ศาลสั่งลดค่าเลี้ยงดูบุตรได้ ถ้าบิดาไม่มีความสามารถในการจ่าย (ถึงแม้จะมีข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่าก็ตาม)|ศาลสั่งลดค่าเลี้ยงดูบุตรได้ ถ้าบิดาไม่มีความสามารถในการจ่าย (ถึงแม้จะมีข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่าก็ตาม)

ศาลสั่งลดค่าเลี้ยงดูบุตรได้ ถ้าบิดาไม่มีความสามารถในการจ่าย (ถึงแม้จะมีข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่าก็ตาม)

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ศาลสั่งลดค่าเลี้ยงดูบุตรได้ ถ้าบิดาไม่มีความสามารถในการจ่าย (ถึงแม้จะมีข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่าก็ตาม)

  • Defalut Image

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4681/2552

บทความวันที่ 4 พ.ค. 2564, 16:12

มีผู้อ่านทั้งหมด 1160 ครั้ง


ศาลสั่งลดค่าเลี้ยงดูบุตรได้ ถ้าบิดาไม่มีความสามารถในการจ่าย (ถึงแม้จะมีข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่าก็ตาม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4681/2552
              การที่บุคคลจะเสนอคดีต่อศาลส่วนแพ่งโดยการยื่นเป็นคำฟ้องหรือคำร้องขออย่างหนึ่งอย่างใด มิได้พิจารณาว่าคดีดังกล่าวเป็นคดีมีทุนทรัพย์หรือไม่มีทุนทรัพย์
              ตามคำร้องขอของผู้ร้องนอกจากมีคำขอให้ลดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์แล้ว ยังขอให้มีคำสั่งถอนอำนาจปกครองของ ป. และแต่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองด้วย อันส่งผลกระทบต่อค่าอุปการะเลี้ยงดู เพราะหากศาลมีคำสั่งให้ผู้ร้องเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้ร้องก็ไม่จำต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์แก่ ป. ตามที่กำหนดไว้ในข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าอีกต่อไป ซึ่งศาลมีอำนาจแก้ไขได้ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ และถือได้ว่าคำขอให้ถอนอำนาจปกครองและแต่งตั้งผู้ใช้อำนาจปกครองคนใหม่เป็นคำขอหลัก ส่วนคำขอให้ลดค่าอุปการะเลี้ยงดูเป็นคำขอรอง นอกจากนี้แม้ตามข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าจะกำหนดให้ ป. เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองแต่ถ้าภายหลังพึงจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงตัวผู้ใช้อำนาจ ศาลก็มีอำนาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1521 ประกอบมาตรา 1566 (5) แต่บทบัญญัติดังกล่าวมิได้กำหนดวิธีการที่คดีจะมาสู่ศาล แสดงว่าบทบัญญัติดังกล่าวประสงค์จะให้คดีขึ้นสู่ศาลได้โดยทำเป็นคำฟ้องอย่างคดีมีข้อพิพาทและทำเป็นคำร้องขออย่างคดีไม่มีข้อพิพาทได้ด้วย ผู้ร้องจึงชอบที่จะเสนอคดีขอให้ถอนอำนาจปกครองและแต่งตั้งผู้ใช้อำนาจปกครองคนใหม่โดยทำเป็นคำร้องขอ รวมทั้งชอบที่จะเสนอคดีขอให้ลดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรซึ่งเกี่ยวเนื่องกันเข้ามาในคำร้องขอฉบับเดียวกันได้
             ป.พ.พ. มาตรา 1598/39 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า เมื่อผู้มีส่วนได้เสียแสดงว่าพฤติการณ์ รายได้ หรือฐานะของคู่กรณีได้เปลี่ยนแปลงไป ศาลจะสั่งแก้ไขในเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูโดยให้เพิกถอน ลด เพิ่ม หรือกลับให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูอีกก็ได้ ดังนั้น แม้บันทึกท้ายทะเบียนการหย่าจะกระทำขึ้นโดยชอบด้วยความสมัครใจของคู่กรณี ถ้าต่อมาพฤติการณ์ รายได้ หรือฐานะของคู่กรณีเปลี่ยนแปลงไป ศาลก็มีอำนาจแก้ไขในเรื่องดังกล่าวได้ตามบทบัญญัติดังกล่าว

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

ส่งลูกมาตลอด1เต็มทั้งสองคนเดือนละ 15,000 ตามที่ได้ตกลงในตอนหย่า แต่ตอนนี้ด้วยภาวะเศรฐกิจและปัจจัยหลายๆอย่างที่เกิดขึ้นจากโควิด ทำให้รายได้ลดลง ซึ่งปกติตอนที่ส่งมา1ปีนั้นก็ไม่ค่อยจะดีอยู่แล้ว อยากทราบว่าจะสามารถต่อรองเหลือน้อยลงมากว่านี้จะได้หรือไม่ แล้วเงิน 15,000 ก็ไม่รู้ว่าลูกๆได้ใช้อะไรบ้างเพราะโรงเรียนก็ไม่ได้ไปกันเลย และที่ตกลงว่าจะให้ 15,000 ตามที่ใบหย่าด้านหลังคือตอนนั้นถ้าไม่ทำตามนี้เขาก็จะไม่ยอมหย่า หรือจะฟ้องหย่า จึงไม่อยากทำให้มันมีปัญหาบานปลาย จึงเลยตกลงไปตามนั้น แต่ตอนนี้เดืดร้อนมาก เงินก็ให้ครบ แต่ก็ยังไม่ให้ลูกมานอนค้างที่บ้านหรือไม่ให้ไปไหนด้วย ทั้งที่บ้านก็อห่างกันไม่ถึง 100 เมตรเลย อยากทราบว่าถ้าผมจะจ่ายแค่ตามกำลังหรือจ่ายให้ลูกโดยตรงโดยไม่ผ่านแม่จะได้มั้ย ผมรับผิดชอบเรื่องลูกทุกอย่างแต่ไม่อยากฝากเงินไว้ที่แม่เขาเท่านั้นเอง

โดยคุณ นันทศักดิ์ ทินบัว 10 ก.พ. 2565, 18:45

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก