การฟ้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลาย|การฟ้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลาย

การฟ้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลาย

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การฟ้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลาย

  • Defalut Image

ปัจจุบันลูกหนี้เป็นหนี้แล้วหาเงินมาชำระหนี้ไม่ได้จนมีหนี้สินล้นพ้นตัวถ้าเป็นบุคคลธรรมดา

บทความวันที่ 14 ธ.ค. 2561, 09:37

มีผู้อ่านทั้งหมด 1024 ครั้ง


การฟ้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลาย
             ปัจจุบันลูกหนี้เป็นหนี้แล้วหาเงินมาชำระหนี้ไม่ได้จนมีหนี้สินล้นพ้นตัวถ้าเป็นบุคคลธรรมดาเป็นหนี้ไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท ถ้าเป็นนิติบุคคลเป็นหนี้ไม่น้อยกว่าสองล้านบาทก็อาจถูกฟ้องล้มละลายได้ ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวหมายความว่า มีหนี้มากกว่าทรัพย์สินตามกฎหมายล้มละลาย หากเข้าข้อสันนิษฐานว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวเจ้าหนี้ก็มีสิทธิที่จะฟ้องเป็นคดีล้มละลายต่อศาลได้ แต่ก่อนฟ้องเจ้าหนี้ต้องตรวจสอบทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อน ว่ามีหรือไม่ เคยถูกยึดทรัพย์หรือไม่ หรือต้องมีการทวงหนี้ลูกหนี้ก่อนฟ้อง จึงจะฟ้องเป็นคดีล้มละลายได้
 ตัวอย่างคำพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวข้อง
  1.คำพิพากษาฎีกาที่ 798/2553 (ลูกหนี้ไม่อยู่บ้าน ไม่ได้หมายความว่าไปเสียจากเคหสถาน)

           การพิจารณาถึงฐานะหรือข้อเท็จจริงอันเป็นข้อสันนิษฐานว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8 จะต้องเป็นข้อเท็จจริงต่างๆที่มีอยู่แล้วในเวลาที่โจทก์ฟ้องคดีล้มละลาย การที่เจ้าพนักงานเดินหมายของศาลส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลย โดยปิดหมายไว้ ณ ภูมิลำเนาของจำเลย และรายงานว่าสอบถามจากบ้านข้างเคียงแล้วได้รับแจ้งว่าคนในบ้านออกไปธุระ ไม่มีใครรู้จัก มิใช่ข้อเท็จจริงที่มีอยู่แล้วในเวลาที่เริ่มต้นการฟ้องคดีล้มละลาย จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยไปเสียจากเคหสถานที่เคยอยู่เพื่อประวิงการชำระหนี้หรือมิให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 8
2.คำพิพากษาฎีกาที่ 7602/2553 (เจ้าหนี้ต้องตรวจสอบกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ก่อนฟ้องคดีล้มละลาย)
          โจทก์ตรวจสอบการถือกรรมสิทธิ์ที่สำนักงานที่ดินซึ่งจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขต ปรากฏว่าไม่พบทรัพย์สินของจำเลยแต่อย่างใด และจำเลยเสนอขอผ่อนชำระหนี้ให้เจ้าหนี้อื่นซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีที่จำเลยถูกฟ้องเป็นคดีอาญาในความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 อีก 3 คดี กรณีเป็นเรื่องที่จำเลยเสนอคำขอประนอมหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตั้งแต่สองคนขึ้นไป จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 8 (5) (8) ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว    
3.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7994/2553 (ลูกหนี้ไม่ยอมรับหนังสือทวงหนี้)
        ก่อนฟ้องคดีล้มละลายโจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ตามหนังสือลงวันที่ 5 กันยายน 2548 เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ได้นำหนังสือดังกล่าวไปส่งให้จำเลยที่บ้านเลขที่ 5/619 อันเป็นภูมิลำเนาของจำเลย แต่ไม่พบจำเลยและไม่มีผู้ใดรับไว้ เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์จึงมีหนังสือให้จำเลยไปรับหนังสือดังกล่าว แต่จำเลยไม่ไปรับหนังสือภายในกำหนด เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์จึงส่งหนังสือคืนแก่โจทก์ หลังจากนั้นในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2548 โจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้อีกครั้งหนึ่งโดยส่งให้แก่จำเลยตามภูมิลำเนาดังกล่าว ปรากฏว่ามี อ. ซึ่งระบุว่าเป็นย่าของจำเลยเป็นผู้รับไว้แทน ดังนั้นจากพฤติการณ์ดังกล่าวจะเห็นได้ว่าโจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้โดยส่งไปยังภูมิลำเนาของจำเลยตามแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎรอันเป็นการส่งอย่างเป็นทางการแล้ว แต่เหตุที่เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ไม่สามารถส่งหนังสือทวงถามให้แก่จำเลยได้ในครั้งแรกเกิดจากการที่จำเลยหลีกเลี่ยงไม่ไปรับหนังสือดังกล่าวภายในกำหนด จึงถือว่าจำเลยได้รับหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้ครั้งแรกด้วยแล้ว เมื่อในการส่งหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้ครั้งที่ 2 มีผู้รับไว้แทน จึงฟังได้ว่าจำเลยได้รับหนังสือทวงถามจากโจทก์ให้ชำระหนี้แล้วไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่า 30 วัน แต่จำเลยไม่ชำระหนี้ จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 8 (9) ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว
4.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1945/2535 (การทวงหนี้ไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ)
              พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8(9) เป็นเพียงข้อสันนิษฐานว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว หาใช่บทบังคับให้โจทก์ต้องบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ก่อนฟ้องไม่เมื่อโจทก์นำสืบได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามที่โจทก์ฟ้อง แม้การทวงถามจะไม่ชอบด้วยมาตรา 8(9) โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องคดีล้มละลาย ข้อที่จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
5.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10781/2558 (ลูกหนี้ถูกยึดทรัพย์ตามหมายบังคับคดี)
             จำเลยที่ 1 และที่ 3 ถูกยึดทรัพย์ตามหมายบังคับคดี ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 4 ไม่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้ กรณีต้องด้วยข้อสันนิษฐานตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8(5) ว่าจำเลยทั้งสี่มีหนี้สินล้นพ้นตัว จำเลยทั้งสี่มีหน้าที่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมาย
6.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2875/2536 (ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่เป็นเรื่องเฉพาะตัว)
           จำเลยที่ 3 อยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่ 2และนาวาตรีสมภพ โจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 3 ชำระหนี้ทั้งหมดแก่โจทก์โดยสิ้นเชิง ไม่ต้องคำนึงว่าหากลูกหนี้ร่วมอื่นชำระหนี้แก่โจทก์ด้วยจะสามารถชำระหนี้แก่โจทก์ได้ทั้งหมดหรือไม่เพราะการพิจารณาว่าลูกหนี้ร่วมคนใดมีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่สามารถชำระหนี้ได้หรือไม่นั้น เป็นเรื่องเฉพาะตัวของลูกหนี้ร่วมแต่ละคน จึงต้องพิจารณาเฉพาะตัวลูกหนี้ร่วมผู้นั้นว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับลูกหนี้ร่วมคนอื่น ดังนั้น แม้โจทก์ไม่ใช้สิทธิบังคับเอาแก่นาวาตรีสมภพลูกหนี้ร่วมคนหนึ่ง และถอนฟ้องจำเลยที่ 2 ลูกหนี้ร่วมอีกคนหนึ่งก็มิได้เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่ประการใด จึงถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุที่ไม่สมควรให้จำเลยที่ 3 ล้มละลาย
    หากท่านเป็นหนี้ควรใช้วิธีการเจรจากับเจ้าหนี้นอกศาล น่าจะเป็นวิธีการระงับหนี้ที่ดีที่สุด ศาลเป็นที่พึ่งสุดท้าย ควรพึ่งตัวเองก่อนนะครับ
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก