เจตนาทำร้ายร่างกาย ไม่ได้เจตนาชิงทรัพย์|เจตนาทำร้ายร่างกาย ไม่ได้เจตนาชิงทรัพย์

เจตนาทำร้ายร่างกาย ไม่ได้เจตนาชิงทรัพย์

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

เจตนาทำร้ายร่างกาย ไม่ได้เจตนาชิงทรัพย์

  • Defalut Image

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3520/2563

บทความวันที่ 30 พ.ค. 2565, 13:15

มีผู้อ่านทั้งหมด 1203 ครั้ง


เจตนาทำร้ายร่างกาย ไม่ได้เจตนาชิงทรัพย์
ลองอ่านฎีกาใหม่และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง  เอาไปใช้ประโยชน์ได้นะครับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3520/2563
            จำเลยมิได้ทำร้ายร่างกายผู้เสียหายโดยมีเจตนาเอาสร้อยข้อมือทองคำของผู้เสียหายไป  แต่จำเลยกระชากสร้อยข้อมือทองคำของผู้เสียหายไปเป็นเจตนาที่เกิดขึ้นหลังจากที่จำเลยทำร้ายร่างกายผู้เสียหายแล้ว  การกระทำของจำเลยมิได้เป็นการลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้าย อันเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์  แต่เป็นการทำร้ายร่างกายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายตอนหนึ่ง และกระชากเอาสร้อยข้อมือทองคำของผู้เสียหายไปโดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้าอีกตอนหนึ่ง
           โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยฉกฉวยเอาสร้อยข้อมือทองคำของผู้เสียหายไปซึ่งหน้า  อันเป็นองค์ประกอบฐานวิ่งราวทรัพย์และคำขอท้ายฟ้องมิได้ขอให้ลงโทษฐานวิ่งราวทรัพย์มาด้วย  ดังนี้  ศาลลงโทษฐานวิ่งราวทรัพย์ไม่ได้  ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสี่  
          โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานชิงทรัพย์ในเวลากลางคืน เป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่กาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคสองและวรรคสาม  ถือว่าความผิดฐานชิงทรัพย์ที่โจทก์บรรยายฟ้องมารวมการกระทำหลายอย่าง  แต่ละอย่างอาจเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง  ศาลย่อมลงโทษจำเลยฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย  ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 และฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา  335(1) วรรคหนึ่งได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคท้าย  อันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ตามประมวลกฎหมายอาญา  มาตรา 91
           ภายหลังจำเลยกระทำความผิดมีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 26)  พ.ศ.2560 มาตรา 4  ให้ยกเลิกอัตราโทษในมาตรา 295  ให้ใช้อัตราโทษใหม่แทน  และมาตรา 15  ให้ยกเลิกอัตราโทษในมาตรา 335 วรรคหนึ่ง วรรคสอง   และวรรคสาม  ให้ใช้อัตราโทษใหม่แทนโดยระวางโทษปรับตามกฎหมายใหม่สูงกว่ากฎหมายเดิม  กฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่เป็นคุณแก่จำเลย ดังนี้ ต้องใช้กฎหมายเดิมที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3
ตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
 ประมวลกฎหมายอาญา
  มาตรา 3
 ถ้ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด ให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิด ไม่ว่าในทางใด เว้นแต่คดีถึงที่สุดแล้ว แต่ในกรณีที่คดีถึงที่สุดแล้ว ดังต่อไปนี้
       (1) ถ้าผู้กระทำความผิดยังไม่ได้รับโทษ หรือกำลังรับโทษอยู่ และโทษที่กำหนดตามคำพิพากษาหนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง เมื่อสำนวนความปรากฏแก่ศาลหรือเมื่อผู้กระทำความผิด ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้นั้น ผู้อนุบาลของผู้นั้นหรือพนักงานอัยการร้องขอ ให้ศาลกำหนดโทษเสียใหม่ตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง ในการที่ศาลจะกำหนดโทษใหม่นี้ ถ้าปรากฏว่า ผู้กระทำความผิดได้รับโทษมาบ้างแล้ว เมื่อได้คำนึงถึงโทษตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง หากเห็นเป็นการสมควร ศาลจะกำหนดโทษน้อยกว่าโทษขั้นต่ำที่กฎหมายที่บัญญัติในภายหลังกำหนดไว้ถ้าหากมีก็ได้ หรือถ้าเห็นว่าโทษที่ผู้กระทำความผิดได้รับมาแล้วเป็นการเพียงพอ ศาลจะปล่อยผู้กระทำความผิดไปก็ได้
         (2) ถ้าศาลพิพากษาให้ประหารชีวิตผู้กระทำความผิด และตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง โทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดไม่ถึงประหารชีวิต ให้งดการประหารชีวิตผู้กระทำความผิด และให้ถือว่าโทษประหารชีวิตตามคำพิพากษาได้เปลี่ยนเป็นโทษสูงสุดที่จะพึงลงได้ตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง
มาตรา 336  ผู้ใดลักทรัพย์โดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้า ผู้นั้นกระทำความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
         ถ้าการวิ่งราวทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่สี่หมื่นบาทถึงหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท
         ถ้าการวิ่งราวทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสองแสนบาท
         ถ้าการวิ่งราวทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสามแสนบาท
มาตรา 339  ผู้ใดลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อ
          (1) ให้ความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือการพาทรัพย์นั้นไป
          (2) ให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์นั้น
          (3) ยึดถือเอาทรัพย์นั้นไว้
         (4) ปกปิดการกระทำความผิดนั้น หรือ
         (5) ให้พ้นจากการจับกุม
           ผู้นั้นกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสองแสนบาท
           ถ้าความผิดนั้นเป็นการกระทำที่ประกอบด้วยลักษณะดังที่บัญญัติไว้ในอนุมาตราหนึ่งอนุมาตราใดแห่งมาตรา 335 หรือเป็นการกระทำต่อทรัพย์ที่เป็นโค กระบือ เครื่องกลหรือเครื่องจักรที่ผู้มีอาชีพกสิกรรมมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรม ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงสามแสนบาท
           ถ้าการชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงสี่แสนบาท
           ถ้าการชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สามแสนบาทถึงสี่แสนบาท
           ถ้าการชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 192
 ห้ามมิให้พิพากษา หรือสั่ง เกินคำขอ หรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง
           ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง ให้ศาลยกฟ้องคดีนั้น เว้นแต่ข้อแตกต่างนั้นมิใช่ในข้อสาระสำคัญและทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลจะลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นก็ได้
            ในกรณีที่ข้อแตกต่างนั้นเป็นเพียงรายละเอียด เช่น เกี่ยวกับเวลาหรือสถานที่กระทำความผิดหรือต่างกันระหว่างการกระทำผิดฐานลักทรัพย์ กรรโชก รีดเอาทรัพย์ ฉ้อโกง โกงเจ้าหนี้ ยักยอก รับของโจร และทำให้เสียทรัพย์ หรือต่างกันระหว่างการกระทำผิดโดยเจตนากับประมาท มิให้ถือว่าต่างกันในข้อสาระสำคัญ ทั้งมิให้ถือว่าข้อที่พิจารณาได้ความนั้นเป็นเรื่องเกินคำขอหรือเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ เว้นแต่จะปรากฏแก่ศาลว่าการที่ฟ้องผิดไปเป็นเหตุให้จำเลยหลงต่อสู้  แต่ทั้งนี้ ศาลจะลงโทษจำเลยเกินอัตราโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดที่โจทก์ฟ้องไม่ได้
            ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงบางข้อดังกล่าวในฟ้อง และตามที่ปรากฏในทางพิจารณาไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ ห้ามมิให้ศาลลงโทษจำเลยในข้อเท็จจริงนั้น ๆ
            ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงตามฟ้องนั้นโจทก์สืบสม แต่โจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิด ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้
            ถ้าความผิดตามที่ฟ้องนั้นรวมการกระทำหลายอย่าง แต่ละอย่างอาจเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง ศาลจะลงโทษจำเลยในการกระทำผิดอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่พิจารณาได้ความก็ได้
#ปรึกษาคดี โทร.02-9485700, 081-6161425, 081-8217470,081-6252161 
#ทำร้ายร่างกาย #ชิงทรัพย์  #ลักทรัพย์
#ทนายคลายทุกข์

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก