ดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ | ดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่

ดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่

  • Defalut Image

ดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ ต้องบรรยายฟ้องว่า เจ้าหน้าที่มีเจตนาพิเศษเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดจึงจะครบองค์ประกอบความผิด

บทความวันที่ 24 ก.ย. 2563, 10:01

มีผู้อ่านทั้งหมด 788 ครั้ง


 ดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ ต้องบรรยายฟ้องว่า เจ้าหน้าที่มีเจตนาพิเศษเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดจึงจะครบองค์ประกอบความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2486/2558
             ป.อ. มาตรา 157 บัญญัติว่า "ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด..." อันถือว่าเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานนี้ โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 4 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจตำแหน่งพนักงานสอบสวน มีหน้าที่สืบสวนจับกุมผู้กระทำความผิดตามกฎหมาย ได้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ กล่าวคือ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2546 โจทก์แจ้งความว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ทำร้ายร่างกายโจทก์จนได้รับอันตรายสาหัส และลักทรัพย์ 450 บาทไป จำเลยที่ 4 หารับคำร้องทุกข์ของโจทก์ไม่ เท่านั้น โจทก์ไม่ได้บรรยายให้เห็นว่าจำเลยที่ 4 กระทำไปโดยมีเจตนาพิเศษเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด คำฟ้องของโจทก์จึงขาดองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก