ผิดสัญญาทางแพ่งกับฉ้อโกงต่างกันอย่างไร|ผิดสัญญาทางแพ่งกับฉ้อโกงต่างกันอย่างไร

ผิดสัญญาทางแพ่งกับฉ้อโกงต่างกันอย่างไร

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ผิดสัญญาทางแพ่งกับฉ้อโกงต่างกันอย่างไร

  • Defalut Image

การพิจารณา ต้องพิจารณาว่าขณะทำสัญญานั้นจำเลยมีเจตนาที่จะปฎิบัติตามสัญญาหรือไม่

บทความวันที่ 31 มี.ค. 2563, 10:08

มีผู้อ่านทั้งหมด 1951 ครั้ง


ผิดสัญญาทางแพ่งกับฉ้อโกงต่างกันอย่างไร

    การพิจารณา ต้องพิจารณาว่าขณะทำสัญญานั้นจำเลยมีเจตนาที่จะปฎิบัติตามสัญญาหรือไม่ ถ้ามีเจตนาที่จะกระทำตามสัญญา ต่อมาภายหลังไม่สามารถปฎิบัติตามสัญญาได้ จะเป็นเรื่องผิดสัญญาทางแพ่ง  แต่ถ้าหากขณะทำสัญญาจำเลยไม่ได้มีเจตนาที่จะทำตามสัญญามาตั้งแต่แรก  ถือเป็นการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ เป็นความผิดฐานฉ้อโกง

ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกา  
1.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19657/2557

            จำเลยทำสัญญาลากจูงทางทะเลระหว่างประเทศ(เหมา) เพื่อทำการลากจูงเรือดำน้ำของโจทก์รวมจากราชอาณาจักรสวีเดนมายังราชอาณาจักรไทยโดยปลอดภัย แต่เรือดำน้ำของโจทก์ร่วมจมเสียก่อนระหว่างทำการลากจูงในทะเลเหนือ และไม่สามารถนำมายังราชอาณาจักรไทยได้ จึงเป็นเรื่องในอนาคตที่จำเลยรับทำแล้วแต่ไม่สำเร็จและมิใช่จำเลยตั้งใจจะไม่ปฏิบัติตามคำรับรองของจำเลย ก่อนทำสัญญาจำเลยประกอบวิชาชีพเกี่ยวกับการลากจูงเรือเดินสมุทรมาหลายปี มีกัปตัน เรือ และเพื่อนร่วมงานที่มีประสบการณ์ความสามารถ และจำเลยเป็นเจ้าของเรือเดินสมุทรที่สามารถลากจูงเรือดำน้ำของโจทก์ร่วมได้ ดังนี้ จึงไม่เป็นการหลอกลวงอันจะเป็นความผิดฐานฉ้อโกง ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 341
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1229/2536

            องค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341ต้องประกอบด้วยผู้หลอกลวงมีเจตนาทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความเท็จหรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งและผลการหลอกลวงนั้นทำให้ผู้หลอกลวงได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวง หรือบุคคลที่สาม หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ทำถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ ฟ้องโจทก์บรรยายว่าจำเลยให้คำรับรองต่อโจทก์ต่อหน้าพนักงานสอบสวนว่าจะชำระหนี้แทนนาง ส. และขอให้โจทก์ถอนคำร้องทุกข์เป็นคำมั่นสัญญาที่จำเลยจะปฏิบัติในอนาคต คำรับรองดังกล่าวจึงไม่ใช่ข้อความเท็จ เพราะโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีความตั้งใจมาแต่แรกขณะให้คำรับรองว่าจะไม่ปฏิบัติตามนั้น ฟ้องโจทก์จึงขาดองค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกง

ตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 341
  ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ทำ ถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

อ้างว่ามีความสามารถ ในการบริหารจัดการ จึงมอบหมายให้ดำเนินการในฐาระ ผจก.บริษัท แต่ผลการทำงานไม่เป็นไปตามที่มอบหมายให้ มีความผิดมัยครับ หรือผิดใกล้เคียงม.นัยครับ ขอบคุณครับ

โดยคุณ ใจปภิณสุทธิพงษ์ 31 มี.ค. 2563, 12:39

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก