เมื่อมีการยอมความหรือถอนฟ้องสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับ|เมื่อมีการยอมความหรือถอนฟ้องสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับ

เมื่อมีการยอมความหรือถอนฟ้องสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับ

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

เมื่อมีการยอมความหรือถอนฟ้องสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับ

  • Defalut Image

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4305/2562

บทความวันที่ 27 ม.ค. 2564, 11:08

มีผู้อ่านทั้งหมด 1674 ครั้ง


เมื่อมีการยอมความหรือถอนฟ้องสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับ

1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4305/2562
               โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 ในข้อหารับของโจร แต่ข้อเท็จริงตามที่ปรากฎในการพิจารณาฟังได้ว่า จำเลยที่ 3 กระทำความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงจึงไม่ใช่ข้อแตกต่างในสาระสำคัญ ทั้งจำเลยที่ 3 ไม่ได้หลงต่อสู้ ศาลฎีกาจึงลงโทษจำเลยที่ 3 ฐานร่วมกันฉ้อโกงเป็นความผิดต่อส่วนตัวอันจะถอนฟ้องหรือยอมความในเวลาใดก่อนคดีถึงที่สุดก็ได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 35 วรรคสอง  เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ 3 ในระหว่างระยะเวลายื่นฎีกาคดียังไม่ถึงที่สุดและจำเลยที่ 3 ไม่ได้คัดค้าน  จึงเป็นการฟ้องร้องหรือยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย สิทธิการนำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 3 ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39(2)

2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 598/2548
             โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ แม้ศาลอาจลงโทษจำเลยฐานยักยอกได้ โดยอาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสาม แต่ความผิดฐานยักยอกเป็นความผิดอันยอมความได้  เมื่อมีการยอมความกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) แล้ว จึงทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานนี้ระงับไป ต้องพิพากษายกฟ้อง

 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก