โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษฐานลักทรัพย์ ศาลไต่สวนมูลฟ้องคดีโจทก์มีมูลในความผิดยักยอกได้|โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษฐานลักทรัพย์ ศาลไต่สวนมูลฟ้องคดีโจทก์มีมูลในความผิดยักยอกได้

โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษฐานลักทรัพย์ ศาลไต่สวนมูลฟ้องคดีโจทก์มีมูลในความผิดยักยอกได้

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษฐานลักทรัพย์ ศาลไต่สวนมูลฟ้องคดีโจทก์มีมูลในความผิดยักยอกได้

  • Defalut Image

แม้เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ได้กล่าวมาในฟ้อง แต่ข้อแตกต่างระหว่างการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์

บทความวันที่ 27 มี.ค. 2563, 09:59

มีผู้อ่านทั้งหมด 1445 ครั้ง


โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษฐานลักทรัพย์ ศาลไต่สวนมูลฟ้องคดีโจทก์มีมูลในความผิดยักยอกได้

              แม้เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ได้กล่าวมาในฟ้อง แต่ข้อแตกต่างระหว่างการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์กับฐานยักยอกทรัพย์นั้นเป็นเพียงรายละเอียดไม่ใช่ข้อสาระสำคัญและมิให้ถือว่าข้อพิจารณาได้ความนั้นเป็นเรื่องเกินคำขอ

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
    มาตรา 192 
ห้ามมิให้พิพากษา หรือสั่ง เกินคำขอ หรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง
    ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง ให้ศาลยกฟ้องคดีนั้น เว้นแต่ข้อแตกต่างนั้นมิใช่ในข้อสาระสำคัญและทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลจะลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นก็ได้
    ในกรณีที่ข้อแตกต่างนั้นเป็นเพียงรายละเอียด เช่น เกี่ยวกับเวลาหรือสถานที่กระทำความผิดหรือต่างกันระหว่างการกระทำผิดฐานลักทรัพย์ กรรโชก รีดเอาทรัพย์ ฉ้อโกง โกงเจ้าหนี้ ยักยอก รับของโจร และทำให้เสียทรัพย์ หรือต่างกันระหว่างการกระทำผิดโดยเจตนากับประมาท มิให้ถือว่าต่างกันในข้อสาระสำคัญ ทั้งมิให้ถือว่าข้อที่พิจารณาได้ความนั้นเป็นเรื่องเกินคำขอหรือเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ เว้นแต่จะปรากฏแก่ศาลว่าการที่ฟ้องผิดไปเป็นเหตุให้จำเลยหลงต่อสู้ แต่ทั้งนี้ศาลจะลงโทษจำเลยเกินอัตราโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดที่โจทก์ฟ้องไม่ได้
    ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงบางข้อดังกล่าวในฟ้อง และตามที่ปรากฏในทางพิจารณาไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ ห้ามมิให้ศาลลงโทษจำเลยในข้อเท็จจริงนั้น ๆ
    ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงตามฟ้องนั้นโจทก์สืบสม แต่โจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิด ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้
    ถ้าความผิดตามที่ฟ้องนั้นรวมการกระทำหลายอย่าง แต่ละอย่างอาจเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง ศาลจะลงโทษจำเลยในการกระทำผิดอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่พิจารณาได้ความก็ได้ มิให้ถือว่าข้อพิจารณาได้ความนั้นเป็นเรื่องเกินคำขอ

คำพิพากษาฎีกาที่ 13246/2555
    โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษฐานลักทรัพย์ ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว ฟังว่าจำเลยเอาทรัพย์สินของโจทก์ขณะที่อยู่ในความครอบครองของตนไป โดยทุจริตจึงมีมูลความผิดฐานยักยอก แม้เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ได้กล่าวมาในฟ้อง แต่ข้อแตกต่างระหว่างการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์กับฐานยักยอกทรัพย์นั้นเป็นเพียงรายละเอียดซึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 4 มิให้ถือว่าต่างกันในข้อสาระสำคัญ ทั้งมิให้ถือว่าข้อพิจารณาได้ความนั้นเป็นเรื่องเกินคำขอหรือเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ การที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีโจทก์มีมูลในความผิดฐานยักยอกจึงชอบแล้ว
    ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ทราบเรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดแล้วฟ้องคดีเกินกว่าสามเดือน ความผิดยักยอกจึงขาดอายุความ โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์รู้ถึงการกระทำความผิดและตัวผู้กระทำความผิดในวันที่ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งผู้แทนเฉพาะคดีของโจทก์ เมื่อผู้แทนเฉพาะคดียื่นฟ้องจำเลยในวันดังกล่าว คดีจึงไม่ขาดอายลุความ ในการวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวศาลอุทธรณ์จำต้องย้อนไปวินิจฉัยว่า โจทก์รู้ถึงการกระทำความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดเมื่อใด จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมายที่โจทก์อ้าง เมื่อคดีโจทก์ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 22 ที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของโจทก์ในความผิดฐานยักยอกจึงเป็นการไม่ชอบ

ที่มา : หนังสือรวมคำบรรยายภาค 2 สมัยที่ 72 ปี พ.ศ.2562 เล่ม 14

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก