เจ้าของรถยนต์ไม่ทราบว่า ผู้โดยสารพกยาเสพติดมาด้วยไม่ต้องรับผิด|เจ้าของรถยนต์ไม่ทราบว่า ผู้โดยสารพกยาเสพติดมาด้วยไม่ต้องรับผิด

เจ้าของรถยนต์ไม่ทราบว่า ผู้โดยสารพกยาเสพติดมาด้วยไม่ต้องรับผิด

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

เจ้าของรถยนต์ไม่ทราบว่า ผู้โดยสารพกยาเสพติดมาด้วยไม่ต้องรับผิด

  • Defalut Image

คำพิพากษาฎีกาที่ 632/2563

บทความวันที่ 26 พ.ค. 2565, 11:03

มีผู้อ่านทั้งหมด 592 ครั้ง


เจ้าของรถยนต์ไม่ทราบว่า ผู้โดยสารพกยาเสพติดมาด้วยไม่ต้องรับผิด
             ลองอ่านฎีกาใหม่และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง  เอาไปใช้ประโยชน์ได้นะครับ

คำพิพากษาฎีกาที่ 632/2563
    จำเลยเป็นผู้ขับรถยนต์คันที่มีเมทแอมเฟตามีนของกลางซุกซ่อนไว้โดยโจทก์ไม่มีพยานรู้เห็นว่าจำเลยร่วมกับ ธ. นำเมทแอมเฟตามีนของกลางไปซุกซ่อนไว้ในรถยนต์ หรือจำเลยรู้ว่า ธ. เกี่ยวข้องกับยาเสพติดมาก่อน  ประกอบกับเมทแอมเฟตามีนของกลางอยู่ในกระเป๋าคาดเอวสีดำวางอยู่ข้างเบาพที่นั่งด้านหน้าติดประตูที่ ธ. นั่งซึ่งเป็นบริเวณที่จำเลยไม่สามารถมองเห็นได้ เชื่อว่าขณะที่ ธ. ขึ้นรถยนต์ได้นำกระเป๋าคาดเอวสีดำไปซุกซ่อนไว้เพื่อมิให้จำเลยเห็นได้ ดังนี้ ลำพังเพียงจำเลยเป็นผู้ขับรถยนต์ที่มีเมทแอมเฟตามีนของกลางซุกซ่อนไว้ ยังมิใช่ข้อบ่งชี้ว่าจำเลยรู้เห็นกับการกระทำของ ธ. ด้วยพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยร่วมกับ ธ. มีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 3
    ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 
มาตรา 174
ก่อนนำพยานเข้าสืบ โจทก์มีอำนาจเปิดคดีเพื่อให้ศาลทราบคดีโจทก์ คือแถลงถึงลักษณะของฟ้อง อีกทั้งพยานหลักฐานที่จะนำสืบเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยเสร็จแล้วให้โจทก์นำพยานเข้าสืบ
    เมื่อสืบพยานโจทก์แล้ว จำเลยมีอำนาจเปิดคดีเพื่อให้ศาลทราบคดีจำเลย โดยแถลงข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายซึ่งตั้งใจอ้างอิง ทั้งแสดงพยานหลักฐานที่จะนำสืบ เสร็จแล้วให้จำเลยนำพยานเข้าสืบ
    มาตรา 227 ให้ศาลใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวง อย่าพิพากษาลงโทษจนกว่าจะแน่ใจว่ามีการกระทำผิดจริงและจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดนั้น
    มาตรา 228 ระหว่างพิจารณาโดยพลการหรือคู่ความฝ่ายใดร้องขอ ศาลมีอำนาจสืบพยานเพิ่มเติม จะสืบเองหรือส่งประเด็นก็ได้
    พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550
    มาตรา 3 บทบัญญัติหรือวิธีพิจารณาใดซึ่งพระราชบัญญัตินี้มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ให้นำบทบัญญัติหรือวิธีพิจารณาแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง หรือกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร มาใช้บังคับเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวฯ 
มาตรา 36
ให้สถานพินิจมีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้และตามกฎหมายอื่นและโดยเฉพาะให้มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
    (1) สืบเสาะและพินิจเรื่องอายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษาอบรม สภาพร่างกาย สภาพจิต นิสัย อาชีพ และฐานะของเด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดและของบิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลซึ่งเด็กหรือเยาวชนอาศัยอยู่ด้วย ตลอดจนสิ่งแวดล้อมทั้งปวงเกี่ยวกับเด็กหรือเยาวชนนั้น รวมทั้งสาเหตุแห่งการกระทำความผิด เพื่อรายงานต่อศาลหรือเพื่อประกอบการพิจารณาของเจ้าพนักงานที่เกี่ยวข้อง ตามระเบียบที่กระทรวงยุติธรรมกำหนด
    (2) ควบคุมเด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดไว้ในระหว่างการสอบสวนหรือการพิจารณาคดี หรือตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล
    (3) ดำเนินการและประสานงานร่วมกับหน่วยงานและองค์การอื่นในการสงเคราะห์ แก้ไขและบำบัดฟื้นฟูเด็กหรือเยาวชนในระหว่างที่ถูกควบคุมหรือภายหลังปล่อย
    (4) ดำเนินการและประสานงานร่วมกับหน่วยงานและองค์การอื่นในการตรวจรักษาและพยาบาลเด็กหรือเยาวชนในระหว่างการสอบสวน การพิจารณาคดี หรือการควบคุมตัวในสถานพินิจ
    (5) ดำเนินการและประสานงานร่วมกับหน่วยงานและองค์การอื่นในการจัดการศึกษา การฝึกอบรม หรือการดูแลอบรมสั่งสอนเด็กหรือเยาวชนซึ่งอยู่ในความควบคุม
    (6) สืบเสาะภาวะความเป็นอยู่ของครอบครัวในคดีครอบครัว รวมทั้งจัดให้แพทย์หรือจิตแพทย์ตรวจสภาพร่างกาย หรือสภาพจิตของคู่ความในกรณีที่ศาลมีคำสั่งตามมาตรา 152
    (7) ประมวลและรายงานข้อเท็จจริง รวมทั้งเสนอความเห็นต่อศาลในคดีครอบครัวตามมาตรา 167
    (8) ศึกษาค้นคว้าถึงสาเหตุแห่งการกระทำของเด็กและเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดโดยทั่ว ๆ ไป จัดทำสถิติการกระทำความผิดดังกล่าวของเด็กและเยาวชนและเผยแพร่วิธีป้องกันหรือทำให้การกระทำความผิดนั้นลดน้อยลง
    (9) ปฏิบัติตามคำสั่งศาลซึ่งสั่งตามกฎหมายอื่น
    (10) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามระเบียบที่กระทรวงยุติธรรมกำหนด
    มาตรา 82  เมื่อผู้อำนวยการสถานพินิจได้รับแจ้งการจับกุมเด็กหรือเยาวชนตามมาตรา 70 วรรคหนึ่ง หรือได้รับตัวเด็กหรือเยาวชนตามมาตรา ๗๓ แล้ว ให้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้
    (1) สั่งให้พนักงานคุมประพฤติสืบเสาะข้อเท็จจริงตามมาตรา ๓๖ (๑) เว้นแต่ในคดีอาญา ซึ่งมีอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าผู้อำนวยการสถานพินิจเห็นว่าการสืบเสาะข้อเท็จจริงดังกล่าวไม่จำเป็นแก่คดีจะสั่งงดการสืบเสาะข้อเท็จจริงนั้นเสียก็ได้ แล้วให้แจ้งไปยังพนักงานสอบสวนที่เกี่ยวข้อง
    (2) ทำรายงานในคดีที่มีการสืบเสาะเพื่อแสดงถึงข้อเท็จจริงตามมาตรา 36 (1) และแสดงความเห็นเกี่ยวกับสาเหตุแห่งการกระทำความผิดของเด็กหรือเยาวชน แล้วส่งรายงานและความเห็นนั้นไปยังพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ แล้วแต่กรณี และถ้ามีการฟ้องร้องเด็กหรือเยาวชนต่อศาลให้เสนอรายงานและความเห็นนั้นต่อศาลพร้อมทั้งความเห็นเกี่ยวกับการลงโทษ หรือการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนด้วย
    (3) ในกรณีที่เด็กหรือเยาวชนอยู่ในความควบคุมของสถานพินิจ ให้เด็กหรือเยาวชนได้รับการปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
    (ก) ทำความสะอาดร่างกายและเปลี่ยนเครื่องแต่งกาย
    (ข) ให้แพทย์ตรวจสภาพร่างกายและสภาพจิตใจในเบื้องต้น และถ้าเห็นสมควรให้จิตแพทย์ตรวจสภาพจิตด้วย
    (ค) ถ้าปรากฏว่าเด็กหรือเยาวชนเจ็บป่วย ซึ่งควรจะได้รับการรักษาพยาบาลก่อนดำเนินคดี ให้มีอำนาจสั่งให้ได้รับการรักษาพยาบาลในสถานพินิจหรือสถานพยาบาลอื่นตามที่เห็นสมควร ในกรณีเช่นว่านี้ให้แจ้งไปยังพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการที่เกี่ยวข้องด้วย
    มาตรา  131 ในกรณีที่ได้มีการสืบเสาะข้อเท็จจริงตามมาตรา 36 (1) ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวจะพิพากษาลงโทษหรือใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนได้ต่อเมื่อได้รับทราบรายงานและความเห็นจากผู้อำนวยการสถานพินิจตามมาตรา 82 (2) หรือมาตรา 116 หรือมาตรา 117 แล้ว และถ้าผู้อำนวยการสถานพินิจขอแถลงเพิ่มเติมด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือให้ศาลรับไว้ประกอบการพิจารณาด้วย

#ปรึกษาคดี โทร.02-9485700, 081-6161425, 081-8217470,081-6252161 
#ยาเสพติด #ของกลาง  #ตัวการร่วม
#ทนายคลายทุกข์

 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก