บ้านถูกบังคับคดีขายทอดตลาด|บ้านถูกบังคับคดีขายทอดตลาด

บ้านถูกบังคับคดีขายทอดตลาด

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

บ้านถูกบังคับคดีขายทอดตลาด

วันนี้มีปัญหาอยากถามครับ คือตอนนี้บ้านถูกบังคับคดีขายทอดตลาด

บทความวันที่ 21 ส.ค. 2552, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 6517 ครั้ง


บ้านถูกบังคับคดีขายทอดตลาด
 


          วันนี้มีปัญหาอยากถามครับ  คือตอนนี้บ้านถูกบังคับคดีขายทอดตลาด  โดยการอายัดของธนาคารที่เราเป็นหนี้บัตรเครดิตอยู่   แต่บ้านนั้นได้จำนองไว้กับ ธอส.อยากถามว่า
1.เป็นหนี้ ธอส อยู่5แสนกว่า  แต่บ้านมีราคาประเมินประมาน 2แสนกว่า   หากขายทอดตลาดแล้วต้องนำเงินไปใช้ให้ ธอส. ทั้งหมดแล้วชำระหนี้ที่เหลือ ตาม ปพพ. มาตรา733 ใช่หรือไม่
2.แล้วธนาคารที่เราเป็นหนี้บัตรเครดิตก็จะไม่ได้อะไรจากเราเลยใช่รึป่าวครับ  เพราะ ธอส.เป็นเจ้าหนี้บุริมสิทมีสิทธิได้รับการชำระหนี้ก่อน
3.ตอนนี้ผมอายุ 22 เรียนปีสุดท้าย ค้าขายด้วยพอมีรายได้ ต้องการจะซื้อบ้านได้หรือไม่ครับ

คำแนะนำทนายคลายทุกข์

1-2.  ส่วนใหญ่แล้วสัญญาจำนองของธนาคาร  จะมีข้อตกลงเพื่อยกเว้นบทบัญญัติของมาตรา 733  แห่ง ป.พ.พ. โดยหากนำทรัพย์ซึ่งจำนองออกขายทอดตลาด  ได้เงินจำนวนสุทธิน้อยกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระกันอยู่  ลูกหนี้ยังต้องรับผิดในเงินนั้น  ดังนั้น  เมื่อนำบ้านของคุณออกขายทอดตลาด  ได้เงินเท่าใดต้องชำระหนี้ให้แก่ ธอส.ก่อน  เพราะถือว่าธอส.เป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิ์ที่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่น ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 287,289  และธนาคารบัตรเครดิต  คุณก็ต้องเป็นหนี้อยู่ต่อไป  และมีหน้าที่ต้องชำระหนี้ให้แก่ ธอส.และธนาคารบัตรเครดิต  ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา

3.  เจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่เป็นของคุณได้ภายใน 10 ปี  นับแต่วันมีคำพิพากษา ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 271  ดังนั้น  หากคุณไม่ได้ติดแบล็คลิสต์และมีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคาร  กำหนดคุณก็สามารถซื้อบ้านได้  แต่หากคุณซื้อบ้านได้ภายใน 10 ปี  นับแต่วันมีคำพิพากษา  คุณก็อาจถูกเจ้าหนี้ตามคำพิพากษายึดบ้านดังกล่าวได้อีก เช่นเดียวกัน

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 733  ถ้าเอาทรัพย์จำนองหลุดและราคาทรัพย์สินนั้นมีประมาณต่ำกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระกันอยู่ก็ดี หรือถ้าเอาทรัพย์สินซึ่งจำนองออกขายทอดตลาดใช้หนี้ ได้เงินจำนวนสุทธิน้อยกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระกันอยู่นั้นก็ดี เงินยังขาดจำนวนอยู่เท่าใดลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดในเงินนั้น

มาตรา 287  ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา 288 และ 289 บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้น ย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงบุริมสิทธิหรือสิทธิอื่น ๆ ซึ่งบุคคลภายนอกอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้นได้ตามกฎหมาย
 
มาตรา 289  ถ้าบุคคลใดชอบที่จะบังคับการชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้ หรือชอบที่จะได้เงินที่ขายหรือจำหน่ายทรัพย์สินเหล่านั้นได้โดยอาศัยอำนาจแห่งการจำนองที่อาจบังคับได้ก็ดี หรืออาศัยอำนาจแห่งบุริมสิทธิก็ดี บุคคลนั้นอาจยื่นคำร้องขอต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดีให้เอาเงินที่ได้มานั้นชำระหนี้ตนก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆ ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในกรณีที่อาจบังคับเอาทรัพย์สินซึ่งจำนองหลุด ผู้รับจำนองจะมีคำขอดังกล่าวข้างต้นให้เอาทรัพย์สินซึ่งจำนองนั้นหลุดก็ได้

ในกรณีจำนองอสังหาริมทรัพย์ หรือบุริมสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์อันได้ไปจดทะเบียนไว้นั้น ให้ยื่นคำร้องขอก่อนเอาทรัพย์สินนั้นออกขายทอดตลาด ส่วนในกรณีอื่น ๆ ให้ยื่นคำร้องขอเสียก่อนส่งคำบอกกล่าวตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 319

ถ้าศาลมีคำสั่งอนุญาตให้เอาทรัพย์ที่จำนองหลุด การยึดทรัพย์ที่จำนองนั้นเป็นอันเพิกถอนไปในตัว ในกรณีอื่น ๆ ที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องขอ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะได้รับแต่เงินที่เหลือ ถ้าหากมี ภายหลังที่หักชำระค่าธรรมเนียมการบังคับจำนองและชำระหนี้ผู้รับจำนอง หรือเจ้าหนี้บุริมสิทธิแล้ว


 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

จากคดีแพ่งที่โจทย์เป็นบุคคลทั่วไป โดยที่เราไม่มีปัญหาการผ่อนกับธนาคาร แต่ถูกอายัดทรัพย์ที่อยู่ระหว่างผ่อนธนาคาร สรุปว่าการขายทอดตลาดบ้าน(บ้านใหม่ซื้อจากโครงการ)ธนาคารเป็นเจ้าหนี้รายแรก กองบังคับคดีเป็นเจ้าหนี้รายที่สอง ถูกต้องใหมครับ เงินที่ได้จากการขายทอดตลาดได้มาเท่าไรต้องใช้หนี้ธนาคารก่อน ถ้าเหลือเท่าไรแล้วจึงไปชำระหนี้กับกองบังคับคดี ถ้าขายแล้วได้เงินไม่ครบตามจำนวนหนี้ที่เป็นอยู่กับธนาคารก็ต้องผ่อนใช้กับธนาคารโดยไม่มีทรัพย์ แล้วเจ้าหนี้ที่ไปแจ้งกองบังคับคดีก็ต้องหาทรัพย์ของลูกหนี้ต่อไป เพราะบ้านที่ขายทอดตลาดไม่เหลือเงินให้กองบังคับคดี ผมเข้าใจถูกต้องใหมครับ เพราะก่อนหน้านี้เคยปรึกษาธนาคารธนาคารตอบว่าธนาคารเป็นเจ้าหนี้รายแรกกองบังคับคดีเป็นเจ้าหนี้รายที่สอง ตอนนี้เกิดเรื่องบังคับคดี ธนาคารบอกว่ากองบังคับคดีเป็นเจ้าหนี้รายแรก ธนาคารเป็นเจ้าหนี้รายที่สอง สับสนครับ ขอทราบข้อมูลจากผู้รู้หน่อยครับ ขอขอบคุณเป็นอย่างสูง

โดยคุณ yot 1 ต.ค. 2552, 10:23

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก