คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 71 ปีการศึกษา 2561 เล่มที่ 8|คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 71 ปีการศึกษา 2561 เล่มที่ 8

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 71 ปีการศึกษา 2561 เล่มที่ 8

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 71 ปีการศึกษา 2561 เล่มที่ 8

  • Defalut Image

พ่อฟ้องลูก ฐานเนรคุณ เพิกถอนการให้ที่ดินรวม 3 แปลง

บทความวันที่ 20 ก.ย. 2562, 11:23

มีผู้อ่านทั้งหมด 3456 ครั้ง


คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 71 ปีการศึกษา 2561 เล่มที่ 8

1. พ่อฟ้องลูก ฐานเนรคุณ เพิกถอนการให้ที่ดินรวม 3 แปลง เป็นการอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริง ต้องแยกพิจารณาทุนทรัพย์เป็นแปลง ๆ ไป
คำพิพากษาฏีกาที่ 9924/2560

    โจทก์ฟ้องเรียกถอนคืนการให้ที่ดินสามโฉนดจากจำเลยซึ่งเป็นบุตร จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยมิได้พระพฤติเนรคุณต่อโจทก์และที่ดินโฉนดหนึ่งไม่ใช่ที่ดินของโจทก์ แต่เป็นทรัพย์มรดกของมารดาจำเลย จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยกรรมสิทธิ์ในที่ดินเป็นคดีมีทุนทรัพย์ และต้องแยกพิจารณาที่ดินแต่ละแปลงออกต่างหากจากกันว่าโจทก์ฟ้องเรียกถอนคืนการให้ที่ดินแต่ละแปลงเพราะเหตุผู้รับประพฤติเนรคุณได้หรือไม่ ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ ตามประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง จึงต้องแยกคำนวณตามราคาที่ดินพิพาทแต่ละแปลง หาใช่คำนวณรวมกัน
    โจทก์ฟ้องเรียกถอนคืนการให้ที่ดินโฉนดเนื้อที่ 1 ไร่ 3 งาน 63 ตารางวา ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์คืนให้แก่โจทก์เป็นจำนวนเนื้อที่ 3 งาน 63 ตารางวา ไม่เต็มตามฟ้อง จำเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพียงฝ่ายเดียว ทุนทรัพย์ที่พิพาทชั้นอุทธรณ์ในส่วนของที่ดินเท่ากับเนื้อที่ 3 งาน 63 ตารางวาเมื่อที่ดินทั้งแปลงมีราคาประเมิน 72,900 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ของที่ดินเท่ากับ 34,685.43 บาท ไม่เกิน 50,000 บาท ทั้งคดีนี้เป็นคดีเรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยผู้รับประพฤติเนรคุณ มิใช่เป็นคดีเกี่ยวด้วยสิทธิในครอบครัว จึงต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง

2.ก่อนที่จำเลยจะยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโอนไปยังบุคคลภายนอก การที่ศาลชั้นต้นสั่งพิจารณาคดีใหม่และเพิกถอนการโอนที่ดินพิพาท ย่อมกระทบต่อบุคคลภายนอก การที่ศาลพิพากษาโดยไม่เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดีถือว่าเป็นกระบวนพิจารณาผิดระเบียบ 
คำพิพากษาฏีกาที่ 5094/2561

     ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคแรก ได้บัญญัติถึงผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้น คือคู่ความฝ่ายที่เสียหายเนื่องจากการที่มิได้ปฏิบัติเช่นว่านั้น หรืออีกกรณีหนึ่งคือเมื่อศาลเห็นสมควรผู้ร้องเป็นบุคคลภายนอกมิได้เกี่ยวข้องกับคู่ความในคดี จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ แต่อย่างไรก็ดีหากเป็นกรณีที่ศาลเห็นสมควร ศาลก็มีอำนาจเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นได้  
    เดิมศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโดยจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ หลังจากนั้นโจทก์ได้ดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นจนเสร็จสิ้น แล้วมีการขายที่ดินพิพาทให้แก่ ร. และ ร. ขายฝากที่ดินพิพาทให้แก่ บ. และ พ. ก่อนที่จำเลยจะยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการซื้อมาจาก บ. และ พ.  เมื่อได้ความว่าก่อนที่จำเลยจะยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทได้โอนไปเป็นของบุคคลภายนอกแล้ว จึงเป็นการพ้นวิสัยที่จะให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิมดังเช่นก่อนบังคับคดีได้ประกอบกับในขณะนั้นศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำพิพากษา กรณีจึงยังไม่แน่ชัดว่าเมื่อพิจารณาคดีใหม่แล้วโจทก์หรือจำเลยจะเป็นฝ่ายชนะคดี หากโจทก์ยังคงเป็นฝ่ายชนะคดีกรณีก็ไม่จำเป็นที่จะต้องสั่งให้เพิกถอนใบแทนโฉนดที่ดินและรายการจดทะเบียนในใบแทนโฉนดที่ดินพิพาทตามคำร้องของจำเลยเช่นนั้น ในกรณีเช่นนี้ ป.วิ.พ. มาตรา 199 เบญจ วรรคสาม  ให้อำนาจศาลชั้นต้นในอันที่จะมีคำสั่งอย่างใดๆ ตามที่เห็นสมควรเพื่อประโยชน์แก่คู่ความหรือบุคคลภายนอก ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะหมายเรียก ร. บ. พ. และผู้ร้องให้เข้ามาในการพิจารณาคดีใหม่ด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57(3) การที่ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีใหม่ และมีคำสั่งให้เพิกถอนใบแทนโฉนดที่ดินและรายการจดทะเบียนในใบแทนโฉนดที่ดินพิพาท แล้วต่อมามีคำพิพากษายกฟ้องโดยมิได้เรียกบุคคลเหล่านั้นเข้ามาในคดี ย่อมเป็นการกระทบสิทธิของบุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความในคดีเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคสอง ถือว่าศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยคำพิพากษาหรือคำสั่งตามมาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา 247 (เดิม) ซึ่งใช้บังคับขณะยื่นฟ้องและเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ สมควรเพิกถอนการพิจารณาดังกล่าวเสีย

3.การถอนฟ้องต้องถอนฟ้องก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษา
คำพิพากษาฎีกาที่ 3996/2561 

    ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตให้ถอนฟ้องได้เฉพาะก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเท่านั้น จะขอถอนฟ้องหลังจากศาลชั้นต้นพิพากษาแล้วไม่ได้ หากมีการตกลงกันได้ระหว่างคู่ความ ก็ชอบที่จะทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในชั้นฎีกา โดยจะทำที่ศาลชั้นต้นหรือศาลฎีกาก็ได้ กรณีจึงไม่อาจอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ 6 ได้ตามคำร้องของโจทก์ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ 6 และให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความจึงไม่ชอบ

4.คำของผู้เสียหายในชั้นสอบสวนที่อ้างว่าจำเลยเคยลักทรัพย์ เป็นพยานหลักฐานที่เกี่ยวกับความประพฤติในทางเสื่อมเสียของจำเลย ต้องห้ามรับฟัง
คำพิพากษาฎีกาที่ 417/2561

     ความผิดฐานลักทรัพย์ในเคหสถานตามประมวลกฏหมายอาญา มาตรา 335 (8) มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปี ถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 10,000 บาท จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ ประกอบพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 180 (เดิม)
    คำของผู้เสียหายที่เบิกความในชั้นพิจารณาและให้การในชั้นสอบสวนว่าจำเลยเคยลักทรัพย์ของผู้เสียหายมาก่อนหน้านี้ ไม่อาจนำมารับฟังให้เป็นผลร้ายแก่จำเลยว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่ลักทรัพย์ของผู้เสียหายไป เพราะเป็นพยานหลักฐานที่เกี่ยวกับความประพฤติในทางเสื่อมเสียของจำเลย ต้องห้ามมิให้รับฟัง ตามประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226/2 ประกอบพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 6 

5.แม้คดีอยู่ในระหว่างพิจารณาในศาลชั้นฎีกา จำเลยก็ยังรับสารภาพได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 168/2561 

    การขอแก้ไขคำให้การ จำเลยที่ 1 สามารถยื่นคำร้องได้ก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาเท่านั้นการที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องในระหว่างที่คดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา จึงไม่อาจกระทำได้ ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 163 วรรคสอง แต่อย่างไรก็ดีการที่จำเลยที่ 1 ขอให้การรับสารภาพในชั้นฎีกาเช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ยอมรับข้อเท็จจริงโดยไม่โต้แย้งที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 137 มาตรา 267 และมาตรา 268

6.คำให้การสวบสวนเพิ่มเติม โดยไม่มีทนายความอยู่ด้วย ก็ไม่ทำให้คำให้การในครั้งแรกที่ชอบด้วยกฎหมายเสียไปทั้งหมด
คำพิพากษาฏีกาที่ 5580/2560

     จำเลยฎีกาอ้างว่า ศาลอุทธรณ์ภาค 3 นำคำให้การในชั้นสอบสวนเพิ่มเติมของจำเลยมาฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์และโจทก์ร่วมแล้วฟังลงโทษจำเลยไม่ชอบเพราะก่อนถามคำให้การจำเลยเพิ่มเติมพนักงานสอบสวนไม่ได้จัดหาทนายความให้จำเลยหรือคำให้การในชั้นสอบสวนเพิ่มเติมของจำเลยไม่ชอบด้วยกฏหมายและไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยนั้น
    เห็นว่า แม้คำให้การในชั้นสอบสวนเพิ่มเติมของจำเลย พนักงานสอบสวนไม่ได้จัดหาทนายความให้จำเลยเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134/1 วรรคหนึ่ง แต่ก็ไม่ทำให้คำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยในครั้งแรกที่ชอบด้วยกฏหมายแล้วนั้นเสียไปด้วยแต่อย่างใด พยานหลักฐานโจทก์และโจทก์ร่วมประกอบกันมีน้ำหนักมั่นคง รับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายจำเลยจึงมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่น

ที่มา : หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 71 ปีการศึกษา 2561 เล่มที่ 8

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก