คนวิกลจริตฆ่าคนตาย ทำผิดซ้ำซาก|คนวิกลจริตฆ่าคนตาย ทำผิดซ้ำซาก

คนวิกลจริตฆ่าคนตาย ทำผิดซ้ำซาก

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คนวิกลจริตฆ่าคนตาย ทำผิดซ้ำซาก

  • Defalut Image

จากข่าวสาวรายหนึ่งก่อเหตุใช้มีดแทง ด.ญ.วัย 4 ขวบเสียชีวิต

บทความวันที่ 30 มี.ค. 2563, 10:33

มีผู้อ่านทั้งหมด 1521 ครั้ง


คนวิกลจริตฆ่าคนตาย ทำผิดซ้ำซาก

            จากข่าวสาวรายหนึ่งก่อเหตุใช้มีดแทง ด.ญ.วัย 4 ขวบเสียชีวิต ในพื้นที่จังหวัดนครปฐม เป็นความผิดฐานใด สามารถศึกษาข้อกฎหมายและคำพิพากษาศาลฎีกาได้ดังนี้
(ที่มา https://www.khaosod.co.th/special-stories/news)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2721/2546
          จำเลยใช้อาวุธปืนลูกซองยาวขนาด 12 ยิงผู้เสียหายในระยะอยู่ห่างกันประมาณ7 วา ซึ่งโดยปกติย่อมมีความรุนแรงมากทั้งกระสุนปืนกระจายออกเป็นวง โอกาสที่จะยิงพลาดเป้าหมายในระยะดังกล่าวแทบไม่มี เมื่อเสื้อที่ผู้เสียหายสวมใส่ในขณะถูกยิงมีรอยกระสุน 5 แห่ง เป็นกลุ่ม แต่ละรอยห่างกันประมาณ 1 ถึง 2 นิ้ว ไม่มีรอยใดเป็นรูทะลุเสื้อ เพียงปรากฏเป็นรอยเท่านั้น กลุ่มรอยกระสุนปืนอยู่บริเวณใต้ชายโครงซ้ายและหน้าท้องด้านซ้าย แสดงว่ากระสุนปืนทั้ง 5 ลูก ถูกร่างกายของผู้เสียหายบริเวณดังกล่าวแต่ไม่มีความรุนแรงพอที่จะทำอันตรายทะลุเสื้อและผิวหนังเข้าไปสู่อวัยวะภายในร่างกายผู้เสียหายได้ อาวุธปืนที่จำเลยยิง จึงไม่มีความร้ายแรงพอที่จะทำให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายได้อย่างแน่แท้ เพราะเหตุอาวุธปืนซึ่งเป็นปัจจัยที่ใช้ในการกระทำความผิด การกระทำของจำเลยจึงเป็นการพยายามกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 81 วรรคหนึ่ง
          จำเลยกับผู้เสียหายไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกันมาก่อน ทั้งไม่มีมูลเหตุใดรุนแรงพอที่จะต้องทำร้ายกัน เมื่อฟังประกอบคำเบิกความของพี่สาวจำเลยที่ว่าจำเลยต้องไปพบแพทย์เพื่อรับยา 2 เดือนต่อครั้ง หากจำเลยไม่ได้รับประทานยาจะมีอาการคลุ้มคลั่ง การที่จำเลยคาดคิดว่าผู้เสียหายลักรองเท้าจำเลยไปจึงถือเอาเป็นเหตุโกรธแค้น นับว่าจำเลยมีความผิดปกติในความคิดและการรับรู้แล้วแสดงออกด้วยการใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหาย ซึ่งกระทำไปเพราะความเป็นโรคจิตเภทแต่การที่จำเลยเชื่อฟังและมีอาการสงบลงเมื่อมารดาและพี่สาวจำเลยเข้าห้ามปรามแสดงว่าจำเลยยังสามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้างหรือยังสามารถบังคับตนเองได้บ้างจำเลยจึงต้องรับโทษสำหรับการกระทำความผิดนั้น ซึ่งศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1609/2544
         จำเลยป่วยด้วยโรคซึมเศร้าเกิดความเครียดในการประกอบอาชีพและรู้สึกว่าตัวเองไร้ค่าจนมีความกร้าวร้าวสะสมมากขึ้น เมื่อพบโจทก์ร่วมกำลังขับเรือเร่ขายสินค้าเช่นเดียวกับจำเลยจึงกระตุ้นจิตใจให้มีความกร้าวร้าวยิ่งขึ้นจนทำร้ายโจทก์ร่วมอย่างรุนแรง แต่จำเลยยังขับเรือหลบหนีกลับบ้านได้ แสดงว่าสามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้างหรือสามารถบังคับตนเองได้บ้างต้องด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 65 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8743/2544
         จำเลยปัญญาอ่อนถึงขนาดไม่อาจรู้ได้ว่าการตัดต้นไม้หวงห้ามเป็นผิดกฎหมาย กรณีจึงมิใช่จำเลยกระทำผิดในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบเพราะมีจิตบกพร่องตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 65 วรรคหนึ่งเท่านั้น แต่ถึงขั้นที่ถือได้ว่าจำเลยกระทำโดยมิได้รู้สำนึกในการที่กระทำทั้งมิได้รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด การกระทำของจำเลยจึงไม่มีความผิด เพราะขาดเจตนาตามมาตรา 59

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 64
  บุคคลจะแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมายเพื่อให้พ้นจากความรับผิดในทางอาญาไม่ได้ แต่ถ้าศาลเห็นว่า ตามสภาพและพฤติการณ์ ผู้กระทำความผิดอาจจะไม่รู้ว่ากฎหมายบัญญัติว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด ศาลอาจอนุญาตให้แสดงพยานหลักฐานต่อศาล และถ้าศาลเชื่อว่า ผู้กระทำไม่รู้ว่ากฎหมายบัญญัติไว้เช่นนั้น ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้
มาตรา 65  ผู้ใดกระทำความผิด ในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบ หรือไม่สามารถบังคับตนเองได้เพราะมีจิตบกพร่อง โรคจิตหรือจิตฟั่นเฟือน ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษสำหรับความผิดนั้น
แต่ถ้าผู้กระทำความผิดยังสามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้าง หรือยังสามารถบังคับตนเองได้บ้าง ผู้นั้นต้องรับโทษสำหรับความผิดนั้น แต่ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้

 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก