คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่  15|คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่  15

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่  15

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่  15

  • Defalut Image

1.แม้ไม่ใช่ผู้เสียหายในทางนิตินัยในคดีอาญาก็ตาม แต่ก็เป็นผู้เสียหายในทางแพ่งสามารถยื่นคำร้องเรียกค่าเสียหาย

บทความวันที่ 16 ส.ค. 2562, 10:50

มีผู้อ่านทั้งหมด 1604 ครั้ง


คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่  15

1.แม้ไม่ใช่ผู้เสียหายในทางนิตินัยในคดีอาญาก็ตาม แต่ก็เป็นผู้เสียหายในทางแพ่งสามารถยื่นคำร้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่งมาในคดีอาญาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 44/1 ได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 5400/2560

              ผู้เสียหายที่มีส่วนในการกระทำความผิดด้วย แม้ไม่ใช่ผู้เสียหายในทางนิตินัยในคดีอาญาก็ตาม แต่ก็เป็นผู้เสียหายในทางแพ่ง จึงสามารถยื่นคำร้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่งมาในคดีอาญาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 44/1 ได้ ส่วนการกำหนดค่าสินไหมทดแทน ให้พิจารณาว่าฝ่ายผู้เสียหาย มีส่วนทำให้เกิดความเสียหายขึ้นมากน้อยเพียงใดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 223 ประกอบด้วย

2.การวินิจฉัยข้อเท็จจริงในประเด็นแห่งคดีโดยตรงโดยชัดเจนแล้ว แม้จะเป็นคำพิพากษาในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง แต่เมื่อคดีถึงที่สุดแล้วก็รับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าว ผูกพันคดีนี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46
คำพิพากษาฎีกาที่ 4916/2557

              เห็นว่า คดีอาญาหมายเลขที่ 672/2552 ของศาลชั้นต้น ที่โจทก์คดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยกับนางรุ่งทิพย์เป็นจำเลยข้อหาร่วมกันฉ้อโกง ศาลอุทธรณ์ภาค 1ได้วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 (จำเลยคดีนี้) ไม่ได้ร่วมกระทำความผิดกับนางรุ่งทิพย์ตามฟ้อง พิพากษายืนยกฟ้องตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น อันเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงในประเด็นแห่งคดีโดยตรงโดยชัดเจนแล้ว แม้จะเป็นคำพิพากษาในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง แต่เมื่อคดีถึงที่สุดแล้วก็รับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าว ผูกพันคดีนี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46

คำพิพากษาฎีกาที่ 8938/2558
            คดีก่อนโจทก์เคยฟ้องจำเลยต่อศาลในความผิดฐานบุกรุกว่า โจทก์และ ส. ร่วมกันครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินตามแบบแสดงรายการที่ดิน (ภ.บ.ท.5) โจทก์กับ ส .แบ่งแยกการครอบครองเป็นสัดส่วนคนละครึ่ง ต่อมา ส. ถึงแก่ความตาย จำเลยเป็นภริยา ส. ก่อสร้างห้องแถวรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ การกระทำของจำเลยมีเจตนาแย่งการครอบครองและเจตนาถือการครอบครองที่ดินทั้งหมดเป็นของจำเลย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ศาลไต่สวนมูลฟ้องแล้ว วินิจฉัยว่าโจทก์อ้างว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท แต่ไม่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินพิพาทมาแสดง ส่วนแบบแสดงรายการที่ดิน(ภ.บ.ท.5)เป็นเพียงแบบแสดงรายการที่ดินเพื่อการชำระภาษีบำรุงท้องที่เท่านั้น ไม่ใช่เอกสารสิทธิพยานหลักฐานโจทก์ไม่พอรับได้ว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท โจทก์ไม่ได้เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย จึงไม่มีอำนาจฟ้อง พิพากษายก คดีถึงที่สุดแล้วตามคำพิพากษาศาลฎีกา โจทก์มาฟ้องจำเลยคดีนี้ อ้างว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ขอให้บังคับจำเลยพร้อมบริวารออกจากที่ดินพิพาท และขอให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ นั้น ป.วิ.อ. มาตรา 46 บัญญัติว่า ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาส่วนอาญา เมื่อคดีนี้มีปัญหาต้องวินิจฉัยแล้วว่าพยานหลักฐานโจทก์ไม่พอรับฟังว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท คดีแพ่งจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาว่าโจทก์ไม่ได้เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท

4.คดีอาญาที่มีอัตราโทษจำคุกและโทษปรับที่อยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้ ส่วนการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นการเพิกถอนสิทธิในทางแพ่งเพิ่มเติมจากโทษในทางอาญา มิใช่คดีเกี่ยวกับการเลือกตั้งและการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาค
คำพิพากษาฎีกาที่ 810/2560

             โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดฐานยื่นบัญชีรายรับและรายจ่ายในการเลือกตั้งไม่ถูกต้องครบถ้วนตาม พ.ร.บ. การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 มาตรา 54, 55 ซึ่งมาตรา 117 บัญญัติว่า ผู้กระทำความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดห้าปี จึงเป็นคดีอาญาที่มีอัตราโทษจำคุกและโทษปรับที่อยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้ ส่วนการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นการเพิกถอนสิทธิในทางแพ่งเพิ่มเติมจากโทษในทางอาญา มิใช่คดีเกี่ยวกับการเลือกตั้งและการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาค

5.ต่างฝ่ายต่างฟ้องร้องซึ่งกันและกันเป็นคนละคดี แต่มีประเด็นข้อพิพาทซึ่งศาลต้องวินิจฉัยอย่างเดียวกัน หากศาลชั้นต้นในคดีหนึ่งมีคำพิพากษาวินิจฉัยชี้ขาดแล้วฟ้องอีกคดีหนึ่งจะต้องห้ามเพราะเป็นดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144
คำพิพากษาฎีกาที่ 441-442/2559

           เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2552 โจทก์ทั้งสามทำบันทึกข้อตกลงกับนายโอภาสและจำเลยที่ 5 แบ่งกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 18144 เนื้อที่ 21 ไร่ 3 งาน 97 ตารางวา ให้มีกรรมสิทธิ์ที่ดินคนละส่วนเท่ากันตามบันทึกข้อตกลงเอกสารท้ายคำฟ้องโจทก์ทั้งสาม ต่อมาโจทก์ทั้งสามปฏิบัติผิดข้อตกลงบันทึกดังกล่าว นายโอภาสกับจำเลยที่ 5 จึงฟ้องโจทก์ทั้งสามเป็นจำเลยให้ชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าว โจทก์ทั้งสามยื่นคำให้การต่อสู้คดีขอให้ยกฟ้อง โดยอ้างเหตุทำนองเดียวกับที่โจทก์ทั้งสามฟ้องจำเลยทั้งห้าในคดีนี้ ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นโจทก์ทั้งสามฟ้องจำเลยทั้งห้าเป็นคดีนี้ ขอให้เพิกถอนนิติกรรมตามบันทึกดังกล่าวและเรียกเงินที่มอบให้แก่นายโอภาสกับจำเลยที่ 5 คืน ต่อมาศาลชั้นต้นในคดีที่โจทก์ทั้งสามถูกฟ้องเป็นจำเลยได้มีคำพิพากษาให้โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นจำเลยในคดีดังกล่าวเป็นฝ่ายแพ้คดี ตามสำเนาคำพิพากษาของศาลชั้นต้น
          คดีมีปัญหาตามฎีกาของโจทก์ทั้งสามที่ว่า คำสั่งงดสืบพยานของศาลชั้นต้นชอบหรือไม่ และฟ้องของโจทก์ทั้งสามเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีแพ่งของศาลชั้นต้นหรือไม่ ศาลฎีกาพิจารณาแล้วเห็นว่าตามคำพิพากษาคดีแพ่งของศาลชั้นต้น ซึ่งศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดว่าโจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นจำเลยในคดีดังกล่าวยอมทำบันทึกข้อตกลงกับนายโอภาสและจำเลยที่ 5 เพื่อเป็นไปตามคำประสงค์เดิมของบรรดาญาติพี่น้องหาใช่เพราะถูกข่มขู่ให้ลงชื่อในบันทึกข้อตกลงไม่ บันทึกข้อตกลงจึงมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย โจทก์ทั้งสามไม่มีสิทธิบอกล้าง ฟ้องโจทก์ในคดีนี้กับคดีแพ่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวมีประเด็นข้อพิพาทซึ่งศาลต้องวินิจฉัยอย่างเดียวกัน เมื่อคู่ความในคดีดังกล่าวกับคู่ความในคดีนี้เป็นคู่ความรายเดียวกัน และศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวมีคำพิพากษาวินิจฉัยชี้ขาดแล้ว ฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 ประกอบกับความปรากฏต่อศาลฎีกาว่า คดีแพ่งของศาลชั้นต้นถึงที่สุดแล้ว โดยศาลฎีกาไม่รับคดีไว้พิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 23 วรรคหนึ่ง โดยศาลฎีกาเห็นว่าศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นชอบแล้ว โจทก์ทั้งสามจึงไม่มีอำนาจฟ้อง คำสั่งงดสืบพยานของศาลชั้นต้นชอบแล้ว

6.คำฟ้องคดีก่อนและคดีหลังเป็นเรื่องเดียวกัน แต่จำเลยในคดีหลังมิได้เป็นคู่ความในคดีก่อน ไม่เป็นฟ้องซ้อน
คำพิพากษาฎีกาที่ 1895/2560

          คดีก่อนโจทก์ฟ้อง ต. ช. และบริษัท ท. แม้ขณะคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้น โจทก์ฟ้องคดีนี้ซึ่งเป็นคดีละเมิดในเหตุการณ์เดียวกัน ซึ่งมีสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาอย่างเดียวกันแต่จำเลยที่ 2 และที่ 3 คดีนี้มิได้เป็นคู่ความในคดีก่อนฟ้องโจทก์คดีนี้ก็ไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อนของศาลชั้นต้น อันจะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 วรรคดสอง (1) โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้
ที่มา : หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่  15

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก