แนวปฏิบัติในการตีความนิติกรรมสัญญา|แนวปฏิบัติในการตีความนิติกรรมสัญญา

แนวปฏิบัติในการตีความนิติกรรมสัญญา

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

แนวปฏิบัติในการตีความนิติกรรมสัญญา

  • Defalut Image

กรณีนิติกรรมนั้นมีข้อความไม่ชัดแจ้งขัดแย้งกันหรือตีความได้หลายนัยให้พิจารณาถึงเจตนาอันแท้จริง

บทความวันที่ 12 พ.ย. 2563, 15:06

มีผู้อ่านทั้งหมด 799 ครั้ง


แนวปฏิบัติในการตีความนิติกรรมสัญญา

              กรณีนิติกรรมนั้นมีข้อความไม่ชัดแจ้งขัดแย้งกันหรือตีความได้หลายนัยให้พิจารณาถึงเจตนาอันแท้จริง แต่ถ้านิติกรรมนั้นมีข้อความชัดเจนอยู่แล้วก็ไม่จำเป็นต้องตีความตามเจตนาอีก
แนวปฏิบัติในการนำมาใช้พิจารณาในการตีความได้แก่
1. การตีความหาเจตนาอันแท้จริงของคู่กรณีจะต้องพิจารณาสัญญาทั้งฉบับมิใช่เฉพาะข้อความตอนใดตอนหนึ่ง (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 531/2513)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 531/2513

                การจำนองทรัพย์สินหลายสิ่งเพื่อประกันหนี้รายหนึ่งรายเดียวโดยมิได้ระบุอันดับไว้ แต่ระบุจำนวนเงินจำนองไว้เฉพาะทรัพย์สินแต่ละสิ่ง หากผู้รับจำนองใช้สิทธิบังคับทรัพย์สินทั้งหมดพร้อมกันเช่นนี้ ต้องแบ่งภาระแห่งหนี้นั้นกระจายไปตามจำนวนเงินจำนองที่ระบุไว้เฉพาะทรัพย์สิ่งนั้นๆ ซึ่งผลก็คือ หากขายทอดตลาดทรัพย์สิ่งใดได้เงินเกินกว่าจำนวนที่ระบุในสัญญาจำนอง ก็ต้องคืนส่วนที่เกินให้ผู้จำนองไป และทรัพย์สิ่งใดขายได้ไม่คุ้มจำนวนที่ระบุในสัญญาจำนองส่วนที่ขาดก็เป็นอันพับไป จะเอาหนี้จำนองแต่ละรายมารวมกันตั้งเป็นเกณฑ์คำนวณมิได้

2. การตีความเอกสารนั้น ถ้าปรากฎว่ามีเอกสารหลายฉบับ ในการตีความจะต้องพิจารณาสัญญาอันเป็นเอกสารนั้นทุกฉบับ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 37/2484)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 37/2484

                 ทำสัญญาซื้อขายที่ดินและชำระราคาไปบ้างแล้วต่อมาคู่สัญญาตกลงยืดเวลาชำระราคา โดยผู้ซื้อยอมชำระดอกเบี้ยในเงินราคาที่ค้างชำระ ภายหลังผู้ซื้อใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ผู้ขายต้องคืนเงินราคาที่ผู้ซื้อชำระพร้อมทั้งดอกเบี้ยและต้องคืนดอกเบี้ยที่ผู้ซื้อชำระไปด้วย

3. การตีความเอกสารจะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วยตามมาตรา 368 (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1254/2531)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1254/2531

              ในกรณีที่ผู้เอาประกันชีวิตได้ยื่นใบสมัครหรือทำคำเสนอเพื่อทำประกันชีวิตกับตัวแทนของผู้รับประกันชีวิตนั้น จะต้องนำเอาบทบัญญัติพระราชบัญญัติประกันชีวิตมาประกอบการวินิจฉัยคดีด้วย ซึ่งหากไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้รับประกันชีวิตมอบอำนาจ เป็นหนังสือให้ตัวแทนของผู้รับประกันชีวิตทำสัญญาประกันชีวิตได้ในนามของผู้รับประกันชีวิตดังที่พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2510มาตรา 61 บัญญัติไว้ถือได้ว่าตัวแทนของผู้รับประกันชีวิตมีอำนาจเพียงรับแบบฟอร์มใบสมัครขอประกันชีวิตและรับเบี้ยประกันล่วงหน้าส่งไปให้ผู้รับประกันชีวิตพิจารณาก่อนเท่านั้น และต้องมีการสนองรับคำเสนอจากผู้รับประกันชีวิตโดยตรง สัญญาประกันชีวิตจึงเกิดขึ้น.

4. ในการพิจารณาหาเจตนาแท้จริงของคู่กรณีในเอกสารนั้นอาจหาได้จากพฤติการณ์ที่คู่กรณีได้มีการปฏิบัติต่อกันและกันได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2810/2531)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2810/2531

              บันทึกข้อตกลงมีข้อความว่า ผู้เอาประกันภัยรถยนต์ตกลงชดใช้ค่าทดแทนค่าเสียหายให้กับฝ่ายผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้ตายและผู้บาดเจ็บโดยผู้เสียหายรับเงินแล้วไม่ประสงค์จะฟ้องร้องต่อไปอีก เป็นการตกลงชดใช้ค่าเสียหายอันเนื่องจากการบาดเจ็บและตายเท่านั้น ไม่รวมถึงความเสียหายอันเกิดกับรถยนต์อีกส่วนหนึ่งต่างหาก เมื่อผู้รับประกันภัยชดใช้ค่าเสียหายแก่เจ้าของรถยนต์แล้วย่อมเข้ารับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยได้ เงื่อนไขความรับผิดตามสัญญาประกันภัยซึ่งกำหนดให้ผู้ขับขี่รถยนต์ที่เอาประกันภัยต้องเคยได้รับใบอนุญาตขับขี่รถยนต์และเป็นหน้าที่ของผู้เอาประกันภัยที่จะต้องนำหลักฐานนั้นมาแสดงต่อผู้รับประกันภัยมิฉะนั้นผู้รับประกันภัยอาจจะไม่รับผิดชอบชดใช้ค่าทดแทนนั้น มิได้ระบุชัดแจ้งว่าให้ผู้รับประกันภัยหลุดพ้นจากความรับผิดตามสัญญา การผิดเงื่อนไขหรือไม่เพียงใดเป็นเรื่องที่ผู้รับประกันภัยจะว่ากล่าวเอากับผู้เอาประกันภัยคู่สัญญา จะยกเหตุแห่งการผิดเงื่อนไขดังกล่าวเพื่อปฏิเสธความรับผิดต่อบุคคลภายนอกผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยหาได้ไม่

5. ในกรณีที่คู่กรณีตกลงกันโดยวาจาไว้อย่างหนึ่งแต่เมื่อทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรกลับแตกต่างจากที่ตกลงกันด้วยวาจานั้น (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 57/2500)
6. ถ้าปรากฎว่าข้อความในเอกสารนั้นไม่ชัดเจนขัดแย้งกันหรือมีกรณีเป็นที่สงสัยไม่อาจที่จะหาเจตนาอันแท้จริงของคู่กรณีนั้น ศาลอาจรับฟังข้อเท็จจริงอย่างอื่น เช่น การนำพยานบุคคลมาสืบประกอบการตีความเจตนาของคู่กรณีได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 89/2510)

 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก