ไฟไหม้ร้านรับซื้อของเก่า ใครต้องรับผิดชอบ|ไฟไหม้ร้านรับซื้อของเก่า ใครต้องรับผิดชอบ

ไฟไหม้ร้านรับซื้อของเก่า ใครต้องรับผิดชอบ

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ไฟไหม้ร้านรับซื้อของเก่า ใครต้องรับผิดชอบ

  • Defalut Image

จากข่าวกรณีร้านรับซื้อของเก่าเกิดไฟไหม้ ซึ่งมีเนื้อที่100ตารางวา ภายในมีเพิงพักปลูกสร้างด้วยไม้สูง 1 ชั้น

บทความวันที่ 14 ก.พ. 2563, 10:11

มีผู้อ่านทั้งหมด 1186 ครั้ง


ไฟไหม้ร้านรับซื้อของเก่า  ใครต้องรับผิดชอบ

             จากข่าวกรณีร้านรับซื้อของเก่าเกิดไฟไหม้ ซึ่งมีเนื้อที่100ตารางวา ภายในมีเพิงพักปลูกสร้างด้วยไม้สูง 1 ชั้น พบแสงเพลิงโหมลุกไหม้อย่างรุนแรง ประกอบกับมีวัสดุและเฟอร์นิเจอร์เก่า กระดาษ พลาสติก ที่วางกระจัดกระจายทั่วบริเวณทำให้เป็นเชื้อเพลิงอย่างดี ใครต้องรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้น สามารถศึกษาข้อกฎหมายและคำพิพากษาศาลฎีกาได้ดังนี้
(ที่มา https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news)

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 420 
ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น

มาตรา 437  บุคคลใดครอบครองหรือควบคุมดูแลยานพาหนะอย่างใด ๆ อันเดินด้วยกำลังเครื่องจักรกล บุคคลนั้นจะต้องรับผิดชอบเพื่อการเสียหายอันเกิดแต่ยานพาหนะนั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการเสียหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัย หรือเกิดเพราะความผิดของผู้ต้องเสียหายนั้นเอง
ความข้อนี้ให้ใช้บังคับได้ตลอดถึงบุคคลผู้มีไว้ในครอบครองของตน ซึ่งทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายได้โดยสภาพ หรือโดยความมุ่งหมายที่จะใช้ หรือโดยอาการกลไกของทรัพย์นั้นด้วย

คำพิพากษาฎีกาที่  467/2557
              ตามวันเวลาเกิดเหตุในฟ้องเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจร ที่เต้ารับอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในร้านค้าของจำเลยทั้งสอง โดยจำเลยที่ 2 เช่าจากบริษัท ก. จำกัด ทำให้เกิดเพลิงไหม้ร้านค้าของจำเลยทั้งสองแล้วลุกลามไปไหม้ร้าน อ. ซึ่งเป็นร้านขายดอกไม้ประดิษฐ์จากกระดาษสาและยางพาราของโจทก์และร้านค้าใกล้เคียง ทำให้ทรัพย์สินในร้านค้าของโจทก์ถูกไฟไหม้ได้รับความเสียหาย ผลการตรวจพิสูจน์ปรากฏว่าเหตุเพลิงไหม้เกิดจากการสะสมของความร้อนในเต้ารับอุปกรณ์ไฟฟ้าในร้านของจำเลยทั้งสองจนเกิดความลุกไหม้ หลังเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ถูกฟ้องเป็นคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 618/2555 ของศาลจังหวัดลพบุรี ในความผิดฐานกระทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาทและเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหาย ซึ่งคดีอาญาดังกล่าว ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องและคดีถึงที่สุด
             ในคดีนี้ซึ่งเป็นคดีแพ่งจำเลยทั้งสองยื่นฎีกาว่า ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 618/2555 ของศาลจังหวัดลพบุรีที่จำเลยที่ 1 ในความผิดฐานกระทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาทและเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหาย ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องและคดีถึงที่สุดแล้ว ข้อเท็จจริงจึงรับฟังเป็นยุติว่า เหตุเพลิงไหม้มิได้เกิดจากความประมาทของจำเลยที่ 1 เหตุเพลิงไหม้จึงเกิดแต่เหตุสุดวิสัย
              ตามฎีกาของจำเลยในข้อ 2 ศาลฎีกาเห็นว่า แม้ข้อเท็จจริงในคดีอาญาจะรับฟังเป็นยุติว่าเหตุเพลิงไหม้มิได้เกิดจากความประมาทของจำเลยที่ 1 และคดีนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาซึ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 แต่เมื่อข้อเท็จจริงในคดีนี้รับฟังได้ว่าเหตุเพลิงไหม้เกิดจากกระแสไฟฟ้าลัดวงจรที่เต้ารับอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในร้านค้าที่จำเลยทั้งสองเป็นเจ้าของร้านและเป็นผู้ครอบครองดูแลอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในร้านรวมถึงเต้ารับอุปกรณ์ไฟฟ้าซึ่งมีสายไฟฟ้าต่อเชื่อมและมีกระแสไฟฟ้าเดินอยู่สายไฟฟ้าและเต้ารับอุปกรณ์ไฟฟ้าจึงเป็นทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายได้โดยสภาพ จำเลยทั้งสองเป็นผู้มีทรัพย์ดังกล่าวไว้ในครอบครองจึงต้องรับผิดเพื่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากทรัพย์ดังกล่าว เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือเกิดเพราะความผิดของผู้ต้องเสียหายนั่นเองตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 437 วรรคสอง ซึ่งเป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง ทั้งนี้โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดในคดีส่วนอาญาหรือไม่ ตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 47 วรรคหนึ่ง
             ส่วนจำเลยทั้งสองอ้างว่าเหตุเพลิงไหม้เกิดแต่เหตุสุดวิสัยนั้น จำเลยทั้งสองเป็นผู้มีภาระการพิสูจน์ แต่จำเลยทั้งสองนำสืบแต่เพียงว่าจำเลยทั้งสองได้ตรวจตราดูแลอุปกรณ์ไฟฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างอย่างวิญญูชนพึงกระทำ และจะถอดปลั๊กอุปกรณ์ไฟฟ้าและสับเบรคเก้อลงตัดกระแสไฟฟ้าภายในร้านทุกครั้งที่ปิดร้านหรือออกจากร้าน ขณะเกิดเหตุจำเลยทั้งสองไม่ได้ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าและเหตุเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจรในระบบไฟฟ้า ซึ่งเป็นการนำสืบว่าจำเลยทั้งสองใช้ความระมัดระวังดูแลและบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างดีและมิได้ประมาทเลินเล่อแต่ไม่ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าการที่เต้ารับอุปกรณ์ไฟฟ้าเกิดการสะสมความร้อนจนทำให้กระแสไฟฟ้าลัดวงจรและเกิดเพลิงไหม้ เป็นเหตุที่ไม่อาจป้องกันได้อย่างไรจึงฟังไม่ได้ว่าเหตุเพลิงไหม้เกิดแต่เหตุสุดวิสัย จำเลยทั้งสองจึงไม่พ้นความรับผิดแม้จะมิได้ประมาทเลินเล่อก็ตาม

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก