ลูกความตายทนายความยังว่าความต่อไปได้|ลูกความตายทนายความยังว่าความต่อไปได้

ลูกความตายทนายความยังว่าความต่อไปได้

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ลูกความตายทนายความยังว่าความต่อไปได้

  • Defalut Image

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8404/2556

บทความวันที่ 4 พ.ย. 2562, 16:31

มีผู้อ่านทั้งหมด 500 ครั้ง


ลูกความตายทนายความยังว่าความต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8404/2556
          การที่คู่ความแต่งตั้งทนายความให้ว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนตนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 60 เป็นการตั้งตัวแทนตาม ป.พ.พ. บรรพ 3 ลักษณะ 15 ว่าด้วยตัวแทน เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงแก่กรรม ทนายจำเลยที่ 1 ยังมีอำนาจและหน้าที่จัดการดำเนินคดีเพื่อปกปักรักษาประโยชน์ของจำเลยที่ 1 ต่อไปจนกว่าทายาทหรือผู้แทนของจำเลยที่ 1 จะอาจเข้ามาปกปักรักษาผลประโยชน์ของจำเลยที่ 1 โดยการเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 1 ผู้มรณะตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42
            จำเลยที่ 1 ถึงแก่กรรมตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2550 ขณะคดียังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ทายาทหรือผู้จัดการมรดกหรือผู้ปกครองทรัพย์มรดกของจำเลยที่ 1 ผู้มรณะซึ่งอาจร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะเพื่อปกปักรักษาประโยชน์ในการดำเนินคดีของจำเลยที่ 1 ได้ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 มรณะตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42 แต่ไม่มีการร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 1 ตามบทบัญญัติดังกล่าว จนศาลฎีกามีคำสั่งจำหน่ายคดี โดยอ่านคำสั่งให้ทนายจำเลยทั้งสองฟังเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2553 และคดีถึงที่สุดไปแล้ว จึงถือได้ว่าเป็นการล่วงพ้นระยะเวลาที่ตัวแทนหรือทนายจำเลยที่ 1 จะจัดการตาม ป.พ.พ. มาตรา 828 ทนายจำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจดำเนินคดีแทนจำเลยที่ 1 ต่อไป

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก