ข้อควรระวังก่อนทำสัญญาประกันชีวิต|ข้อควรระวังก่อนทำสัญญาประกันชีวิต

ข้อควรระวังก่อนทำสัญญาประกันชีวิต

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ข้อควรระวังก่อนทำสัญญาประกันชีวิต

  • Defalut Image

 ปัจจุบันการใช้บริการประกันชีวิตมีข้อพิพาทระหว่างบริษัทประกันกับผู้เอาประกันอยู่บ่อยครั้ง

บทความวันที่ 24 ม.ค. 2562, 10:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 423 ครั้ง


ข้อควรระวังก่อนทำสัญญาประกันชีวิต

             ปัจจุบันการใช้บริการประกันชีวิตมีข้อพิพาทระหว่างบริษัทประกันกับผู้เอาประกันอยู่บ่อยครั้ง เช่น ตัวแทนหลอกลวงเกี่ยวกับเงื่อนไขตามสัญญาประกัน หรือมีปัญหาเกี่ยวกับการยกเลิกสัญญา ทนายคลายทุกข์จึงขอนำความรู้เกี่ยวกับการประกันชีวิตมานำเสนอ ดังนี้
1.อะไรบ้างที่ประกันจะคุ้มครอง
              การทำสัญญาประกันชีวิตจะมีรูปแบบการคุ้มครองพื้นฐาน  4 แบบ มีลักษณะความคุ้มครองและผลประโยชน์แตกต่างกัน คือ
              1. แบบตลอดชีพ ให้ความคุ้มครองตลอดชีพ โดยบริษัทผู้รับประกันจะจ่ายเงินตามจำนวนที่ระบุไว้ให้แก่ผู้รับประโยชน์ เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต 
              2. แบบสะสมทรัพย์ บริษัทผู้รับประกันจะจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัยเมื่อมีชีวิตอยู่ครบกำหนดสัญญา หรือจ่ายเงินเอาประกันภัยให้แก่ผู้รับประโยชน์เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตลงภายในระยะเวลาประกันภัย
              3. แบบชั่วระยะเวลา บริษัทผู้รับประกันจะจ่ายเงินให้แก่ผู้รับประโยชน์เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตในระยะเวลาที่กำหนดไว้ เช่น 1 ปี 5 ปี หรือ 10 ปี เป็นการให้ความคุ้มครองการเสี่ยงภัยอันเกิดจากการเสียชีวิตแต่เพียงอย่างเดียว 
              4. แบบเงินได้ประจำ บริษัทผู้รับประกันจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่งเท่ากันอย่างสม่ำเสมอให้แก่ผู้เอาประกันภัยทุกเดือน นับแต่ผู้เอาประกันภัยเกษียณอายุ หรือมีอายุครบ 55 ปี หรือ 60 ปี เป็นต้นไปจนครบสัญญา แล้วแต่เงื่อนไขในกรมธรรม์ที่กำหนดไว้ และขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้เอาประกันชีวิตที่จะเลือกซื้อ
2.การยกเว้นไม่คุ้มครองมีอะไรบ้าง  
              1.ผู้เอาประกันภัยได้กระทำอัตวินิบาต(ฆ่าตัวตาย)ด้วยใจสมัครภายใน 1 หนึ่งนับแต่วันทำสัญญา
              2.ผู้เอาประกันภัยถูกผู้รับประโยชน์ฆ่าตายโดยเจตนา 
             3.ผู้เอาประกันภัยรู้อยู่แล้วละเว้นเสียไม่เปิดเผยข้อความจริงซึ่งอาจจะได้จูงใจผู้รับประกันภัยให้เรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นอีกหรือให้บอกปัดไม่ยอมทำสัญญา หรือว่ารู้อยู่แล้วแถลงข้อความนั้นเป็นความเท็จ สัญญาประกันชีวิตจะเป็นโมฆียะ  เช่น จงใจปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับโรค รวมถึงเป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นในระยะรอคอย 60 วัน
             4.กรณีที่มีเงื่อนไขประกันระบุไว้ชัดเจนว่าจะไม่คุ้มครองผู้เอาประกันภัยขณะอยู่ภายใต้ฤทธิ์สุรา(โดยตรวจเลือดมีระดับแอลกอฮอล์ในเลือดตั้งแต่ 150 มิลลิกรัมเปอร์เซนต์ขึ้นไป) สารเสพติด หรือยาเสพติดให้โทษจนไม่สามารถครองสติได้ 
             5.กรณีที่มีเงื่อนไขในสัญญาประกันระบุไว้ชัดเจนว่า จะไม่คุ้มครองในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยสมัครใจทำกิจกรรมเสี่ยงอันตรายที่ทำให้ถึงแก่ชีวิต 
3.ผู้เอาประกันภัยมีหน้าที่เปิดเผยความจริงเกี่ยวกับอะไรบ้าง
              ต้องเปิดเผยข้อความจริงซึ่งถ้าผู้รับประกันภัยได้ทราบ อันจะเป็นเหตุให้ผู้รับประกันภัยเรียกเบี้ยประกันภัยให้สูงขึ้น หรืออาจจะบอกปัดไม่ยอมทำสัญญาประกันภัยด้วย ซึ่งต้องเป็นข้อเท็จจริงที่เป็นสาระสำคัญถึงขนาดที่จะสามารถจูงใจผู้รับประกันภัยให้เรียกเบี้ยประกันสูงขึ้นหรือปฏิเสธไม่ยอมรับประกันภัย (ตาม ป.พ.พ.มาตรา 865 วรรคแรก) เช่น ต้องเปิดเผยโรคที่เป็นอยู่ เป็นต้น  
4.กรณีไม่เปิดเผย ปกปิดไว้จะเป็นอย่างไร  ผลตามกฎหมายเป็นอย่างไร
            หากไม่เปิดเผยข้อความจริงหรือแถลงข้อความนั้นเป็นความเท็จ สัญญาประกันจะเป็นโมฆียะ เมื่อได้ปรากฏว่าการไม่เปิดเผยความจริงหรือแถลงข้อความเท็จนั้นเป็นเหตุให้ผู้รับประกันภัยเชื่อถือและยอมรับประกันภัยด้วยเบี้ยประกันภัยที่ต่ำกว่าที่ควร จึงจะเป็นโมฆียะ (ตาม ป.พ.พ.มาตรา 865 วรรคแรก) ผู้รับประกันภัยสามารถบอกล้างสัญญาประกันภัยที่เป็นโมฆียะได้ เมื่อบอกล้างแล้วให้ถือว่าเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก และให้ผู้เป็นคู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิม (ตาม ป.พ.พ.มาตรา 176 วรรคหนึ่ง) ถือเสมือนว่าคู่สัญญาทั้งสองไม่เคยทำสัญญาฉบับที่ตกเป็นโมฆียะเลย และหากฝ่ายใดได้รับเงินหรือทรัพย์สินจากอีกฝ่าย ฝ่ายนั้นจะต้องส่งคืนให้  
5.เวลามีปัญหากับบริษัทประกัน ไปร้องเรียนได้ที่ไหน
               สามารถร้องเรียนได้ที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ที่ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนด้านการประกันภัย ตั้งอยู่ที่สำนักงาน คปภ.ในส่วนกลาง และสำนักงาน คปภ. ภาค/เขต/จังหวัด ในส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ
6.การดำเนินคดีทางศาลและอนุญาโตตุลาการ ต้องทำอย่างไร มีกฎหมายอะไรบ้าง
                หากผู้รับประกันภัยไม่ชำระค่าสินไหมทดแทน ผู้เอาประกันภัยสามารถยื่นฟ้องเป็นคดีผู้บริโภคต่อศาล หรือ ยื่นคำเสนอข้อพิพาทที่ คปภ. เพื่อตั้งอนุญาโตตุลาการ เป็นผู้ตัดสินชี้ขาดข้อพิพาท โดยคู่พิพาททั้งสองฝ่ายต้องนำสืบพยานหลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องต่อผู้ทำหน้าที่อนุญาโตตุลาการ เพื่อให้อนุญาโตตุลาการใช้เป็นข้อมูลในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาท และคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการจะมีผลผูกพันให้คู่พิพาทต้องปฏิบัติตาม การดำเนินกระบวนพิจารณาของอนุญาโตตุลาการสำนักงาน คปภ. เป็นการดำเนินการภายใต้ พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 และ ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจ ประกันภัย (คปภ.) ว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2551, ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริม การประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553 และ ระเบียบสำนักงาน คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยว่าด้วยการประนอมข้อพิพาทประกันภัยในกระบวนการอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2553  
 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

เราเสนอสินเชื่อ @ 2% สำหรับอัตราดอกเบี้ยสำหรับธุรกิจและส่วนตัว PURPOSES.APPLY

ตอนนี้ด้วย:

ชื่อ:

จำนวนที่ต้องการ:

ระยะเวลา:

ประเทศ:

วัตถุประสงค์:

หมายเลขโทรศัพท์มือถือ:

หรือเขียนถึงเราได้ที่: [email protected]

โดยคุณ [email protected] 29 ม.ค. 2562, 21:38

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก