ค่าลวกอาหารสูงเกินจริง เป็นฉ้อโกงหรือไม่|ค่าลวกอาหารสูงเกินจริง เป็นฉ้อโกงหรือไม่

ค่าลวกอาหารสูงเกินจริง เป็นฉ้อโกงหรือไม่

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ค่าลวกอาหารสูงเกินจริง เป็นฉ้อโกงหรือไม่

  • Defalut Image

จากข่าวผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง โพสต์ข้อความว่าตนเองไปพักที่โรงแรมแห่งหนึ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราช

บทความวันที่ 22 ม.ค. 2563, 10:12

มีผู้อ่านทั้งหมด 623 ครั้ง


ค่าลวกอาหารสูงเกินจริง เป็นฉ้อโกงหรือไม่

            จากข่าวผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง โพสต์ข้อความว่าตนเองไปพักที่โรงแรมแห่งหนึ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยได้ซื้ออาหารทะเล ของสด ไปให้ทางโรงแรมลวกให้ ปรากฏว่าตอนคิดเงินถึงกับอึ้ง เพราะเจอค่าบริการแพงถึง 4,200 บาท  เข้าข่ายเป็นความผิดฐานฉ้อโกงหรือไม่
(ที่มา https://www.sanook.com/news)

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 341
  ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ทำ ถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 394/2553
             การกระทำที่จะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ จะต้องเป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยทุจริต มิใช่ได้ทรัพย์ไปเพราะผู้อื่นยินยอมมอบให้เนื่องจากถูกหลอกลวง เมื่อจำเลยจัดทำใบเบิกเงินทดรองจ่ายซึ่งมีค่าใช้จ่ายไม่ตรงตามความเป็นจริง จึงเป็นการหลอกลวงด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ การอนุมัติให้จำเลยเบิกเงินไปเกิดจากการที่พนักงานและกรรมการของโจทก์ร่วมหลงเชื่อข้อความในเอกสาร จึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง แม้โจทก์จะฟ้องขอให้ลงโทษในความผิดฐานลักทรัพย์ ศาลก็มีอำนาจลงโทษในความผิดฐานฉ้อโกงได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม

 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก