กรมส่งเสริมสหกรณ์เพิ่งตื่นเพิ่งรู้ว่ามีการโกงกันในสหกรณ์มโหฬาร|กรมส่งเสริมสหกรณ์เพิ่งตื่นเพิ่งรู้ว่ามีการโกงกันในสหกรณ์มโหฬาร

กรมส่งเสริมสหกรณ์เพิ่งตื่นเพิ่งรู้ว่ามีการโกงกันในสหกรณ์มโหฬาร

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

กรมส่งเสริมสหกรณ์เพิ่งตื่นเพิ่งรู้ว่ามีการโกงกันในสหกรณ์มโหฬาร

  • Defalut Image

กรรมการสหกรณ์โกงเงินสมาชิกสหกรณ์ รวม 5.7 พันล้านบาท

บทความวันที่ 18 พ.ค. 2560, 09:45

มีผู้อ่านทั้งหมด 4459 ครั้ง


กรมส่งเสริมสหกรณ์เพิ่งตื่นเพิ่งรู้ว่ามีการโกงกันในสหกรณ์มโหฬาร

    กรรมการสหกรณ์โกงเงินสมาชิกสหกรณ์ รวม 5.7 พันล้านบาท (โกงอีกแล้วครับโกงแล้วโกงอีกตั้งแต่สหกรณ์คลองจั่น ,ดร.สวัสดิ์ เรื่องล็อตเตอรี่และก็คดีนี้ครับ) สหกรณ์ที่กรรมการโกงเงินคือ "สหกรณ์ออมทรัพย์เคหะสถานนพเก้ารวมใจ" กรมส่งเสริมสหกรณ์ซึ่งเป็นนายทะเบียนมีหน้าที่ในการกำกับดูแลสหกรณ์ พบการกระทำความผิดแล้วสั่งเลิกสหกรณ์ไปแล้วเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 เพิ่งตื่นเหมือนกันครับคล้ายๆกับ สคบ. เรื่องกระทะโฆษณาเกินความจริง(ผิดไปจากความจริงหรือเป็นเท็จนั่นเองครับภาษากฎหมาย) เหตุการณ์เกิดมาเป็นเวลานานต่อเนื่องการกำกับดูแลยังขาดประสิทธิภาพครับ จากการแถลงข่าว ของรองอธิบดีแจ้งว่าไม่มีเงินเหลือในบัญชีของสหกรณ์ และเชื่อมโยงกับดร.สวัสดิ์ คนเดิม พฤติการณ์ในการคดโกงคือซื้อที่ดินในราคาแพงเกินจริง เช่น 300,000,000 บาท ซื้อมา 1900 ล้านบาท 37,000,000 บาท ซื้อมา 915,000,000 บาทและ 37,000,000 บาท ซื้อมา 440,000,000 บาท ทางแก้ของสมาชิก ต้องรวมตัวกันแจ้งความเหมือนกับคดีสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด ที่โกงเงินไปทั้งสิ้น 2.1หมื่นล้านบาทครับ โดยให้ไปแจ้งที่กรมสอบสวนคดีพิเศษครับ นอกจากนี้สมาชิกยังมีสิทธิยื่นฟ้องทางแพ่งต่อศาลปกครองเพื่อให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ในฐานะนายทะเบียนซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแลสหกรณ์ (ตาม พรบ.สหกรณ์ พ.ศ.2542 มาตรา 17 จนถึงมาตรา 26) ช่วยร่วมรับผิดได้นะครับ
    ที่ผ่านมาสมาชิกสหกรณ์คลองจั่น ก็เคยยื่นฟ้องสำเร็จมาแล้วเพราะถือว่าปล่อยปะละเลย เมื่อคณะกรรมการของสหกรณ์ คดโกงเงินของสมาชิกผลกระทบที่ตามมาคือ มีสหกรณ์เท่าที่ทราบตอนนี้ประมาณ 56 แห่งเอาเงินไปฝากไว้ก็ต้องเดือดร้อนเป็นลูกโซ่ครับ ท่านใดมีข้อสงสัยเกี่ยวกับข้อกฎหมายคดีสหกรณ์ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 081-6161425 ครับ "ทนายคลายทุกข์"ยินดีตอบคำถามทุกท่านเพื่อประโยชน์สาธารณะ(ตัวผมเองก็เป็นที่ปรึกษาสหกรณ์และเป็นวิทยากรบรรยายกฎหมายให้กับสหกรณ์ด้วยครับ จึงเข้าใจเรื่องนี้ดีครับ)

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542
มาตรา 17
 นายทะเบียนสหกรณ์ รองนายทะเบียนสหกรณ์ ผู้ตรวจการสหกรณ์ ผู้สอบบัญชี หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งนายทะเบียนสหกรณ์มอบหมาย มีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ ผู้ตรวจสอบกิจการ ผู้จัดการ เจ้าหน้าที่ หรือเชิญสมาชิกของสหกรณ์มาชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกิจการของสหกรณ์ หรือให้ส่งเอกสารเกี่ยวกับการดำเนินงานหรือรายงานการประชุมของสหกรณ์ได้
 
มาตรา 18  เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นายทะเบียนสหกรณ์ รองนายทะเบียนสหกรณ์ ผู้ตรวจการสหกรณ์ ผู้สอบบัญชี หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งนายทะเบียนสหกรณ์มอบหมาย มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบในสำนักงานของสหกรณ์ในระหว่างเวลาทำงานของสหกรณ์ได้ และให้ผู้ซึ่งเกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกหรือช่วยเหลือหรือให้คำชี้แจงแก่ผู้ปฏิบัติการตามสมควร
ให้ผู้ปฏิบัติการตามวรรคหนึ่ง แสดงบัตรประจำตัวต่อผู้ซึ่งเกี่ยวข้อง
บัตรประจำตัวตามวรรคสอง ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีกำหนด
 
มาตรา 19  ให้ผู้ตรวจการสหกรณ์มีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบกิจการและฐานะการเงินของสหกรณ์ตามที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนด เมื่อตรวจสอบแล้วให้เสนอรายงานการตรวจสอบต่อนายทะเบียนสหกรณ์
 
มาตรา 20  ถ้าที่ประชุมใหญ่หรือที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ลงมติอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบของสหกรณ์ ระเบียบหรือคำสั่งของนายทะเบียนสหกรณ์ ให้นายทะเบียนสหกรณ์หรือรองนายทะเบียนสหกรณ์มีอำนาจสั่งยับยั้งหรือเพิกถอนมตินั้นได้
 
มาตรา 21  ในกรณีที่กรรมการ ผู้จัดการ หรือเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ทำให้สหกรณ์เสียหาย ถ้าสหกรณ์ไม่ร้องทุกข์หรือฟ้องคดี ให้นายทะเบียนสหกรณ์หรือรองนายทะเบียนสหกรณ์ร้องทุกข์หรือฟ้องคดีแทนสหกรณ์ได้ และให้พนักงานอัยการรับว่าต่างให้สหกรณ์ โดยให้สหกรณ์เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการร้องทุกข์ ฟ้องคดีหรือการว่าต่างแก่นายทะเบียนสหกรณ์ รองนายทะเบียนสหกรณ์ หรือพนักงานอัยการ แล้วแต่กรณี
 
มาตรา 22  ในกรณีที่คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์กระทำการหรืองดเว้นกระทำการในการปฏิบัติหน้าที่ของตน จนทำให้เสื่อมเสียผลประโยชน์ของสหกรณ์หรือสมาชิก หรือสหกรณ์มีข้อบกพร่องเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี หรือกิจการหรือฐานะการเงิน ตามรายงานการสอบบัญชีหรือตามรายงานการตรวจสอบ ให้นายทะเบียนสหกรณ์มีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้ปฏิบัติการ ดังต่อไปนี้
(1) ให้คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์แก้ไขข้อบกพร่องตามวิธีการและระยะเวลาที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนด
(2) ให้คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ระงับการปฏิบัติบางส่วนที่เป็นเหตุให้เกิดข้อบกพร่องหรือเสื่อมเสียผลประโยชน์ของสหกรณ์หรือสมาชิก
(3) ให้คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์หยุดปฏิบัติหน้าที่เป็นการชั่วคราวเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องนั้นให้แล้วเสร็จตามวิธีการและภายในระยะเวลาที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนด
(4) ให้คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์พ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ หรือให้กรรมการซึ่งเกี่ยวข้องกับการนั้นพ้นจากตำแหน่งกรรมการ
 
มาตรา 23  สหกรณ์ใดจดทะเบียนจัดตั้งขึ้นยังไม่เกินสามปีหรือมีผลการดำเนินงานขาดทุนติดต่อกันเกินสองปี เมื่อสหกรณ์ร้องขอ หรือนายทะเบียนสหกรณ์หรือคณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติเห็นว่าจำเป็นต้องแก้ไข นายทะเบียนสหกรณ์จะสั่งให้ผู้ตรวจการสหกรณ์หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งนายทะเบียนสหกรณ์มอบหมายเข้าช่วยเหลือดำเนินกิจการของสหกรณ์นั้นทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้
การช่วยเหลือดำเนินกิจการของสหกรณ์ให้เป็นไปตามระเบียบที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนด โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติ
 
มาตรา 24  ในกรณีที่นายทะเบียนสหกรณ์สั่งให้คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์พ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ ให้นายทะเบียนสหกรณ์ตั้งคณะกรรมการชั่วคราว มีอำนาจหน้าที่และสิทธิเช่นเดียวกับคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ และให้อยู่ในตำแหน่งไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่แต่งตั้ง
ก่อนที่จะพ้นจากตำแหน่งให้คณะกรรมการชั่วคราวจัดให้มีการประชุมใหญ่เพื่อเลือกตั้งกรรมการขึ้นใหม่ทั้งคณะตามวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับ
 
มาตรา 25  ในกรณีที่นายทะเบียนสหกรณ์สั่งให้กรรมการบางคนพ้นจากตำแหน่ง ให้คณะกรรมการส่วนที่เหลือเรียกประชุมใหญ่เลือกตั้งผู้เป็นกรรมการแทนภายในเวลาสามสิบวันนับแต่วันที่กรรมการพ้นจากตำแหน่ง ถ้ามิได้เลือกตั้งหรือเลือกตั้งผู้เป็นกรรมการไม่ได้ตามกำหนดเวลาให้นายทะเบียนสหกรณ์ตั้งสมาชิกเป็นกรรมการแทน ในการนี้ให้ผู้ซึ่งได้รับเลือกตั้งหรือแต่งตั้งนั้นอยู่ในตำแหน่งกรรมการเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน
 
มาตรา 26  คำสั่งใด ๆ ตามมาตรา 20 มาตรา 22 มาตรา 24 และมาตรา 25 ให้ผู้มีส่วนได้เสียอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับทราบคำสั่ง
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติให้เป็นที่สุด
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก