ทำแผนประกอบคำรับสารภาพ|ทนายคลายทุกข์,ทนาย

ทำแผนประกอบคำรับสารภาพ

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ทำแผนประกอบคำรับสารภาพ

  • Defalut Image

ทนายคลายทุกข์วิเคราะห์คดีฆ่าแอ๋ม ทำแผนประกอบคำรับสารภาพหมายถึงอะไรตามกฏหมายแล้ว

บทความวันที่ 28 มิ.ย. 2560, 10:12

มีผู้อ่านทั้งหมด 5039 ครั้ง


ทำแผนประกอบคำรับสารภาพ

ทนายคลายทุกข์วิเคราะห์คดีฆ่าแอ๋ม  ทำแผนประกอบคำรับสารภาพหมายถึงอะไรตามกฏหมายแล้ว
               การทำแผนประกอบคำรับสารภาพ เป็นส่วนหนึ่งของคำรับสารภาพ ไม่มีกฎหมายบังคับต้องทำเป็นดุลพินิจของพนักงานสอบสวนจะทำหรือไม่ก็ได้ แต่การทำแผนประกอบคำรับสารภาพผู้ต้องหาต้องสมัครใจทำไม่ใช่ตำรวจชี้ให้ทำท่านั้นท่านี้ ซึ่งเคยมีกรณีขึ้นสู่ศาลแล้ว ถือว่าไม่สมัครใจการทำแผนประกอบคำรับสารภาพ หมายความว่า จะต้องมีคำรับสารภาพก่อนและคำสั่งรับคำรับสารภาพต้องเป็นคำรับสารภาพโดยสมัครใจ ไม่ใช่เกิดจากการข่มขู่หรือหลอกลวงหลังจากนั้นพนักงานสอบสวนจะพา ไปชี้จุดต่างๆเกี่ยวกับการลงมือกระทำความผิดเรียกว่าทำแผนประกอบคำรับสารภาพเมื่อถึงชั้นศาลแล้ว ผู้ต้องหาเปลี่ยนฐานะเป็นจำเลยก็สามารถที่จะกลับคำให้การได้เป็นปฏิเสธคำให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนเป็นเพียงพยานบอกเล่า
           โจทก์มีหน้าที่ต้องหาพยานหลักฐานอื่นมาพิสูจน์ความผิดจำเลย จนปราศจากข้อสงสัยศาลจึงจะลงโทษจำคุกจำเลยได้ ไม่ใช่เอาเฉพาะคำรับสารภาพของจำเลยซึ่งเป็นพยานบอกเล่าเท่านั้น มาลงโทษจำเลย ศาลฎีกาเคยมีคำพิพากษาว่าการที่จำเลยยอมรับสารภาพและมีการพูดถึงรายละเอียดของการกระทำความผิดอย่างละเอียดต่อหน้าสื่อมวลชน ถือว่าเป็นการรับสารภาพโดยสมัครใจรับฟังประกอบพยานหลักฐานของโจทก์ลงโทษจำเลยได้ ในทางปฏิบัติถ้าจำเลยให้การรับสารภาพในคดีอาญาส่วนใหญ่พนักงานสอบสวนก็มักไม่ไปดูที่เกิดเหตุและไม่มีการทำแผนประกอบคำรับสารภาพ อาจจะเนื่องมาจากว่าพนักงานสอบสวนมีงานที่ต้องรับผิดชอบมาก  ท่านใดมีข้อสงสัยก็โทรศัพท์มาสอบถามกันได้นะครับ 081-6161425

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 84
 เจ้าพนักงานหรือราษฎรผู้ทำการจับต้องเอาตัวผู้ถูกจับไปยังที่ทำการของพนักงานสอบสวนตามมาตรา 83 โดยทันที และเมื่อถึงที่นั้นแล้ว ให้ส่งตัวผู้ถูกจับแก่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจของที่ทำการของพนักงานสอบสวนดังกล่าว เพื่อดำเนินการดังต่อไปนี้
            (1) ในกรณีที่เจ้าพนักงานเป็นผู้จับให้เจ้าพนักงานผู้จับนั้นแจ้งข้อกล่าวหา และรายละเอียดเกี่ยวกับเหตุแห่งการจับให้ผู้ถูกจับทราบ ถ้ามีหมายจับให้แจ้งให้ผู้ถูกจับทราบและอ่านให้ฟังและมอบสำเนาบันทึกการจับแก่ผู้ถูกจับนั้น
           (2) ในกรณีที่ราษฎรเป็นผู้จับ ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจซึ่งรับมอบตัวบันทึกชื่อ อาชีพ ที่อยู่ของผู้จับ อีกทั้งข้อความและพฤติการณ์แห่งการจับนั้นไว้ และให้ผู้จับลงลายมือชื่อกำกับไว้เป็นสำคัญเพื่อดำเนินการแจ้งข้อกล่าวหาและรายละเอียดแห่งการจับให้ผู้ถูกจับทราบและแจ้งให้ผู้ถูกจับทราบด้วยว่าผู้ถูกจับมีสิทธิที่จะไม่ให้การหรือให้การก็ได้ และถ้อยคำของผู้ถูกจับอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้
           เมื่อได้ดำเนินการตามวรรคหนึ่งแล้วให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ซึ่งมีผู้นำผู้ถูกจับมาส่งแจ้งให้ผู้ถูกจับทราบถึงสิทธิตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 7/1 รวมทั้งจัดให้ผู้ถูกจับสามารถติดต่อกับญาติหรือผู้ซึ่งผู้ถูกจับไว้วางใจเพื่อแจ้งให้ทราบถึงการจับกุมและสถานที่ที่ถูกควบคุมได้ในโอกาสแรกเมื่อผู้ถูกจับมาถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวนตามวรรคหนึ่ง หรือถ้ากรณีผู้ถูกจับร้องขอให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจเป็นผู้แจ้ง ก็ให้จัดการตามคำร้องขอนั้นโดยเร็ว และให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจบันทึกไว้ ในการนี้มิให้เรียกค่าใช้จ่ายใด ๆ จากผู้ถูกจับ
              ในกรณีที่จำเป็น เจ้าพนักงานหรือราษฎรซึ่งทำการจับจะจัดการพยาบาลผู้ถูกจับเสียก่อนนำตัวไปส่งตามมาตรานี้ก็ได้
            ถ้อยคำใด ๆ ที่ผู้ถูกจับให้ไว้ต่อเจ้าพนักงานผู้จับ หรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจในชั้นจับกุมหรือรับมอบตัวผู้ถูกจับ ถ้าถ้อยคำนั้นเป็นคำรับสารภาพของผู้ถูกจับว่าตนได้กระทำความผิดห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน แต่ถ้าเป็นถ้อยคำอื่น จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของผู้ถูกจับได้ต่อเมื่อได้มีการแจ้งสิทธิตามวรรคหนึ่ง หรือตามมาตรา 83 วรรคสอง แก่ผู้ถูกจับแล้วแต่กรณี

มาตรา 134/4  ในการถามคำให้การผู้ต้องหา ให้พนักงานสอบสวนแจ้งให้ผู้ต้องหาทราบก่อนว่า
            (1) ผู้ต้องหามีสิทธิที่จะให้การหรือไม่ก็ได้ ถ้าผู้ต้องหาให้การ ถ้อยคำที่ผู้ต้องหาให้การนั้นอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้
            (2) ผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนได้
           เมื่อผู้ต้องหาเต็มใจให้การอย่างใดก็ให้จดคำให้การไว้ ถ้าผู้ต้องหาไม่เต็มใจให้การเลยก็ให้บันทึกไว้
ถ้อยคำใด ๆ ที่ผู้ต้องหาให้ไว้ต่อพนักงานสอบสวนก่อนมีการแจ้งสิทธิตามวรรคหนึ่ง หรือก่อนที่จะดำเนินการตามมาตรา 134/1 มาตรา 134/2 และมาตรา 134/3 จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของผู้นั้นไม่ได้

มาตรา 227  ให้ศาลใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวง อย่าพิพากษาลงโทษจนกว่าจะแน่ใจว่ามีการกระทำผิดจริงและจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดนั้น
เมื่อมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำผิดหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย
 
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก