หมอรีวิวอาหารเสริมผิดจรรยาบรรณหรือไม่|หมอรีวิวอาหารเสริมผิดจรรยาบรรณหรือไม่

หมอรีวิวอาหารเสริมผิดจรรยาบรรณหรือไม่

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

หมอรีวิวอาหารเสริมผิดจรรยาบรรณหรือไม่

  • Defalut Image

เมื่อ 2- 3 วันที่ผ่านมาสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ทำการจับกุมอาหารเสริมยี่ห้อเมจิกสกิน

บทความวันที่ 3 พ.ค. 2561, 14:35

มีผู้อ่านทั้งหมด 1738 ครั้ง


หมอรีวิวอาหารเสริมผิดจรรยาบรรณหรือไม่


         เมื่อ 2- 3 วันที่ผ่านมาสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ทำการจับกุมอาหารเสริมยี่ห้อเมจิกสกิน  และยี่ห้อลิน  เป็นข่าวใหญ่โตมีผู้เสียหายจำนวนมาก จำนวนเงินที่เสียหายเป็นจำนวนมาก โดยพฤติการณ์ในการหลอกลวงของอาหารเสริมดังกล่าว มีพฤติการณ์ดังต่อไปนี้
         1.มีการทำเป็นขบวนการโดยแบ่งหน้าที่กันทำ 
         2.ส่วนหนึ่งมีการผลิตสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานไม่มีคุณภาพ และใช้อย.ปลอมหรือสวมอย.ของสินค้าอื่น
         3.มีการจัดฝึกอบรม สอนวิธีการขายสินค้าหรือที่เรียกว่าโรงเรียนสอนความรวย  โดยพยายามใช้คำพูดชี้นำให้แม่ทีมหรือตัวแทนจำหน่าย  โพสต์ข้อความทางเฟสบุคบ่อยๆ เพื่อให้สร้างการรับรู้กับผู้บริโภค และให้คิดบวกโดยให้คิดว่าสินค้าดี ดัง ขายได้อยู่แล้ว  และให้ทำทุกอย่างเพื่อให้ขายสินค้าได้  รวมทั้งให้ยืนยันว่าเป็นสินค้าดี ทั้งๆที่รู้อยู่แล้วว่าเป็นสินค้าที่ไม่มีคุณภาพและอาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค อันมีลักษณะเป็นการหลอกลวงผู้บริโภค  
         4.มีการจ้างบุคคลที่มีอิทธิพลต่อความเชื่อของผู้บริโภค เช่น ดารา นักร้อง ดีเจ เน็ตไอดอลที่มีคนติดตามจำนวนมาก  บุคคลเหล่านี้ก็จะอ่านสคริป ตามที่ผู้จัดการส่วนตัวหรือเจ้าของผลิตภัณฑ์เขียนมาให้โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นความเท็จ  บุคคลเหล่านี้ก็หวังเพียงเงินค่าจ้าง โดยไม่คำนึงถึงความเสียหายของผู้บริโภค หรือที่สื่อมวลชนใช้คำว่า “เป็นพวกดาราหิวเงิน”  หรือ “รับทรัพย์ แต่ไม่รับผิดชอบ”  บุคคลเหล่านี้คือเป็นบุคคลที่ทรยศต่อความไว้วางใจที่แฟนคลับมีต่อดาราเหล่านั้น  คนเหล่านี้ถือว่าเป็นคนที่เห็นแก่เงินไม่ได้คำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม  การที่ประชาชนถูกหลอกลวงจำนวนมากไม่ได้เชื่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ แต่เชื่อตามคำรีวิวของดาราหรือคนดังที่หลอกลวงว่าใช้สินค้าว่าดีทั้งที่ไม่เคยใช้เลย  ไม่ควรให้ดาราหรือคนดังเหล่านี้มีที่ยืนในสังคม
          5.หน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น องค์การอาหารและยา ซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแล แต่กลับละเลยการปฏิบัติหน้าที่ปล่อยให้อาหารเสริม ที่ใช้อย.ปลอม หรือไม่มีคุณภาพ โฆษณาหลอกลวงตามสื่อสังคมออนไลน์มาเป็นเวลานาน ควรจะต้องร่วมรับผิดกับความเสียหายที่เกิดกับประชาชน เทียบเคียงกับกรมทางหลวงที่ปล่อยปละละเลยให้ถนนเป็นหลุมเป็นบ่อจนทำให้ผู้ขับขี่ได้รับอันตรายแก่ชีวิตก็ต้องร่วมรับผิดเช่นเดียวกัน  การทำงานของหน่วยงานนี้ก็เป็นการทำงานแบบตั้งรับไม่ใช่เชิกรุกทั้งที่อาหารและยาที่เจือปนสิ่งอันตรายเป็นอันตรายต่อชีวิตและร่างกายของประชาชนแต่กลับไม่ใส่ใจอย่างเต็มที่  
          นอกจากจะมีพวกเน็ตไอดอลดารารีวิวสินค้าแล้วตามที่ทนายคลายทุกข์กล่าวมาข้างต้น เป็นเรื่องที่น่าตกใจมาก ที่มีแพทย์ พยาบาล เภสัชกร เข้าไปร่วมรีวิวหรือยืนยันโฆษณาชวนเชื้อให้รับประทานผลิตภัณฑ์ในเครือเมจิก สกิน ว่ามีความปลอดภัยและเป็นสารสกัดจากธรรมชาติร้อยเปอร์เซ็นต์ซึ่งเป็นสารที่บำรุงสมองให้สดชื่นและมีการนัดแนะเปิดตัวสินค้าดังกล่าวในหลายสถานที่เพื่อยืนยันผลิตภัณฑ์ใช้แล้วได้ผลจริง  ซึ่งข้อความดังกล่าวเป็นการกระทำที่ผิดข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2549 ข้อ 8 ข้อ 36(1) ข้อ 44 และพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 มีบทบัญญัติกำหนดความผิดและกำหนดโทษตามมาตรา 40 , มาตรา 41 ,มาตรา 70 และมาตรา 71 
ตัวบทกฎหมายอ้างอิง 
ข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2549 
ข้อ 8
ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมต้องไม่โฆษณา ใช้จ้าง หรือยินยอมให้ผู้อื่นโฆษณาการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ความรู้ความชํานาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมของตน
ข้อ 36  ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่เป็นผู้ดําเนินการสถานพยาบาลต้องไม่โฆษณาสถานพยาบาลหรือยินยอมให้ผู้อื่นโฆษณาสถานพยาบาลที่ตนเป็นผู้ดําเนินการในลักษณะ ดังต่อไปนี้
(1)โฆษณาสถานพยาบาลในทํานองโอ้อวดการประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือกิจกรรมอื่นของสถานพยาบาลเกินกว่าที่เป็นจริง
ข้อ 44 ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมผู้ใด ถ้าต้องการแสดงตนเพื่อโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพใดๆ ต่อสาธารณชนจะต้องไม่ใช้คำว่า นายแพทย์ แพทย์หญิง คำอื่นใด หรือกระทำการไม่ว่าโดยวิธีใดๆ ให้ประชาชนเห็นหรือทราบข้อความ ภาพ เครื่องหมาย หรือกระทำอย่างใดๆ ให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่าเป็นแพทย์หรือผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522
มาตรา 40
ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหารอันเป็นเท็จหรือเป็นการหลอกลวงให้เกิดความหลงเชื่อโดยไม่สมควร
มาตรา 41 ผู้ใดประสงค์จะโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพหรือสรรพคุณของอาหารทางวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ทางฉายภาพ ภาพยนตร์ หรือทางหนังสือพิมพ์ หรือสิ่งพิมพ์อื่น หรือด้วยวิธีอื่นใด เพื่อประโยชน์ในทางการค้า ต้องนําเสียง ภาพ ภาพยนตร์ หรือข้อความที่จะโฆษณาดังกล่าวนั้นให้ผู้อนุญาตตรวจพิจารณาก่อน เมื่ได้รับอนุญาตแล้วจึงจะโฆษณาได้
มาตรา 70 ผู้ใดโฆษณาอาหารโดยฝ่าฝืนมาตรา 40 ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา 71 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 41 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท
ประมวลกฎหมายอาญา 
มาตรา 83  ในกรณีความผิดใดเกิดขึ้นโดยการกระทำของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป ผู้ที่ได้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันนั้นเป็นตัวการ ต้องระวาง โทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก