ ควรเปิดพินัยกรรม ภายหลังจากจัดการศพเจ้ามรดก และบำเพ็ญกุศลตามประเพณีนิยม ผ่านไปในเวลาอันสมควร(15-30 วัน)

2. ในการเปิดพินัยกรรมต้องมีผู้ใดมาบ้าง ประจักษ์พยานคือที่เหมาะสมควรเป็นใคร ควรเปิดที่ไหน

ตอบ...ผู้ที่ควรเชิญมาเป็นสักขีพยานได้แก่ ทายาทที่มีสิทธิรับมรดกโดยธรรม และทายาทที่มีรับมรดกตามพินัยกรรม ทุกคน รวมทั้งญาติผู้ใหญ่ที่เป็นที่เคารพนับถือ และผู้นำชุมชน เช่นผู้ใหญ่บ้าน เป็นต้น การเปิดพินัยกรรม ควรเปิด ณ บ้านของเจ้ามรดก หรือสถานที่ที่เหมาะสม ตามที่เห็นสมควร....เมื่อเปิดพินัยกรรมแล้ว ควรทำเป็นสัญญาประนีประนอมรองรับไว้ โดยระบุเนื้อความตามพินัยกรรมว่า ใครได้รับส่วนแบ่งอะไร ที่ไหน และให้ทายาททุกคนลงลายมือชื่อรับรองไว้.. ก็สามารถทำสัญญาไว้ก่อนล่วงหน้า โดยยึดพินัยกรรมเป็นหลัก เพื่อให้สะดวก ไม่ต้องมารอเวลาการทำเอกสาร ให้เนิ่นนานจนเกินควร

3. กรณีบุตรไม่ยอมรับพินัยกรรม ทางผู้จัดการมรดกที่ถูกแต่งตั้งต้องทำอย่างไรบ้าง

ตอบ....เบื้องต้นก็ต้องใช้การเจรจากัน ถ้าการเจรจาไม่เป็นผล ก็ต้องฟ้องศาล ให้แบ่งมรดกตามพินัยกรรม ซึ่งก็จะมีการพิสูจน์ว่าพินัยกรรมนั้นเป็นของแท้จริงหรือไม่ และทำถูกต้องตามแบบหรือไม่ ถ้าไม่มีปัญหา ศาลก็คงให้มีการแบ่งมรดกตามพินัยกรรม ครับ

4. ผู้ตายมีสถานะเป็นผู้จัดการมรดกของสามีอยู่ ต้องมีการยกเลิกหรือไม่ ต้องทำอย่างไร


ตอบ...ต้องมีการร้องศาล ขอตั้งผู้จัดการมรดกคนใหม่ แทนผู้ตาย ครับ
 

โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน (สมาชิก) 2 ธ.ค. 2557, 12:00

แสดงความเห็น