สัดส่วนการแบ่งมรดกเป็นอย่างไร|สัดส่วนการแบ่งมรดกเป็นอย่างไร

สัดส่วนการแบ่งมรดกเป็นอย่างไร

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

สัดส่วนการแบ่งมรดกเป็นอย่างไร

  • Defalut Image

รบกวนสอบถาม พี่ชายเสียชีวิต มีภรรยาจดทะเบียนสมรส มีบุตร 2 คน

บทความวันที่ 10 ก.ค. 2563, 09:52

มีผู้อ่านทั้งหมด 1086 ครั้ง


สัดส่วนการแบ่งมรดกเป็นอย่างไร

               รบกวนสอบถาม พี่ชายเสียชีวิต  มีภรรยาจดทะเบียนสมรส  มีบุตร 2 คน  พ่อแม่ยังมีชีวิตอยู่ จะสอบถามว่า ส่วนมรดกที่พ่อแม่พึงจะได้ คือกี่ส่วน  และเราจะทราบได้อย่างไรว่า สิ่งที่ผู้จัดการมรดกแสดงแก่ผู้รับมรดกทุกสิ่ง  ไม่มีการปิดบัง

คำแนะนำสำนักงานทนายคลายทุกข์
            กฎหมายมรดก คนได้รับมรดกคนแรกคือบุตร  หรือผู้สืบสันดาน ถ้ามีลูกตัดทายาททุกลำดับ ยกเว้น พ่อแม่คนตายได้รับมรดกเท่ากับลูกคนละส่วน  ส่วนทรัพย์มรดก หากยื่นต่อศาลในการจัดการมรดกไม่ครบ และศาลสั่งตั้งผู้จัดการมรดกแล้ว สามารถให้ผู้จัดการมรดกแบ่งได้เลย

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

การจัดการมรดก


    ตามข้อเท็จจริง   เมื่อพี่ชายเสียชีวิต  ภรรยาจะได้รับส่วนแบ่งของทรัพย์มรดกไปก่อนกึ่งหนึ่ง(ถ้าเป็นสินสมรส คือหามาได้ในระหว่างสมรส) อีกกึ่งหนึ่ง แบ่ง 5 ส่วนเท่าๆกัน  ระหว่าง พ่อ แม่  ภรรยา  และบุตร 2 คน

    ผู้จัดการมรดก  ต้องยื่นบัญชีทรัพย์มรดกของผู้ตายต่อศาล  บัญชีฯต้องมีผู้มีส่วนได้เสีย ลงชื่อรับรองอย่างน้อยสองคน ภายในหนึ่งเดือนฯ ( ปพพ. ม.1729) ดังนั้นโอกาสจะปิดบังทรัพย์มรดก คงเป็นไปได้ลำบาก...ถ้า...มีการปิดบังทรัพย์มรดก อาจถูกกำจัดมิให้ได้รับมรดกเลย (ปพพ. ม.1605) น่าจะพอวางใจได้...

                       มโนธรรม

โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 22 ก.ค. 2563, 10:14

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก