คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 71 ปีการศึกษา 2561 เล่มที่ 14|คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 71 ปีการศึกษา 2561 เล่มที่ 14

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 71 ปีการศึกษา 2561 เล่มที่ 14

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 71 ปีการศึกษา 2561 เล่มที่ 14

  • Defalut Image

1.ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ทายาทเข้าเป็นคู่ความแทนที่และสั่งรับอุทธรณ์ที่ยื่นมาหลังจากนั้น

บทความวันที่ 4 ต.ค. 2562, 13:49

มีผู้อ่านทั้งหมด 2574 ครั้ง


คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 71 ปีการศึกษา 2561 เล่มที่ 14

1.ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ทายาทเข้าเป็นคู่ความแทนที่และสั่งรับอุทธรณ์ที่ยื่นมาหลังจากนั้น  มิใช่เป็นอุทธรณ์ที่ยื่นเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย 
คำพิพากษาฎีกาที่ 2819/2561 

              ส.ยื่นคำร้องขอเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ผู้มรณะขณะที่ยังไม่พ้นระยะเวลาที่โจทก์จะยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับคำร้องแล้วจะต้องไต่สวนคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนและมีคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42 และ 43 เสียก่อน แล้วจึงจะมีคำสั่งเกี่ยวกับเรื่องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ที่ยื่นมาพร้อมกับคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะและที่ยื่นมาในภายหลัง การที่ศาลชั้นต้นสั่งคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ว่า “สั่งใหม่” ในชั้นนี้เห็นควรอนุญาตไปก่อน” รวมทั้งที่สั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ตามคำร้องที่ยื่นในภายหลังต่อมาก่อนที่จะมีคำสั่งอนุญาตให้ ส.เข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ จึงเป็นการไม่ชอบและเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ ส. เข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ และต่อมาสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ ต้องถือว่าศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้ขยายระเวลาอุทธรณ์เพราะมีพฤติการณ์พิเศษตามคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ที่ยื่นต่อมาในภายหลัง และได้รับอุทธรณ์ของโจทก์ที่ยื่นภายในกำหนดไว้แล้ว มิใช่เป็นอุทธรณ์ที่ยื่นเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย
2.โจทก์ฟ้องให้ชำระหนี้เงินกู้ จำเลยให้การต่อสู้ว่าลายมือชื่อในหนังสือรับสภาพหนี้ปลอม ภาระการพิสูจน์ตกแก่โจทก์
คำพิพากษาฎีกาที่ 2800/2561 

            โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองชดใช้หนี้เงินกู้ให้แก่โจทก์ตามหนังสือสัญญารับสภาพหนี้ จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้กู้เงินโจทก์และไม่เคยทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้ไว้แก่โจทก์ ลายมือชื่อในช่องผู้ผ่อนชำระในหนังสือรับสภาพหนี้มิใช่ลายมือชื่อของจำเลยทั้งสอง แต่เป็นลายมือชื่อปลอม ภาระการพิสูจน์ความถูกต้องแท้จริงแห่งเอกสารหนังสือรับสภาพหนี้ตกแก่โจทก์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 84/1 มิใช่ตกแก่จำเลยที่ 1
3.ฎีกาของจำเลยคัดค้านดุลพินิจของศาลที่ให้เพิกถอนใบอนุญาตขับขี่แต่เพียงอย่างเดียว ต้องห้ามมิให้ฎีกา 
คำสั่งคำร้องของศาลฎีกาที่ ท.839/2561

              คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่ให้เพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ของจำเลย มิใช่เป็นการกำหนดโทษในทางอาญาแก่จำเลย หากแต่เป็นเพียงมาตรการทำนองเดียวกันกับวิธีการเพื่อความปลอดภัย ในอันที่จะคุ้มครองประชาชนมิให้ได้รับอันตรายจากการกระทำของจำเลย ฎีกาของจำเลยที่คัดค้านดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่ให้เพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยแต่เพียงอย่างเดียว จึงต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 ทวิ วรรคหนึ่ง
4.หากศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขังผู้ต้องหาตามคำร้องของพนักงานสอบสวน ผู้ต้องหาไม่มีสิทธิยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น
คำพิพากษาฎีกาที่ 4265/2561 

            ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้ร้อง ผู้ต้องหามีสิทธิยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นหรือไม่ เห็นว่า ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 วรรคห้า บัญญัติว่า “เมื่อได้มีการข้อกล่าวหาแล้ว ถ้าผู้ต้องหาไม่ใช่ผู้ถูกจับและยังไม่ได้มีการออกหมายจับ แต่พนักงานสอบสวนเห็นว่ามีเหตุที่จะออกหมายขังผู้นั้นได้ตามมาตรา 71 พนักงานสอบสวนมีอำนาจสั่งให้ผู้ต้องหา ไปศาลเพื่อออกหมายขังทันที... กรณีเช่นว่านี้ให้นำมาตรา 87 มาใช้บังคับแก่การพิจารณาออกหมายขังโดยอนุโลม...” มาตรา 71 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “เมื่อได้ตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยมาแล้ว ในระยะใดระหว่างสอบสวนไต่สวนมูลฟ้อง หรือพิจารณาศาลจะออกหมายขังผู้ต้องหาหรือจำเลยไว้ตามมาตรา 87 หรือมาตรา 88 ก็ได้ และให้นำบทบัญญัติในมาตรา 66 บัญญัติว่า “เหตุที่จะออกหมายจับได้มีดังต่อไปนี้ (1) เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิดอาญาซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปี” ตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้นให้อำนาจศาลที่จะขังผู้ต้องหาระหว่างสอบสวนหากมีเหตุตามมาตรา 66 ผู้ต้องหาถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 ซึ่งต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินเจ็ดปี จึงเป็นกรณีที่ศาลจะออกหมายขังผู้ต้องหาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 7 ประกอบมาตรา 66 บทบัญญัติดังกล่าวเป็นกระบวนการก่อนฟ้องซึ่งมีวัตถุประสงค์ให้ผู้ต้องหาอยู่ในอำนาจของศาลเพื่อเป็นหลักประกันว่าจะมีตัวจำเลยในการพิจารณาคดีของศาลทั้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 106 บัญญัติให้ผู้ต้องหามีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ปล่อยผู้ต้องหาชั่วคราวได้อยู่แล้ว  แสดงให้เห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายอย่างชัดเจนว่า มีวัตถุประสงค์จะให้กระบวนการยุติธรรมในชั้นฝากขังระหว่างสอบสวนเป็นอำนาจของผู้พิพากษาศาลชั้นต้นและยุติไปในระดับศาลชั้นต้นเท่านั้น ไม่ใช่เรื่องที่กฎหมายมีความประสงค์จะให้ผู้ต้องหายื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งอนุญาตให้ฝากขังได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ด้วยเหตุผลดังวินิจฉัยว่าแล้ว ผู้ต้องหาจึงไม่มีสิทธิยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ฝากขังผู้ต้องหาตามคำร้องของผู้ร้อง ที่ศาลอุทธรณ์ยกอุทธรณ์ของผู้ต้องหาจึงชอบแล้ว ฎีกาผู้ต้องหาฟังไม่ขึ้น”
5.ผู้ต้องหาให้การว่าได้รับยาเสพติดมาจากจำเลย น่าเชื่อว่าจะพบยาเสพติดซึ่งเป็นสิ่งของมีไว้เป็นความผิดจึงเป็นกรณีฉุกเฉิน ตำรวจเข้าค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายค้น 
คำพิพากษาฎีกาที่ 4316/2560 

            วันเกิดเหตุ ช่วงเช้า ร้อยตำรวจโท ส. และร้อยตำรวจตรี ศ. ร่วมกันจับกุม อ. ค. และ ธ.  ในข้อหาเสพเมทแอมเฟตามีนและผู้ต้องหาทั้งสามให้การว่า ได้รับเมทแอมเฟตามีนมาจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเช่าห้องพักอยู่ที่ห้องที่เกิดเหตุ หลังจากประสานกับทางผู้ดูแลรีสอร์ตจนเป็นที่แน่ใจว่าข้อมูลที่ได้จากผู้เสพทั้งสามถูกต้องแล้ว จึงเข้าตรวจค้นห้องพักของจำเลยที่ 1 ทันที ดังนี้ พยานโจทก์ทั้งสองไปตรวจค้นห้องพักดังกล่าวเพราะน่าเชื่อว่าจะพบเมทแอมเฟตามีนซึ่งเป็นสิ่งของที่มีไว้เป็นความผิด ทั้งที่เกิดเหตุเป็นรีสอร์ตซึ่งจำเลยทั้งสองพักชั่วคราว หากเนิ่นช้าไปกว่าได้หมายค้นจำเลยทั้งสองอาจจะนำเมทแอมเฟตามีนออกไปจากรีสอร์ตเมื่อใดก็ได้จึงเป็นกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่ง ทำให้พยานโจทก์ทั้งสองกับพวกซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจเข้าไปค้นห้องพักโดยไม่จำต้องมีหมายค้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 92 (4) และมาตรา 96 (2) ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 3 และเมื่อพยานโจทก์ทั้งสองกับพวกตรวจค้นพบเมทแอมเฟตามีนของกลาง 3 เม็ด ที่จำเลยที่ 2 และค้นพบเมทแอมเฟตามีน 554 เม็ด ภายในห้อง ซึ่งจำเลยที่ 1 ยอมรับว่าเป็นของอันเป็นความผิดซึ่งหน้า พยานโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าพนักงานจึงมีอำนาจจับจำเลยทั้งสองได้ตามอำนาจหน้าที่โดยไม่ต้องมีหมายจับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 78(1), 80 ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 3 การตรวจค้นและจับกุมในกรณีนี้จึงเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมาย

ที่มา : หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 71 ปีการศึกษา 2561 เล่มที่ 14
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก