คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 71 ปีการศึกษา 2561 เล่มที่ 16|คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 71 ปีการศึกษา 2561 เล่มที่ 16

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 71 ปีการศึกษา 2561 เล่มที่ 16

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 71 ปีการศึกษา 2561 เล่มที่ 16

  • Defalut Image

1.หนังสือมอบอำนาจทั่วไป ไม่สามารถนำมาใช้มอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทนได้ 

บทความวันที่ 8 ต.ค. 2562, 09:34

มีผู้อ่านทั้งหมด 1934 ครั้ง


คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 71 ปีการศึกษา 2561 เล่มที่ 16


1.หนังสือมอบอำนาจทั่วไป ไม่สามารถนำมาใช้มอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทนได้ 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2359/2561

           คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องและนำสืบว่า โจทก์มอบอำนาจให้ บ. ฟ้องและดำเนินคดีแทนโจทก์ ตามหนังสือมอบอำนาจ หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวระบุข้อความในการมอบอำนาจแต่เพียงว่า บ. มีสิทธิในการลงนามเอกสารดำเนินการทั้งหมดของบริษัทสาขาทั้งภายในและภายนอก อันมีลักษณะเป็นการมอบอำนาจโดยไม่ระบุกิจการ โดยมิได้ระบุให้ บ. มีอำนาจยื่นฟ้องต่อศาล จึงเป็นหนังสือมอบอำนาจทั่วไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 801 วรรคหนึ่ง แม้โจทก์จะมี บ. มาเบิกความยืนยันว่าตามหนังสือมอบอำนาจ พยานมีสิทธิดำเนินคดีนี้แทนโจทก์ เป็นการนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขพยานเอกสาร ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข) ข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ บ. ฟ้องคดีนี้แทนโจทก์โดยชอบ

2. ความผิดฐานใช้เอกสารปลอม ผิดสำเร็จทันทีที่ใช้เอกสารปลอมนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 833/2561

          ความผิดฐานใช้หรืออ้างเอกสารปลอม เป็นความผิดสำเร็จเมื่อยื่นเอกสารต่อเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ รับเรื่อง ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ยื่นเอกสารราชการปลอมตามฟ้องต่อเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ตรวจเอกสารเพื่อยื่นซองประกวดราคาจึงเป็นความผิดสำเร็จแล้ว

3.ฎีกาต้องโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ หากโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1661/2561

          ฎีกาของจำเลยที่ว่า จำเลยไม่เห็นพ้องด้วยกับศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่อยู่ของจำเลยมีน้ำหนักน้อย  เพราะหากพิจารณาพยานหลักฐานประกอบเข้าด้วยกันแล้ว เชื่อได้ว่าจำเลยไม่ได้อยู่ในที่เกิดเหตุและไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้องเป็นฎีกาโต้แย้งเฉพาะคำพิพากษาศาลชั้่นต้น  มิได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 ว่าพิพากษาไม่ถูกต้องอย่างไร เป็นฎีกาที่มิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 เป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216 วรรคหนึ่ง แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและสั่งรับฎีกาของจำเลยในข้อนี้มา  ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

4.จำนวนของจำเลยที่กระทำความผิดตามฟ้อง กับจำนวนของจำเลยที่ได้ความตามทางพิจารณาแตกต่างกัน เป็นเพียงรายละเอียด ถ้าจำเลยไม่หลงต่อสู้ ศาลลงโทษจำเลยตามที่พิจารณาได้ความได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6294/2560

           โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยแต่เพียงผู้เดียวฆ่าผู้ตายโดยเจตนา ทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยร่วมกับพวกฆ่าผู้ตายโดยเจตนา  ดังนี้ เป็นเพียงข้อแตกต่างในรายละเอียด ทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลลงโทษจำเลยฐานเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสอง  ประกอบมาตรา 215 และ 225

5.คู่ความสามารถตกลงกันให้นำคำเบิกความพยานในชั้นไต่สวนคำร้องขอให้รื้อฟื้นคดีอาญา มาใช้ในชั้นพิจารณาการขอรื้อฟื้นคดีอาญาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่  7614/2560

           ก่อนเริ่มพิจารณาคำร้องขอให้รื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ ผู้ร้องแถลงขอให้ถือเอาบันทึกคำเบิกความของ ส.จ.ท.บ.และ ร. พยานในชั้นไต่สวนคำร้องขอให้รื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่เป็นคำเบิกความในชั้นพิจารณาด้วย  ศาลชั้นต้นสอบผู้คัดค้านแล้ว  ผู้คัดค้านแถลงไม่ค้าน  พอแปลได้ว่าเป็นกรณีที่คู่ความตกลงได้ว่าเป็นกรณีที่คู่ความตกลงกันและศาลชั้นต้นอนุญาตให้ถือเอาบันทึกคำเบิกความพยานในชั้นไต่สวนคำร้องเป็นคำเบิกความพยานในชั้นพิจารณา  ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา  มาตรา 237 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ.2526 มาตรา 16 

6. ผู้เสียหายไม่ยอมมาเบิกความต่อศาล ศาลสามารถรับฟังคำให้การชั้นสอบสวน และพยานอื่นในชั้นสอบสวนที่เป็นเพียงพยานบอกเล่าเพื่อลงโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 80/2561

             แม้ในชั้นพิจารณาโจทก์ไม่ได้ผู้เสียหายมาเบิกความเป็นพยาน คงมีบันทึกคำให้การของผู้เสียหายในชั้นสอบสวน และภาพถ่ายการชี้ที่เกิดเหตุของผู้เสียหาย อันเป็นเพียงพยานบอกเล่า ซึ่งในการวินิจฉัยพยานบอกเล่าที่จำเลยไม่มีโอกาสถามค้าน ศาลจะต้องกระทำด้วยความระมัดระวังก็ตาม แต่ปรากฏข้อเท็จจริงตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นว่า ผู้เสียหายมาศาลและเบิกความเป็นพยานโจทก์ประมาณ 10 นาที ผู้เสียหายแถลงว่าจดจำข้อเท็จจริงและเรื่องราวที่ผ่านมาไม่ได้เนื่องจากเพิ่งคลอดบุตร ทั้งสองฝ่ายแถลงขอเลื่อนไปสืบพยานปากผู้เสียหายในนัดหน้า ศาลชั้นต้นอนุญาต ครั้นถึงวันนัดผู้เสียหายไม่มาศาล ศาลชั้นต้นออกหมายจับผู้เสียหายเพื่อนำตัวมาเป็นพยานหลายนัด แต่ไม่ได้ตัวมา พฤติการณ์ในการหลบหนีและไม่มาเบิกความในชั้นพิจารณาของผู้เสียหาย ถือได้ว่าเป็นกรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษแห่งคดี ศาลย่อมรับฟังคำให้การของผู้เสียหายในชั้นสอบสวนซึ่งเป็นพยานบอกเล่าเพื่อลงโทษจำเลยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227/1 วรรคหนึ่ง และถือได้ว่ามีเหตุอันสมควรที่จะรับฟังคำเบิกความของผู้เสียหายที่เบิกความในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1101 - 1102/2546 และ 1420/2549 ของศาลชั้นต้น ที่พวกของจำเลยถูกฟ้องในการกระทำความผิดเดียวกันนี้ประกอบพยานหลักฐานอื่นในคดีได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226/5

7. คดีที่มีคู่ความหลายคน เฉพาะแต่คู่ความที่อุทธรณ์คำพิพากษาเท่านั้น ที่มีสิทธิฎีกาคำพิพากษาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 722/2561

           ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งสอง โจทก์ที่ 1 อุทธรณ์ ส่วนโจทก์ที่ 2 ไม่ได้อุทธรณ์ คดีสำหรับโจทก์ที่ 2 จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ที่ 2 ไม่อาจฎีกาคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ได้ ที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของโจทก์ที่ 2 มา ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
           โจทก์ที่ 1 กล่าวอ้างว่าพินัยกรรมเกิดขึ้นโดยกลฉ้อฉล อาศัยความชราและสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์ของผู้ตาย ไม่มีผลบังคับตามกฎหมายเป็นโมฆะ ภาระการพิสูจน์ตกแก่โจทก์ที่ 1 ผู้กล่าวอ้าง
ผู้ตายได้ลงลายพิมพ์นิ้วมือต่อหน้าพยาน ผู้พิมพ์ ผู้เขียน ครบถ้วนตามที่กฎหมายบัญญัติ พินัยกรรมจึงมีผลบังคับตามกฎหมาย

8. จำเลยไม่ให้การต่อสู้ว่าไม่ได้ทำสัญญาซื้อขาย และไม่ได้รับสินค้าตามฟ้อง แต่ยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ว่าจำเลยไม่มีหนี้ค้างชำระกับโจทก์ ภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงที่จำเลยยกขึ้นใหม่ว่าไม่มีหนี้ค้าง
ชำระตกแก่จำเลย 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4223/2561

โจทก์บรรยายฟ้องกล่าวอ้างวันเวลาที่โจทก์และจำเลยทั้งสองตกลงทำสัญญาซื้อขาย  จำนวน และราคาสินค้าต่อหน่วย  โดยโจทก์ส่งมอบและจำเลยที่ 1 ได้รับมอบสินค้าถูกต้องครบถ้วนแล้ว  แต่จำเลยที่ 1 ชำระค่าสินค้าแก่โจทก์เพียงบางส่วนพร้อมกับแนบเอกสารใบรับรองการรมควันยา  รายการบรรจุหีบห่อ ใบกำกับสินค้าและใบตราส่งมาท้ายคำฟ้องซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องด้วย  จำเลยทั้งสองมิได้ให้การปฏิเสธว่าไม่ได้ซื้อสินค้าจากโจทก์ในจำนวนและราคาตามฟ้องหรือไม่ได้รับสินค้าหรือได้รับสินค้าไม่ครบถ้วน คงให้การต่อสู้แต่เพียงว่าจำเลยทั้งสองไม่มีหนี้ค้างชำระค่าสินค้าแก่โจทก์ตามฟ้อง  และอ้างรายละเอียดในทางปฏิบัติที่ผ่านมาเกี่ยวกับการขนส่งและวิธีการชำระเงินค่าสินค้าระหว่างกันว่า จำเลยทั้งสองจะใช้วิธีการโอนเงินผ่านทางธนาคารในแต่ละครั้งที่ได้รับสินค้าที่โจทก์ส่งมา หากจำเลยทั้งสองยังคงมีหนี้ค้างชำระโจทก์ตามฟ้องโจทก์คงไม่ขายและส่งสินค้าให้แก่จำเลยทั้งสองรอบต่อมาอย่างแน่นอน  เมื่อตามคำให้การของจำเลยทั้งสองต่อสู้เพียงว่าจำเลยทั้งสองไม่มีหนี้ค้างชำระแก่โจทก์จึงต้องถือว่าจำเลยทั้งสองยอมรับตามข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าจำเลยที่ 1 สั่งซื้อและได้รับมอบสินค้าครบถ้วนตามจำนวนและราคาที่โจทก์บรรยายมาในคำฟ้องแล้ว คดีไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าโจทก์ส่งมอบสินค้าและจำเลยที่ 1 ได้รับมอบสินค้าครบถ้วนตามจำนวนที่โจทก์กล่าวอ้างหรือไม่
          สัญญาซื้อขายเป็นสัญญาต่างตอบแทนเมื่อจำเลยที่ 1 ผู้ซื้อได้รับมอบสินค้าที่ตนได้ซื้อไว้แล้วก็ต้องใช้ราคาตามข้อสัญญาซื้อขายแก่โจทก์ผู้ขาย โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยที่ 1 ค้างชำระค่าสินค้าที่ได้รับจากโจทก์  แต่จำเลยที่ 1 ชำระค่าสินค้าให้แก่โจทก์เพียงบางส่วน การที่จำเลยทั้งสองอ้างว่าไม่มีหนี้ค้างชำระแก่โจทก์ตามฟ้อง  จำเลยทั้งสองจึงมีภาระการพิสูจน์ให้ได้ความตามข้ออ้าง

ที่มา : หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 71 ปีการศึกษา 2561 เล่มที่ 16
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก