จำเลยยอมรับว่า กล่าวข้อความหมิ่นประมาท ไม่ถือว่าจำเลยให้การรับสารภาพ|จำเลยยอมรับว่า กล่าวข้อความหมิ่นประมาท ไม่ถือว่าจำเลยให้การรับสารภาพ

จำเลยยอมรับว่า กล่าวข้อความหมิ่นประมาท ไม่ถือว่าจำเลยให้การรับสารภาพ

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

จำเลยยอมรับว่า กล่าวข้อความหมิ่นประมาท ไม่ถือว่าจำเลยให้การรับสารภาพ

  • Defalut Image

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5378/2562

บทความวันที่ 4 ม.ค. 2564, 11:46

มีผู้อ่านทั้งหมด 1538 ครั้ง


จำเลยยอมรับว่า กล่าวข้อความหมิ่นประมาท ไม่ถือว่าจำเลยให้การรับสารภาพ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5378/2562
           ถ้อยคำของจำเลยที่ยอมรับว่าได้กล่าวข้อความตามฟ้องยังถือไม่ว่าจำเลยให้การรับสารภาพว่าได้กระทำความผิดจริงตามที่โจทก์ฟ้อง ศาลย่อมไม่อาจแน่ใจได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดจริงหรือไม่  จึงไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคหนึ่ง ในกรณีเช่นนี้ ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษาศาลชั้นต้นควรจะฟังข้อเท็จจริงตามประเด็นที่คู่ความนำสืบเสียก่อนแต่ศาลชั้นต้นกลับมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์และโจทก์ร่วมและนัดฟังคำพิพากษาโดยมิได้เปิดโอกาสให้คู่ความทำการสืบพยาน จึงเป็นการที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายวิธีพิจารณาความว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1) ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
          ปัญหาว่าคำให้การจำเลยถือว่าเป็นการรับสารภาพหรือไม่ แม้จำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ทั้งศาลอุทธรณ์ภาค 7 มิได้ยกข้อกฎหมายนี้ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นวินิจฉัย ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยเองได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง  ประกอบด้วยมาตรา 225
           น้องชายโจทก์ร่วมอาศัยอยู่ที่บ้านของโจทก์ร่วมทั้งเคยมีประวัติในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษหลายคดีอีกด้วย แสดงว่าน้องชายโจทก์ร่วมมีพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้โทษ ซึ่งการกระทำความผิดเป็นภัยร้ายแรงต่อสังคมส่วนรวมซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่รู้กันอยู่ทั่วไป โดยจำเลยมิต้องนำสืบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84(1) ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา  มาตรา 15 และอาจทำให้บุคคลทั่วไปรวมถึงจำเลยเชื่อว่าน้องชายโจทก์ร่วมมีส่วนเกี่ยวข้องในการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษการกระทำของจำเลยที่กล่าวหาต่อหน้า ส. ว่าบ้านของโจทก์ร่วมค้ายาเสพติดที่พัทยา  ถือว่าไม่มีเจตนาที่จะใส่ความโจทก์ร่วมให้เสียชื่อเสียงว่าถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง แต่เป็นการติชมด้วยความเป็นธรรม  อันเป็นวิสัยที่จำเลยชอบที่จะกระทำได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329(3)
              จำเลยเชื่อว่าโจทก์ร่วมหลอกให้จำเลยไปซื้อที่ดินและตึกแถวเพื่อจะได้ใช้ประโยชน์จากตึกแถวโดยโจทก์ร่วมไม่สนใจที่จะหาคนมาซื้อตึกแถวของจำเลย  เป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายเพราะว่าโจทก์ร่วมได้รับประโยชน์จากตึกแถวของจำเลยแต่เพียงฝ่ายเดียวจากการที่จำเลยให้โจทก์ร่วมและน้องสาวพักอาศัยและนำรถเข้าไปจอดภายในตึกแถวของจำเลยโดยจำเลยไม่เคยเรียกร้องค่าเช่าจากโจทก์ร่วม การที่จำเลยกล่าวกับ ส. ว่า "...และหลอกให้ไปซื้อตึกที่สนามแข่งรถ" เป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329(1) จำเลยไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาทโจทก์ร่วม

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก