คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 71 ปีการศึกษา 2561 เล่มที่ 7|คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 71 ปีการศึกษา 2561 เล่มที่ 7

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 71 ปีการศึกษา 2561 เล่มที่ 7

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 71 ปีการศึกษา 2561 เล่มที่ 7

  • Defalut Image

1.ฟ้องโจทก์ อ้างว่าจำเลยประเมินผลการปฏิบัติงานของโจทก์ มีคำสั่งย้ายและตัดสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ

บทความวันที่ 18 ก.ย. 2562, 09:47

มีผู้อ่านทั้งหมด 2205 ครั้ง


คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 71 ปีการศึกษา 2561 เล่มที่ 7

1.ฟ้องโจทก์ อ้างว่าจำเลยประเมินผลการปฏิบัติงานของโจทก์ มีคำสั่งย้ายและตัดสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ทำให้ขาดความก้าวหน้า เสียชื่อเสียง จำเลยฟ้องแย้งว่า โจทก์ร้องเรียนจำเลยไปยังหลายหน่วยงาน เป็นการจงใจทำให้จำเลยเสียหาย เสื่อมเสียชื่อเสียง ขอให้ใช้ค่าเสียหาย ฟ้องแย้งไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม
คำพิพากษาศาลฏีกาที่ 8122/2559 

     โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 3 ประเมินผลการปฏิบัติงานของโจทก์ปี 2554 โดยไม่ชอบ จำเลยที่ 1 มีคำสั่งย้ายโจทก์และตัดสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่โจทก์เคยได้รับโดยไม่ชอบ การกระทำของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 ทำให้โจทก์เสียหายขาดโอกาสในความก้าวหน้า ขาดประโยชน์ที่ควรได้รับ และเสื่อมเสียชื่อเสียงเกียรติยศ ศักดิ์ศรีขอให้เพิกถอนการประเมินการปฏิบัติงานปี 2554 เพิกถอนคำสั่งย้ายโจทก์ ให้คืนสิทธิและประโยชน์ต่างๆที่โจทก์เคยได้รับ กับให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายที่ทำให้โจทก์ขาดโอกาสและสิทธิประโยชน์ที่ควรได้รับและเสื่อมเสียชื่อเสียง ซึ่งการพิจารณาคดีของโจทก์ ศาลต้องพิจารณาการกระทำของฝ่ายจำเลยทั้งสามว่าชอบด้วยกฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับของจำเลยที่ 1 หรือไม่ และการประเมินผลการปฏิบัติงานและการย้ายโจทก์เป็นการละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสามที่อ้างว่าโจทก์ร้องเรียนจำเลยทั้งสามไปยังหลายหน่วยงานเป็นการจงใจทำให้จำเลยทั้งสามเสียหายนั้นเป็นการอ้างข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่ว่าการร้องเรียนของโจทก์เป็นการละเมิดต่อจำเลยทั้งสาม แม้ฟ้องเดิมจะมีคดีอันเกิดจากมูลละเมิดรวมอยู่ด้วย แต่ข้อเท็จจริงตลอดจนพยานหลักฐานที่นำสืบเป็นคนละประเด็นแตกต่างกันไม่มีความเกี่ยวพันกัน ฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสามจึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมไม่อาจรับไว้พิจารณารวมกับฟ้องเดิมได้

2.ฟ้องโจทก์ขอให้จำเลยคืนเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งที่ได้รับเกินสิทธิ จำเลยฟ้องแย้ง ขอให้บังคับโจทก์ยกเลิกหรือเพิกถอนคำสั่งที่ให้จำเลยออกจากราชการและมีคำสั่งให้จำเลยกลับเข้ารับราชการ  ฟ้องแย้งไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7509/2560

     ตามคำฟ้องเดิมเป็นเรื่องที่โจทก์เรียกเงินคืนและเงินประจำตำแหน่งที่จำเลยได้รับไปเกินสิทธิ โดยอาศัยฐานที่ตั้งแห่งสิทธิเรียกร้องในเรื่องลาภมิควรได้ และฟ้องแย้งของจำเลยขอให้บังคับโจทก์ยกเลิกหรือเพิกถอนคำสั่งที่ให้จำเลยออกจากราชการและมีคำสั่งให้จำเลยกลับเข้ารับราชการ ซึ่งอาศัยฐานที่ตั้งแห่งสิทธิเรียกร้องในเรื่องข้อโต้แย้งเกี่ยวกับคำสั่งในทางบริหารของโจทก์ จึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ชอบที่จำเลยจะฟ้องเป็นคดีต่างหาก

3.คำร้องแก้ไขคำให้การ โดยไม่ได้ยื่นตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดและเป็นการยื่นคำให้การเพิ่มเติมลักษณะเป็นการตั้งประเด็นเรื่องอายุความขึ้นมาใหม่ แต่เมื่อคำฟ้องโจทก์ได้บรรยายให้ทราบถึงเรื่องอายุความ จำเลยย่อมทราบดีแต่ก็คงปล่อยให้ล่วงเลยเวลาจนพ้นกำหนด มิใช่เป็นการแก้ไขรายละเอียดเล็กน้อยและไม่มีเหตุสมควรที่ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อน และไม่ใช่ปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
คำพิพากษาศาลฏีกาที่ 6951-6952/2560

    จำเลยทั้งสองสำนวนยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การโดยไม่ได้ยื่นคำร้องเสียก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน ตามคำให้การของจำเลยทั้งสองสำนวนอ้างเหตุขาดอายุความ 2 ปี นับแต่วันครบกำหนดหนี้ค่าอนุรักษ์น้ำบาดาลในแต่ละคราว แต่ที่ขอแก้ไขคำให้การใหม่เป็นว่า ค่าอนุรักษ์น้ำบาดาลค้างชำระเกินระยะเวลาสิทธิเรียกร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 หรือ มาตรา 193/34 ซึ่งหมายถึงอายุความ 5 ปี และ 2 ปี ตามลำดับ อันเป็นการเพิ่มเติมคำให้การขึ้นมาใหม่แยกเป็นประเด็นตามเงื่อนไขของสองอนุมาตราดังกล่าว แม้จะอยู่ในประเด็นอายุความก็ตาม แต่วันที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองสำนวนก็ได้บรรยายถึงจำนวนหนี้ที่ค้างชำระแต่ละรายการไว้ชัดเจน จำเลยย่อมทราบดีหากประสงค์จะต่อสู้ในประเด็นอายุความเรื่องใดก็สามารถกระทำได้ตั้งแต่แรกแต่หาได้กระทำไม่ คงปล่อยไว้ให้ล่วงเลยเวลาจนพ้นกำหนดเวลาแล้วจึงยื่นคำให้การว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความ 5 ปี และ 2 ปี ตามประเภทของหนี้ที่ค้างชำระแต่ละรายการลักษณะเป็นการตั้งประเด็นเรื่องขาดอายุความขึ้นมาใหม่ทั้งฉบับ มิใช่เป็นการแก้ไขรายละเอียดเล็กน้อยและมิใช่กรณีมีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนนั้น อีกทั้งประเด็นเรื่องอายุความไม่ใช่ปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยทั้งสองสำนวนจึงไม่ชอบที่จะยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การตามป.วิ.พ. มาตรา 180 แม้จำเลยทั้งสองสำนวนยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การมาแล้วครั้งหนึ่ง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต ต่อมาวันรุ่งขึ้นจำเลยทั้งสองสำนวนยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การขึ้นอีกฉบับหนึ่ง โจทก์รับสำเนาคำร้องทั้งสองฉบับแล้วไม่คัดค้านศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมในคำร้องฉบับแรกแล้วสั่งใหม่ว่ายกคำร้อง ส่วนคำร้องฉบับหลังสั่งว่าไม่อนุญาตให้แก้ไขคำให้การการที่ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตครั้งแรกเป็นการไม่ชอบซึ่งเป็นปัญหาข้อกฏหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ย่อมมีอำนาจสั่งแก้ไขเพิกถอนคำสั่งอันมิชอบได้ การที่โจทก์ไม่คัดค้านแล้วจะถือว่าเป็นการยอมรับหรือให้สัตยาบันแก่การพิจารณาที่ผิดระเบียบหาได้ไม่ตราบใดทีเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณามิชอบซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลชอบที่จะแก้ไขให้ถูกต้องได้

4. หนังสือมอบอำนาจที่ผู้ไร้ความสามารถทำให้บุคคลอื่นฟ้องคดีอาญา เป็นการกระทำโดยโจทก์ไม่มีอำนาจที่จะกระทำได้  มิใช่เรื่องของการบกพร่องในเรื่องความสามารถของโจทก์ที่จะแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3727/2561

     โจทก์ซึ่งเป็นคนไร้ความสามารถและอยู่ในความอนุบาลของ ช. ฟ้องคดีโดยทำหนังสือมอบอำนาจให้ ม. ดำเนินคดีแทน เป็นการกระทำโดยโจทก์ไม่มีอำนาจที่จะกระทำได้ ต้องให้ ช. ผู้อนุบาลเป็นกระทำการแทน กรณีมิใช่เป็นเรื่องของการของการบกพร่องในเรื่องความสามารถของโจทก์และจำต้องแก้ไขข้อบกพร่องนั้นเสียให้บริบูรณ์ภายในกำหนดเวลาอันสมควร ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 ประกอบประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 เพราะโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องมาแต่ต้นแล้ว ศาลชอบที่จะยกฟ้องโจทก์

5. พินัยกรรมระบุรายการทรัพย์สินเพียงบ้าน รถยนต์และเงินฝาก โดยไม่ได้ระบุที่ดินที่บ้านตั้งอยู่ สามารถนำพยานบุคคลเข้ามาสืบว่าผู้ตายมีเจตนายกที่ดินพิพาทให้ได้
คำพิพากษาศาลฏีกาที่ 2850/2561
 
    ผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดให้แก่จำเลยโดยระบุรายการทรัพย์สินแต่เพียงบ้าน รถยนต์ และเงินฝาก โดยไม่ระบุถึงที่ดินที่บ้านตั้งอยู่ บ้านจะหมายความรวมถึงที่ดินพิพาทที่บ้านตั้งอยู่ด้วยหรือไม่ เป็นกรณีที่ความข้อใดข้อหนึ่งในพินัยกรรมอาจตีความได้เป็นหลายนัย ให้ถือเอาตามนัยที่จะสำเร็จผลตามความประสงค์ของผู้ทำพินัยกรรมนั้นได้ดีที่สุด ตามประมวลกฎหมายแพ่งละพาณิชย์ มาตรา 1684 จำเลยย่อมมีสิทธินำพยานมาสืบถึงความประสงค์ของผู้ตายได้ ไม่ใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 

ที่มา : หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 71 ปีการศึกษา 2561 เล่มที่ 7

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก