อำนาจตรวจคำคู่ความเป็นอำนาจของศาลไม่ใช่พนักงานรับฟ้อง|อำนาจตรวจคำคู่ความเป็นอำนาจของศาลไม่ใช่พนักงานรับฟ้อง

อำนาจตรวจคำคู่ความเป็นอำนาจของศาลไม่ใช่พนักงานรับฟ้อง

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

อำนาจตรวจคำคู่ความเป็นอำนาจของศาลไม่ใช่พนักงานรับฟ้อง

  • Defalut Image

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 179/2518

บทความวันที่ 3 ก.ย. 2562, 14:49

มีผู้อ่านทั้งหมด 607 ครั้ง


อำนาจตรวจคำคู่ความเป็นอำนาจของศาลไม่ใช่พนักงานรับฟ้อง

1.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 179/2518
          ศาลมีคำสั่งให้โจทก์จำเลยตรวจสอบเอกสาร และกำหนดเวลาให้จำเลยคัดค้านความไม่ถูกต้องของเอกสารและยอดเงินเป็นหนี้ที่โจทก์ฟ้องหากจำเลยไม่แถลงให้ถือว่าถูกต้องเมื่อปรากฏว่าการยื่นคำร้องขอขยายเวลาตรวจสอบเอกสารของจำเลยมิได้มอบฉันทะให้ผู้ใดมายื่นแทนเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 64 ศาลได้มีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องนั้นโดยหลงผิดว่าได้มีการยื่นคำร้องโดยชอบแล้ว จึงมีอำนาจเพิกถอนคำสั่งนั้นเสียได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 เมื่อศาลได้เพิกถอนคำสั่งและยกคำร้องของจำเลยเสียแล้ว ก็เสมือนจำเลยไม่แถลงการณ์ถึงความไม่ถูกต้องของบัญชีโจทก์ตามคำสั่งศาลกรณีต้องถือว่าจำเลยได้ยอมรับยอดหนี้ตามฟ้องของโจทก์เป็นการถูกต้องแล้ว
          เจ้าพนักงานศาลไม่มีหน้าที่ทักท้วงหรือแนะนำคู่ความในกระบวนความแต่อย่างใด เป็นหน้าที่ของคู่ความจะต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายที่บังคับไว้

2.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1673/2523
          การที่ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยทำฎีกามายื่นใหม่ พร้อมกับชำระค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาภายในกำหนด 7 วัน และสั่งรับฎีกาจำเลยไว้เป็นการสั่งตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา18 ศาลชอบที่จะกำหนดระยะเวลาให้ได้
          ก. ทำนาพิพาทที่จำเลยมีส่วนเป็นเจ้าของครอบครองอยู่ด้วยไปขอรับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ แล้วทำนิติกรรมขายให้โจทก์ที่อำเภอโดยจำเลยมิได้ยินยอมให้ ก. ขายที่นาพิพาทส่วนของจำเลยการที่ ก. ได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าว จึงไม่ก่อให้เกิดสิทธิครอบครองในที่นาพิพาทส่วนของจำเลยแม้โจทก์รับซื้อไว้โดยสุจริตเสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนแล้ว ก็ไม่มีสิทธิแต่อย่างใดเพราะผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน จะนำมาตรา1299,1300 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาใช้แก่กรณีมิได้

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก