ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์นำส่งฎีกาให้จำเลยทั้งสอง แต่มิได้กำหนดเวลานำส่งไว้ ยังไม่ถือว่าโจทก์ทิ้งฎีกา|ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์นำส่งฎีกาให้จำเลยทั้งสอง แต่มิได้กำหนดเวลานำส่งไว้ ยังไม่ถือว่าโจทก์ทิ้งฎีกา

ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์นำส่งฎีกาให้จำเลยทั้งสอง แต่มิได้กำหนดเวลานำส่งไว้ ยังไม่ถือว่าโจทก์ทิ้งฎีกา

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์นำส่งฎีกาให้จำเลยทั้งสอง แต่มิได้กำหนดเวลานำส่งไว้ ยังไม่ถือว่าโจทก์ทิ้งฎีกา

  • Defalut Image

ในวันยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกาและฎีกา โจทก์ได้วางเงินค่าส่งสำเนาคำร้องขออนุญาตฎีกาและฎีกาแล้ว

บทความวันที่ 8 ธ.ค. 2562, 11:27

มีผู้อ่านทั้งหมด 828 ครั้ง


ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์นำส่งฎีกาให้จำเลยทั้งสอง แต่มิได้กำหนดเวลานำส่งไว้ ยังไม่ถือว่าโจทก์ทิ้งฎีกา

                ในวันยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกาและฎีกา โจทก์ได้วางเงินค่าส่งสำเนาคำร้องขออนุญาตฎีกาและฎีกาแล้ว ต่อมาศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งของศาลฎีกาที่อนุญาตให้โจทก์ฎีกาได้ และสั่งให้โจทก์นำส่งสำเนาคำร้องและฎีกาให้จำเลยทั้งสอง แต่มิได้กำหนดเวลาให้โจทก์นำส่งฎีกาให้จำเลยทั้งสองไว้ แม้เจ้าหน้าที่ศาลจะรายงานว่าได้มีการโทรศัพท์ติดต่อทนายความโจทก์เพื่อให้มานำส่งฎีกาแล้ว แต่ทนายโจทก์เพิกเฉย จึงถือว่าทนายโจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล หากไม่มีบันทึกรายการโทรศัพท์และรายละเอียดการโทรไว้ ไม่อาจถือได้ว่า ทนายโจทก์จงใจไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล อันจะถือว่าเป็นการทิ้งฎีกา ไม่มีเหตุที่จะจำหน่ายฎีกาของโจทก์ออกจากสารบบความศาลฎีกาได้

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 124/2562
                ในชั้นที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำร้องขออนุญาตฎีกาและฎีกาของโจทก์ มิได้กำหนดให้โจทก์นำส่งสำเนาคำร้องและสำเนาฎีกาให้แก่จำเลยทั้งสอง เมื่อศาลฎีกามีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ฎีกาแม้ศาลชั้นต้นระบุในรายงานกระบวนพิจารณาในวันนัดฟังคำสั่งศาลฎีกาดังกล่าวซึ่งทนายโจทก์มาศาลว่า ...หมายแจ้งจำเลยทั้งสองแก้ฎีกา ให้โจทก์นำส่ง ไม่มีผู้รับโดยชอบให้ปิดหมายได้ แต่ศาลชั้นต้นก็มิได้กำหนดเวลาให้โจทก์ในการนำส่งหรือวางค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายในการส่งหมายนัดแจ้งจำเลยทั้งสองให้แก้ฎีกาว่าให้โจทก์ดำเนินการภายในเวลาเท่าใด ซึ่งหากโจทก์เพิกเฉยไม่ปฏิบัติก็จะเป็นเหตุให้ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจจำหน่ายฎีกาของโจทก์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 252 การที่เจ้าหน้าที่ศาลรายงานว่า ทนายโจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล และเจ้าหน้าที่เคยโทรศัพท์แจ้งให้มาดำเนินการส่งหมายแล้ว แต่โจทก์หรือทนายโจทก์ไม่ได้มาดำเนินการนั้น ก็ไม่ปรากฏรายละเอียดในการติดต่อโทรศัพท์ว่าทนายโจทก์แจ้งแก่เจ้าหน้าที่ศาลว่าอย่างไร เหตุใดจึงไม่ดำเนินการตามคำสั่งศาล เนื่องจากในการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องและคำบังคับ โจทก์ก็เพียงแต่วางค่าธรรมเนียมในการส่งเท่านั้น ทนายโจทก์อาจเข้าใจว่าได้วางค่าธรรมเนียมในการส่งไว้ตั้งแต่วันยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกาพร้อมฎีกาแล้ว จึงไม่ดำเนินการนำเจ้าหน้าที่ไปส่งหมายนัดให้แก่จำเลยทั้งสองและไม่วางเงินค่าธรรมเนียมในการส่งตามคำสั่งศาลชั้นต้นอีก ตามพฤติการณ์จะถือว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีอันเป็นการทิ้งฟ้องตามมาตรา 174 (2) หาได้ไม่ จึงยังไม่สมควรจำหน่ายฎีกาของโจทก์ด้วยเหตุทิ้งฟ้อง

ตัวบทกฏหมายอ้างอิง
ประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 174
ในกรณีต่อไปนี้ให้ถือว่าโจทก์ได้ทิ้งฟ้อง คือ
(1) ภายหลังที่ได้เสนอคำฟ้องแล้ว โจทก์เพิกเฉยไม่ร้องขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้ส่งหมายเรียกให้แก้คดีแก่จำเลย และไม่แจ้งให้ศาลทราบเหตุแห่งการเพิกเฉยเช่นว่านั้นภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันยื่นคำฟ้อง
(2) โจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดไว้เพื่อการนั้นโดยได้ส่งคำสั่งให้แก่โจทก์โดยชอบแล้ว
มาตรา 246  เว้นแต่ที่ได้บัญญัติไว้ดังกล่าวมาข้างต้น บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยการพิจารณาและการชี้ขาดตัดสินคดีในศาลชั้นต้นนั้น ให้ใช้บังคับแก่การพิจารณาและการชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นอุทธรณ์ได้โดยอนุโลม
มาตรา 252 ในกรณีที่ไม่มีข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาตามมาตรา 250 กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ให้นำบทบัญญัติในลักษณะ 1 ว่าด้วยอุทธรณ์มาใช้บังคับโดยอนุโลม

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก