กสทช.ออกกฎควบคุมเนื้อหา Facebook|กสทช.ออกกฎควบคุมเนื้อหา Facebook

กสทช.ออกกฎควบคุมเนื้อหา Facebook

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

กสทช.ออกกฎควบคุมเนื้อหา Facebook

  • Defalut Image

ทนายคลายทุกข์ขอเรียนว่าการแสดงความคิดเห็นต้องระมัดระวังมากขึ้น"อย่าเอามันอย่างเดียว"

บทความวันที่ 8 มิ.ย. 2560, 09:53

มีผู้อ่านทั้งหมด 4595 ครั้ง


กสทช.ออกกฎควบคุมเนื้อหา Facebook

            ทนายคลายทุกข์ขอเรียนว่าการแสดงความคิดเห็นต้องระมัดระวังมากขึ้น"อย่าเอามันอย่างเดียว"   รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560
มาตรา 34 วรรคแรกบุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น วรรค 2 แต่ต้องเคารพและไม่ปิดกั้นความเห็นต่างของบุคคลอื่น
มาตรา 25 วรรค 3 " บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพที่ได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญสามารถยกบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญเพื่อใช้สิทธิทางศาลหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีในศาลได้" เพราะปัจจุบันมีการดำเนินคดีผู้ที่แสดงความคิดเห็นแบบหยาบคายและใส่ร้ายผู้อื่นหลายคดีแล้วครับแต่ไม่เป็นข่าว อันความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 และมาตรา 328
              ทนายคลายทุกข์วิเคราะห์เนื้อหาใน Facebook ผมเป็นทนายความมา 32 ปีในการที่จะแสดงความคิดเห็น หรือเขียนบทความทาง Facebook ต้องยึดอยู่สองอย่าง
             1. คือตัวบทกฎหมายเพราะประเทศเราปกครองด้วยระบบกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 2 " บุคคลจักต้องรับโทษในทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ "
            2. ยึดแนวคำตัดสินของศาลฎีกาที่เคยตัดสินมาแล้วถ้ามีข้อเท็จจริงอย่างเดียวกันประเด็นเดียวกันแล้วคำตัดสินก็จะออกมาในแนวทางเดียวกัน
            3. ผลคดีเช่นมีคดีความเกิดขึ้นและเป็นข่าวการวิเคราะห์คดีผมในฐานะทนายความจะวิเคราะห์แบบกลางๆ(เพราะศาล ยุติธรรมยังไม่ได้ตัดสิน) ไม่ชี้นำสังคมว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร แต่จะยกตัวบทกฏหมายและคำพิพากษาของศาลฎีกาที่เคยมีการตัดสินก่อนหน้านี้ว่ามีแนวคำตัดสินอย่างไรเท่านั้น  เหตุผลคือพยานหลักฐานที่ปรากฏในโซเชียลกับในสำนวนของพนักงานสอบสวนต่างกันครับแล้วต้องต่อไปยังพนักงานอัยการโจทก์ยังมีดุลยพินิจที่จะเลือกพยานหลักฐานที่เห็นว่าเป็นประโยชน์กับโจทก์เท่านั้นเพื่อนำเสนอต่อศาลในการสืบพยานไม่ใช่ว่าพยานหลักฐานทุกชิ้นที่อยู่ในสำนวนจะมีการนำเข้าสู่สำนวนของศาลนะครับ
            4. การสืบพยานในชั้นศาลพยานโจทก์อาจมีการกลับคำให้การหรือไม่มาศาลก็ได้(โลกแห่งความเป็นจริงมันซับซ้อนครับ)และจำเลยอาจมีพยานหลักฐานอื่นที่สามารถหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ได้ ในคดีอาญาแค่ศาลสงสัยตามสมควรศาลก็ยกฟ้องแล้วครับตาม ป วิ อ.มาตรา227วรรคสอง รัฐธรรมนูญแห่งราชณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 29 วรรคสองบัญญัติว่า "ในคดีอาญาให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิดและก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิดจะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้"

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก