คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 72 ปีการศึกษา 2562 เล่มที่ 1|คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 72 ปีการศึกษา 2562 เล่มที่ 1

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 72 ปีการศึกษา 2562 เล่มที่ 1

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 72 ปีการศึกษา 2562 เล่มที่ 1

  • Defalut Image

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 72 ปีการศึกษา 2562 เล่มที่ 1

บทความวันที่ 11 ธ.ค. 2562, 11:06

มีผู้อ่านทั้งหมด 1749 ครั้ง


คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 72 ปีการศึกษา 2562 เล่มที่ 1

1. อัยการเป็นโจทก์ฟ้อง ความผิดกระทำอนาจาร ต่อมาผู้เสียหายมาร่วมเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหา กระทำชำเราและพรากผู้เยาว์เพื่ออนาจาร ศาลชั้นไต่สวนมูลฟ้องและพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ประทับรับฟ้องความผิดฐานพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจารและกระทำอนาจาร สิทธิในคดีอาญาของพนักงานอัยการย่อมระงับไป
คำพิพากษาฎีกาที่ 7246/2561

    แม้อัยการโจทก์ยื่นฟ้องเกี่ยวกับการกระทำผิดของจำเลยก่อนที่ น.และผู้เสียหายจะยื่นฟ้องจำเลยเกี่ยวกับการกระทำคราวเดียวกันก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ววินิจฉัยว่าคดีไม่มีมูลพิพากษายกฟ้องเกี่ยวกับการกระทำของจำเลยดังกล่าวในคดีที่ น.และผู้เสียหายฟ้องจำเลย เท่ากับศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยในประเด็นแห่งความผิดแล้ว ถือได้ว่ามีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งโจทก์ได้ฟ้อง โดยมิพักต้องคำนึงว่าคดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาก่อนนี้เป็นคดีที่ได้ฟ้องก่อนหรือหลังคดีนี้และคำพิพากษาในคดีที่ศาลได้มีคำพิพากษานี้ถึงที่สุดแล้วหรือไม่ เพราะกฎหมายประสงค์ให้การกระทำความผิดคราวเดียวกันสามารถฟ้องร้องว่ากล่าวกันได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น ดังนั้น แม้ภายหลังศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษากลับ ให้ประทับฟ้องของ น.และผู้เสียหายสำหรับการกระทำดังกล่าว ก็หาทำให้ฟ้องโจทก์ในส่วนนี้กลับกลายเป็นฟ้องที่ยังมิได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดไม่ เมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดตามฟ้องโจทก์แล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องเกี่ยวกับการกระทำในคราวเดียวกันนี้ของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39(4)

2. คดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาอันเป็นการแก้ไขมาก และโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 2 ปี โจทก์จะฎีกาให้ไม่รอการลงโทษจำเลยมิได้ ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาฎีกาที่ 8395/2561

    ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลยทั้งสองคนละ 1ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ลงโทษปรับจำเลยทั้งสองคนละ 9,000 บาท อีกสถานหนึ่ง โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี แม้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 จะรอการลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสอง อันเป็นการแก้ไขมาก แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7  พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองไม่เกิน 2 ปี ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 ที่โจทก์ฎีกาขอให้ไม่รอการลงโทษจำเลยทั้งสอง เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษอันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว

3. จำเลยที่ 1 ให้สินบนแก่เจ้าพนักงาน เพื่อให้ปล่อยจำเลยที่ 2 และที่ 3 เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ให้สินบน ศาลย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ได้ เพราะไม่ว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จะร่วมกันหรือกระทำเพียงลำพัง จำเลยแต่ละคนก็ย่อมถูกลงโทษ
คำพิพากษาฎีกาที่ 8623/2561

    จำเลยที่ 1 เป็นผู้นำเงินสินบนมามอบให้แก่เจ้าพนักงานตำรวจเพื่อจูงใจให้เจ้าพนักงานตำรวจกระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่ด้วยการปล่อยตัวจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้พ้นจากการจับกุม เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 กระทำความผิดแยกได้ต่างหากจากการกระทำความผิดของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ต่างไปจากคำฟ้องที่ว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ร่วมกันให้สินบนแก่เจ้าพนักงานก็ตาม แต่ก็เป็นข้อเท็จจริงที่รับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดฐานให้สินบนแก่เจ้าพนักงานแล้ว เพราะในการกระทำนั้นไม่ว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จะร่วมกันกระทำหรือต่างกระทำความผิดเพียงลำพัง จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 แต่ละคนก็ย่อมถูกลงโทษ เป็นแต่จะลงโทษได้เต็มคำขอของโจทก์หรือไม่เท่านั้น ข้อเท็จจริงตามคำฟ้องที่แตกต่างจากข้อเท็จจริงในทางพิจารณาดังกล่าวมิใช่ข้อสาระสำคัญ และจำเลยที่ 1 มิได้หลงต่อสู้ ศาลย่อมรับฟังลงโทษจำเลยที่ 1 ได้ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความในทางพิจารณานั้น ตามนัยแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง

4. ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ ไปแล้วโจทก์ก็สามารถมาฟ้องในความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นได้อีก
คำพิพากษาฎีกาที่ 2594/2562

    ความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น ตาม ป.อ. มาตรา 288ประกอบมาตรา 80 กับความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะ โดยไม่มีเหตุสมควรและโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้ไฟ และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 เป็นความผิดคนละประเภทกันและเป็นความผิดสำเร็จในตัวต่างกันโดยอาศัยเจตนาแตกต่างแยกจากกันได้ นอกจากนี้ยังเป็นความผิดต่อกฎหมายคนละฉบับ ซึ่งมีองค์ประกอบแห่งความผิดแตกต่างกันและเป็นความผิดสำเร็จอยู่ในตัวทั้งเจตนาในการกระทำความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวก่อให้เกิดผลที่แตกต่างกันสามารถแยกเจตนาในการกระทำความผิดออกจากกันได้ ดังนั้นแม้จำเลยกระทำความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวโดยเจตนาเพื่อฆ่าผู้อื่นก็ตาม  การกระทำของจำเลยเป็นคนละกรรมกัน ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตาม ป.อ. มาตรา 91 กรณีจึงไม่ใช่เป็นการกระทำกรรมเดียวกัน แล้วโจทก์นำการกระทำกรรมเดียวกันนั้นมาแยกฟ้องเป็น 2 คดี โจทก์ย่อมมีอำนาจแยกฟ้องเป็นคนละคดีได้ เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยและศาลมีคำพิพากษา ลงโทษพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ไปแล้ว คดีย่อมเสร็จเด็ดขาดไปเฉพาะกระทงความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ เท่านั้น ส่วนกระทงความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น ยังหาได้มีการวินิจฉัยในเนื้อหาความผิดแต่อย่างใด จะถือว่าได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็จขาดในความผิดฐานนี้ไปแล้วหาได้ไม่ โจทก์จึงฟ้องจำเลยในความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น เป็นคดีนี้ได้อีก ไม่เป็นฟ้องซ้ำ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39(4)

5. การรับฟังพยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยชอบ แต่ได้มาเนื่องจากการกระทำโดยมิชอบ และห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน
คำพิพากษาฎีกาที่ 8569/2561

    จำเลยทั้งสามให้การไว้ในบันทึกการตรวจค้น/จับกุมรับว่าเป็นผู้ดูแลและเฝ้าของกลางเมทแอมเฟตามีนโดยได้รับค่าจ้างรายวันและยาเสพติดอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 84 วรรคสี่ ประกอบพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 3 ถ้อยคำนี้ถือว่าเป็นถ้อยคำอื่นที่รับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของจำเลยทั้งสามได้ เมื่อได้มีการแจ้งสิทธิตามวรรคหนึ่ง และตาม ป.วิ.อ. มาตรา 83 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 3 ซึ่งปรากฏในบันทึกการตรวจค้นจับกุมว่าได้มีการแจ้งสิทธิดังกล่าวแก่จำเลยทั้งสามแล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามพยานหลักฐานของโจทก์ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 1ครอบครองเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้เพื่อจำหน่ายตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ กรณีมิใช่การรับฟังพยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยชอบแต่ได้มาเนื่องจากการกระทำโดยมิชอบ หรือเป็นพยานหลักฐานที่ได้มาโดยอาศัยข้อมูลที่เกิดขึ้นหรือได้มาโดยมิชอบ และห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226/1

ที่มา : คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 72 ปีการศึกษา 2562 เล่มที่ 1

 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก