คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 5|คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 5

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 5

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 5

  • Defalut Image

ขังผู้เสียหายในอาคารที่มีทางเข้าออกได้แต่ไม่สะดวก ไม่ผิดฐานพยายามหน่วงเหนี่ยวกักขัง

บทความวันที่ 3 ก.ค. 2562, 13:27

มีผู้อ่านทั้งหมด 2537 ครั้ง


คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 5

ขังผู้เสียหายในอาคารที่มีทางเข้าออกได้แต่ไม่สะดวก ไม่ผิดฐานพยายามหน่วงเหนี่ยวกักขัง
คำพิพากษาฎีกาที่ 10606/2556 

            การหน่วงเหนี่ยวมีความหมายว่าไม่ให้ผู้ถูกกระทำไปจากที่แห่งหนึ่ง ส่วนการกักขังหมายความว่าให้ผู้ถูกกระทำจำต้องอยู่ในที่แห่งหนึ่ง เมื่ออาคารพิพาทยังมีทางเข้าออกนอกจากประตูด้านหน้าอาคารพิพาทอีก 2 ทาง แม้จำเลยนำโซ่และกุญแจมาคล้องประตูด้านหน้าอาคารพิพาทก็ตาม แต่โจทก์ร่วมและผู้เสียหายที่ 2  ยังมีทางเข้าออกอาคารพิพาทได้  ดังเห็นได้จากการที่โจทก์ร่วมให้ผู้เสียหายที่ 2 วิ่งออกไปทางประตูด้านหลังอาคารไปจดทะเบียนรถคันที่จำเลยขับมา เป็นแต่เพียงไม่สะดวกเท่ากับการเข้าออกทางประตูด้านหน้าอาคารพิพาทเท่านั้น  ดังนี้ การกระทำของจำเลยจึงไม่ทำให้โจทก์ร่วมและผู้เสียหายที่ 2 ไม่สามารถออกจากอาคารพิพาทได้หรือจำต้องอยู่ในอาคารพิพาทอันเป็นการหน่วงเหนี่ยวกักขังโจทก์ร่วมและผู้เสียหายที่ 2 จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานพยายามหน่วงเหนี่ยวกักขัง

ข้อความที่ต้องมีในสัญญากู้ยืมเงิน
คำพิพากษาฎีกาที่  13511/2556 

         หนังสือหรือเอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินอันจะนำไปฟ้องร้องบังคับคดีกันได้  เอกสารดังกล่าวควรมีถ้อยคำหรือใจความที่แสดงให้เห็นว่ามีการกู้ยืมเงินกัน  หรือควรมีการกำหนดให้มีการเรียกดอกเบี้ยกันก็อาจเป็นหลักฐานหนึ่งที่บ่งบอกถึงลักษณะแห่งการกู้ยืมเงิน การที่ใบสำคัญจ่ายที่โจทก์อ้างว่าเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์กับจำเลยมีข้อความเพียงว่า โจทก์จ่ายเงินทดรองให้แก่จำเลยจำนวน 500,000 บาท เท่านั้น  โดยไม่มีข้อความว่าจำเลยต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์หรือจำเลยต้องชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์อย่างไร  เพียงไร และเมื่อใด แม้จำเลยจะลงลายมือชื่อเป็นผู้รับเงินในเอกสารไว้ด้วยก็ตาม  ข้อความที่ว่า เงินทดรอง  ก็มีความหมายเพียงว่า ออกเงินให้ไปก่อน  หาได้มีความหมายว่ากู้ยืมแต่อย่างใดไม่  ดังนี้ เมื่อใบสำคัญจ่ายไม่มีข้อความที่แสดงว่าในการรับเงินจำนวนดังกล่าวจำเลยจะต้องใช้เงินคืนแก่โจทก์และกำหนดเรื่องการชำระดอกเบี้ยกันไว้  อันเป็นลักษณะของการกู้ยืมเงินโดยทั่วไป จึงไม่อาจรับฟังได้ว่า ใบสำคัญจ่ายเป็นหลักฐานการกู้ยืม

การก่อสร้างอาคารที่ราคาสูง แลกกับการที่ได้เช่าเป็นระยะเวลานาน เป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา
คำพิพากษาฎีกาที่ 6684/2558 

         การก่อสร้างอาคาร รั้ว ห้องอบ-พ่นสี รถยนต์ อาคารที่พักคนงาน ตามสัญญาจนแล้วเสร็จภายใน 2 ปี  นับแต่วันทำสัญญาเป็นเงิน 4,400,000 บาท ของผู้ร้องตามสัญญาเช่าอาคารและที่ดินกับสิ่งปลูกสร้างมิใช่เพียงเพื่อประโยชน์ในการใช้ทรัพย์ของผู้ร้อง หากแต่เป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ด้วย มิใช่ว่าไม่เป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เลย  ทั้งจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้แสดงเจตนาโดยชัดแจ้งตกลงยินยอมให้ผู้ร้องเช่าที่ดินและอาคารเป็นระยะเวลา 10 ปี  เป็นการตอบแทน ดังนี้ เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา แม้จะเช่ากันเกินกว่า 3 ปี  ก็ไม่ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538  เมื่อผู้ร้องได้ปฏิบัติตามข้อตกลงโดยก่อสร้างเสร็จแล้ว จำเลยที่ 1 และที่ 2 ต้องผูกพันตามสัญญาเช่า กรณีไม่ใช่สิทธิตามสัญญาเช่ามีภาระเกินควรกว่าประโยชน์ที่จะพึงได้รับตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 122  ผู้คัดค้านต้องปฏิบัติตามสัญญาเช่าอาคารและที่ดินกับเช่าปลูกสร้างต่อผู้ร้อง

ปลูกต้นไม้ลงบนที่ดินของผู้อื่น โดยได้รับอนุญาตจากเจ้าของที่ดิน เจ้าของที่ดินไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าที่ดินเท่าที่เพิ่มขึ้นจากผู้สร้าง
คำพิพากษาฎีกาที่ 6055/2557  

        การที่บุคคลใดสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต  เจ้าของที่ดินย่อมเป็นเจ้าของโรงเรือน แต่ต้องใช้ค่าแห่งที่เพียงที่เพิ่มขึ้นเพราะสร้างโรงเรือนนั้นให้แก่ผู้สร้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 วรรคหนึ่ง  ซึ่งนำมาใช้บังคับการเพาะปลูกต้นไม้ในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตด้วยโดยอนุโลม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา 1314  วรรคหนึ่งนั้น  ต้องเป็นเรื่องของการสร้างโรงเรือนหรือเพาะปลูกต้นไม้ในที่ดินของผู้อื่นโดยเจ้าของที่ดินมิได้อนุญาตและตนไม่มีสิทธิหรือนิติสัมพันธ์อย่างใดๆ ในที่ดินนั้นเลย หากเป็นการสร้างหรือเพาะปลูกโดยเชื่ออย่างสุจริตว่าตนมีสิทธิที่จะสร้างหรือเพาะปลูกได้  แต่กรณีของจำเลยเป็นเรื่องที่จำเลยได้รับอนุญาตจากนางหีดเจ้าของทีดินให้ปลูกต้นปาล์มน้ำมันในที่ดินพิพาท  จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวในอันที่จะทำให้จำเลยมีสิทธิได้รับการชดใช้ค่าแห่งที่ดินที่เพิ่มขึ้นจากโจทก์

แบบของการขยายกำหนดเวลาไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝาก
คำพิพากษาฎีกาที่ 14959/2556 

           ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 496 วรรคสอง บัญญัติไว้มีใจความว่า การขยายกำหนดเวลาไถ่นั้น อย่างน้อยต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้รับไถ่ เมื่อพิจารณาจากหนังสือสัญญาขายฝากที่ดินที่โจทก์และจำเลยจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดินระบุว่าหนังสือสัญญาขายฝากที่ดินดังกล่าวมีกำหนดเวลาสามปีนับแต่วันทำสัญญาคือวันที่ 9 พฤษภาคม 2543 ซึ่งหมายถึงโจทก์ต้องชำระเงินค่าสินไถ่ที่ดินที่ขายฝากภายในวันที่ 9 พฤษภาคม 2546 หลังจากนั้นไม่ปรากฎว่ามีการขยายกำหนดเวลาไถ่โดยทำหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยเป็นผู้รับไถ่ไว้ ดังนั้น  การชำระเงิน 20,000 บาท และ 200,000 บาท  ในวันที่ 1 สิงหาคม 2546  และวันที่ 17 มกราคม 2547 ตามลำดับ  จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการชำระเงินค่าสินไถ่ที่เกิดจากการขยายกำหนดเวลาไถ่ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว แม้จำเลยจะรับชำระเงินทั้งสองจำนวนดังกล่าวไว้จากโจทก์ก็ไม่ทำให้โจทก์มีสิทธิ์ไถ่ที่ดินที่ขายฝากคืนจากจำเลยได้

ผู้ค้ำประกันที่ชำระหนี้แทนลูกหนี้ เข้ารับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ไปบังคับจำนองกับทรัพย์สินที่บุคคลภายนอกจำนองเป็นประกันหนี้ของลูกหนี้ไว้ไม่ได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 13337/2556 

          การที่จำเลยที่ 2 จำนองที่ดินของตนเพื่อประกันหนี้เงินกู้ที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระให้แก่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เจ้าหนี้เป็นการให้สัญญาต่อเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ว่าหากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ก็ให้ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) เจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 บังคับจำนองเอากับที่ดินของจำเลยที่ 2 ได้ ซึ่งต่างกับการค้ำประกันซึ่งโจทก์ผู้ค้ำประกันสัญญาว่าถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้โจทก์จะชำระให้เจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 โดยยอมรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ตามหนังสือสัญญาค้ำประกันหนี้ทุกชนิด  ในกรณีของจำเลยที่ 2 ต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในลักษณะจำนองซึ่งไม่มีบทบัญญัติให้นำมาตรา 682 วรรคสอง  ในลักษณะค้ำประกันมาใช้บังคับกับจำเลยที่ 2 ให้ต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับโจทก์ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน อีกทั้งไม่ใช่กรณีผู้ค้ำประกันหลายคนยอมตนเข้าค้ำประกันหนี้รายเดือนกันอันจะต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา 682 วรรคสอง  อันจะทำให้โจทก์รับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้บังคับจำนองกับที่ดินของจำเลยที่ 2 ได้

ซื้อที่ดินที่มีบางส่วนของโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่น เจ้าของที่ดินแปลงที่ล้ำเข้าไปเรียกให้รื้อส่วนที่รุกล้ำไม่ได้ แต่เรียกเงินค่าใช้ที่ดินได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1511/2542

           เดิมที่ดินโฉนดเลขที่ 94068 ของโจทก์และโฉนดเลขที่ 94012 พร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลย เป็นที่ดินแปลงเดียวกันซึ่งโจทก์ซื้อ มาจากน. โดยมีสิ่งปลูกสร้างอยู่ในที่ดินมาก่อนแล้ว ต่อมาโจทก์นำที่ดินโฉนดเลขที่ 94012 ไปจดทะเบียนจำนองและมีการ บังคับจำนอง ซึ่งต.เป็นผู้ประมูลได้จากนั้นต.ขายที่ดินดังกล่าวพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่จำเลย ปรากฏว่าสิ่งปลูกสร้าง บางส่วนคือส่วนหนึ่งของบ้านเลขที่ 17 และรั้วบ้านรุกล้ำที่ดิน โฉนดเลขที่ 94068 ของโจทก์ กรณีจึงไม่เข้า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 เพราะการรุกล้ำมิได้ เกิดจากจำเลยสร้างขึ้น เมื่อไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้จึงต้องนำมาตรา 1312 ซึ่งเป็นบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับ ตามมาตรา 4 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนั้นโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยให้รื้อส่วนของบ้านเลขที่ 17ที่รุกล้ำ แต่มีสิทธิเรียกเงินเป็นค่าใช้ส่วนแดนกรรมสิทธิ์และดำเนินการจดทะเบียนสิทธิเป็นภารจำยอม เมื่อรั้วบ้าน ที่รุกล้ำนั้นมิใช่การรุกล้ำของโรงเรือนหรือส่วนหนึ่งส่วนใด ของโรงเรือนอันจะปรับใช้มาตรา 1312 ได้ จำเลยจึงต้อง รื้อรั้วบ้านที่รุกล้ำ โจทก์มีคำขอให้จำเลยรื้อสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำออกไป รั้วบ้าน ก็อยู่ในความหมายของสิ่งปลูกสร้างในที่ดินเช่นเดียวกับโรงเรือน การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยรื้อรั้วบ้านที่รุกล้ำ จึงหาได้ เป็นการพิพากษาเกินคำฟ้องไม่ แม้ก่อนฟ้องคดีนี้จำเลยยังไม่ตกเป็นผู้ผิดนัด แต่เมื่อโจทก์ ฟ้องเรียกค่าใช้ที่ดินจากจำเลยแล้ว จำเลยปฏิเสธไม่ยอมชำระ ค่าใช้ที่ดินแก่โจทก์ ย่อมถือว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด นับแต่วันฟ้องแล้ว

ที่มา : บทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 5

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก