การใช้สิทธิทางแพ่ง ไม่มีเจตนาทุจริต|การใช้สิทธิทางแพ่ง ไม่มีเจตนาทุจริต

การใช้สิทธิทางแพ่ง ไม่มีเจตนาทุจริต

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การใช้สิทธิทางแพ่ง ไม่มีเจตนาทุจริต

  • Defalut Image

ปัจจุบันการทวงหนี้รุนแรงขึ้น การพูดจาดีๆลูกหนี้ไม่ยอมจ่ายส่งผลให้เจ้าหนี้เดือดร้อน

บทความวันที่ 13 ส.ค. 2562, 10:36

มีผู้อ่านทั้งหมด 635 ครั้ง


การใช้สิทธิทางแพ่ง ไม่มีเจตนาทุจริต

    ปัจจุบันการทวงหนี้รุนแรงขึ้น การพูดจาดีๆลูกหนี้ไม่ยอมจ่ายส่งผลให้เจ้าหนี้เดือดร้อนเพราะมีปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงินเหลือหนทางสุดท้ายที่จะได้หนี้คืน จึงต้องใช้กำลังทำร้ายร่างกาย ข่มขู่ หรือไม่ก็เข้าไปยึดทรัพย์สินโดยพละการโดยไม่ใช้บริการศาลโดยมองว่าช้าไม่ทันใจ บางรายก็ใช้วิธีการประจานทำลายชื่อเสียง ศาลฎีกาเคยมีคำตัดสินเกี่ยวกับการใช้สิทธิทางแพ่งโดยเฉพาะการทวงหนี้ว่า ถ้าเป็นการใช้สิทธิทางแพ่งถึงแม้จะดูรุนแรงแต่ถ้าไม่มีเจตนาทุจริตก็ไม่มีความผิดทางอาญา 
    แต่ถ้าเป็นการบังคับชำระหนี้หรือการใช้สิทธิทางแพ่งที่มีเจตนาทุจริตซึ่งศาลฎีกาวางหลักว่าหมายถึงการบังคับชำระหนี้โดยที่ไม่มีอำนาจตามกฎหมายให้ทำได้ เช่น ใช้อาวุธปืน ข่มขู่คุกคาม วิ่งราวทรัพย์ ชิงทรัพย์ ลักทรัพย์ เพื่อนำไปชำระหนี้ของตนเองรวมถึงการทวงหนี้การพนัน ซึ่งกฎหมายถือว่าไม่มีมูลหนี้ หากมีการบังคับชำระหนี้การพนันโดยใช้วิธีการรุนแรงก็ถือว่ามีเจตนาทุจริต มีความผิดทางอาญาขึ้นอยู่กับองค์ประกอบความผิดในแต่ละเรื่องว่าจะเข้าฐานความผิดใด และถ้าใช้ความรุนแรงมาศาลก็จะไม่รอการลงโทษเพราะถือว่าเป็นการกระทำที่อุกอาจไม่เคารพกฎหมาย
    สรุปแล้วการใช้สิทธิทางแพ่งหรือการบังคับชำระหนี้ควรเอาพอสมควรไม่ถึงขนาดตายหรือบาดเจ็บ เพราะว่าถ้ามีการทำร้ายร่างกายข่มขู่ คนทวงซึ่งเป็นเจ้าหนี้ก็อาจติดคุกแทนลูกหนี้นะครับ ตัวอย่างแนวคำพิพากษาของศาลฎีกาที่ผ่านมา
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2279/2551
              การที่จำเลยเอาเครื่องรับโทรทัศน์สี 1 เครื่อง เครื่องเสียงสเตอริโอ 1 เครื่องของกลางของผู้เสียหายไปจากบ้านของผู้เสียหายเพราะ ส. ซึ่งเป็นสามีของผู้เสียหายเป็นหนี้จำเลย โดยจำเลยไม่ได้ทำให้ทรัพย์สินอย่างอื่นเสียหาย คงยกเอาทรัพย์ของกลางไปเท่านั้นโดยจำเลยบอกว่าถ้าอยากได้คืนให้ ส. เอาเงินไปไถ่ ซึ่งวันรุ่งขึ้นเมื่อเจ้าพนักงานตำรวจไปที่บ้านของจำเลย ก็พบจำเลยและทรัพย์ของกลางดังกล่าว เชื่อว่าจำเลยเอาทรัพย์ของกลางไปเพื่อให้ ส. หรือผู้เสียหายไปติดต่อชำระหนี้ที่ค้างชำระต่อกันการกระทำของจำเลยจึงมิได้เป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยทุจริตหรือเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น ไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2474/2531
          จำเลยไปทวงเงินที่ผู้เสียหายเป็นหนี้ จ. ผู้เสียหายไม่มีให้จำเลยจึงใช้อาวุธปืนขู่บังคับให้ผู้เสียหายมอบทรัพย์ให้ แม้จำเลยจะกระทำเพื่อทวงหนี้แทน จ. และพูดว่าเมื่อผู้เสียหายมีเงินเมื่อไรให้ไปไถ่คืน ก็ถือได้ว่าเป็นการขู่เข็ญเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปเพื่อประโยชน์ของจำเลยโดยเจตนาทุจริต เพราะจำเลยไม่มีอำนาจเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปโดยพลการและโดยขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายเช่นนั้นได้จำเลยจึงมีความผิดฐานชิงทรัพย์ และเมื่อเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์แล้ว ย่อมไม่มีความผิดฐานทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพอีก.
3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 674/2554
           แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่า จำเลยกับพวกเข้าไปทำร้ายร่างกายผู้เสียหายจนได้รับบาดเจ็บและบังคับเอาทรัพย์สินของผู้เสียหายไปเท่าที่คิดว่าพอกับค่าจ้างที่ผู้เสียหายเป็นหนี้พวกจำเลยอยู่เท่านั้น ไม่ได้เอาทรัพย์สินอื่นๆ ที่มีค่ามากไปด้วยก็ตามแต่การกระทำของจำเลยกับพวกดังกล่าวเป็นการกระทำที่ไม่มีอำนาจตามกฎหมาย ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า เป็นการกระทำโดยมีเจตนาทุจริตแล้ว การกระทำของจำเลยกับพวกเป็นการร่วมกันปล้นทรัพย์ของผู้เสียหาย
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 9/2553)
4. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6726/2557
            จำเลยแย่งโทรศัพท์เคลื่อนที่ไปขณะผู้เสียหายกำลังใช้โทรศัพท์เพื่อบังคับชำระหนี้้ที่ผู้เสียหายค้างชำระ  เป็นการใช้อำนาจบังคับชำระหนี้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเอง เป็นการฉกฉวยเอาทรัพย์สินของผู้เสียหายไปซึ่งหน้าโดยทุจริต เป็นความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 วรรคแรก
5. คำพิพากษาฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้อง
-  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4882/2550
 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

รถยนต์ ราคา850,000

ผมส่งได้ประมาณปีกว่าๆ รวม 112,000 บาท

ผมปล่อยรถ ยึด บริษัทโตโยต้า ขายรถผม ได้417,000 

ผมต้องจ่ายส่วนที่เหลือ ทั้งหมดคือ ประมาณ350,000 บาท ยอดส่วนนี้ถ้าไม่จ่ายจะเป็นอะไรมั้ยคับ

โดยคุณ ravich 14 ส.ค. 2562, 18:15

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก