คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 13|คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 13

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 13

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 13

  • Defalut Image

1. เจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดิน จะยื่นคำคัดค้านคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน

บทความวันที่ 13 ส.ค. 2562, 10:39

มีผู้อ่านทั้งหมด 1836 ครั้ง


คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 13

1. เจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดิน จะยื่นคำคัดค้านคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ โดยการร้องสอด ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57(1)
คำพิพากษาฎีกาที่ 6883/2560

    ขณะผู้ร้องยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท ผู้คัดค้านมิได้พักอาศัยยังภูมิลำเนาตามที่ผู้ร้องขอส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องขอ แต่ผู้ร้องก็ยังคงยื่นคำร้อง ขอให้ศาลชั้นต้นส่งหมายแจ้งวันนัดไต่สวนและสำเนาคำร้องขอให้แก่ผู้คัดค้านตามภูมิลำเนาเดิมซึ่งผู้ร้องทราบดีว่า ผู้คัดค้านมิได้พักอาศัย การส่งหมายแจ้งวันนัดไต่สวนและสำเนาคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่ผู้คัดค้านย่อมเป็นการไม่ชอบ และเป็นสาเหตุให้ผู้คัดค้านไม่มีโอกาสยื่นคำคัดค้านคำร้องขอของผู้ร้อง จึงเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมเรื่องการส่งคำคู่ความ เมื่อความปรากฏชัดแจ้งต่อศาลและศาลเห็นสมควร ศาลย่อมมีอำนาจสั่งให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียทั้งหมดหรือบางส่วน หรือสั่งแก้ไข หรือมีคำสั่งในเรื่องนั้นอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่เห็นสมควรตาม ป.วิ.พ.มาตรา 27 วรรคหนึ่ง และหากมีการเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบแล้วทำให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทย่อมมีสิทธิยื่นคำคัดค้านคำร้องขอของผู้ร้องอันเป็นการร้องสอดเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57(1)

2. ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ให้แก่ผู้ร้องสอดในชั้นบังคับคดี ต้องขอเข้ามาก่อนที่การบังคับคดีเสร็จสิ้นไป
คำพากษาฎีกาที่ 15351/2557

    ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า มีปัญหาข้อกฎหมายตามฎีกาของโจทก์ว่า คำร้องขอของผู้ร้องที่ขอให้ปล่อยเครื่องพิมพ์พิพาทเป็นคำร้องสอดตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (1) หรือไม่ 
    เห็นว่า การที่บุคคลภายนอกจะเข้ามาเป็นคู่ความในคดีได้ด้วยการร้องสอดในชั้นบังคับคดีตามป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) บุคคลภายนอกนั้นจะต้องเป็นผู้ที่มีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง กล่าวคือ สิทธิของบุคคลภายนอกอาจได้รับความเสียหายหรือต้องถูกกระทบกระเทือนจากการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล จึงเป็นการจำเป็นเพื่อยังให้ได้รับการรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปดำเนินการบังคับคดีส่งมอบการครอบครองเครื่องพิมพ์พิพาทให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2555 การบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งแก่ทรัพย์สินที่ต้องถูกบังคับคดีของโจทก์ในส่วนนี้จึงเป็นอันเสร็จสิ้นแล้ว ความจำเป็นที่ผู้ร้องจะร้องสอดเข้ามาในชั้นบังคับคดีนี้เพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของผู้ร้องที่มีอยู่ย่อมหมดไป ไม่ชอบที่จะร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความอีกได้ หากแต่ผู้ร้องจะต้องว่ากล่าวเป็นคดีใหม่ต่างหากจากคดีนี้ ที่ศาลล่างทั้งสองรับคำร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้องไว้ไต่สวนโดยเห็นว่าเป็นคำร้องสอด ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย

3. แม้จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ ก็หาหมดสิทธิที่จะขอศาลออกหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดี
คำพิพากษาฎีกาที่ 10514 - 10515/2558    

    จำเลยร่วมถูกหมายเรียกเข้ามาในคดีตามคำร้องของจำเลยที่ 1 โดยศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยที่ 1 อาจฟ้องจำเลยร่วมเพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ยหรือเพื่อใช้ค่าทดแทนอันเป็นกรณีร้องสอดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) ซึ่งตามมาตรา 58 ให้ผู้ร้องสอดที่ได้เข้าเป็นคู่ความตามมาตรา 57 (3) มีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่และอาจนำพยานหลักฐานใหม่มาแสดง อาจอุทธรณ์ฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ และอาจได้รับหรือถูกบังคับให้ใช้ค่าฤชาธรรมเนียม ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 จะขาดนัดยื่นคำให้การ ก็หาหมดสิทธิที่จะขอศาลหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดี ทั้งจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอมาถูกต้องในระหว่างพิจารณาคดี จำเลยร่วมจึงมีสิทธิเข้ามาเป็นคู่ความได้ คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาเป็นคู่ความในคดีตามคำร้องของจำเลยที่ 1 ชอบแล้ว

4. คดีความผิดต่อส่วนตัว ต้องร้องทุกข์ภายใน 3เดือน
คำพิพากษาฎีกาที่ 3085/2537

    โจทก์เป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท ล. ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหายักยอกทรัพย์ของบริษัท โดยโจทก์มิได้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยไว้ก่อน ดังนี้ เมื่อได้ความว่าก่อนที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ ต. ผู้ถือหุ้นอีกคนหนึ่งซึ่งเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจร้องทุกข์เช่นเดียวกับโจทก์ไม่ได้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยภายใน 3 เดือนนับแต่วันที่ ด. รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวจำเลยผู้กระทำความผิดแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ ตาม ป.อ.  มาตรา 96

5. ศาลแขวงพิพากษาลงโทษจำคุก 1ปี และปรับ 3,000 บาทแต่โทษจำคุกให้รอไว้ โดยมีผู้พิพากษาคนเดียวลงชื่อในคำพิพากษา ถือว่าไม่ชอบ 
คำพิพากษาฎีกาที่ 4543/2558

    ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยจำคุก 1 ปี และปรับ 3,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี โดยมีผู้พิพากษาลงลายมือชื่อในคำพิพากษาเพียงคนเดียว เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25(5) ทั้งนี้เพราะผู้พิพากษาคนเดียวจะพิพากษาลงโทษจำคุกเกินหกเดือนไม่ได้ คำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบด้วยบทกฎหมายข้างต้น ซึ่งมีผลทำให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยังไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 

6. การค้นในที่รโหฐานโดยไม่มีหมายค้น แต่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของบ้าน หากพบการกระทำความผิดซึ่งหน้าตำรวจสามารถจับได้
การค้นในที่สาธารณสถานและพบความผิดซึ่งหน้า ตำรวจมีอำนาจจับได้โดยไม่มีหมาย
คำพิพากษาฎีกาที่ 1164/2546

    เจ้าพนักงานตำรวจได้ขอความยินยอมจาก น. มารดาจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของบ้านที่เกิดเหตุก่อนทำการค้น แสดงว่าการค้นกระทำขึ้นโดยอาศัยอำนาจความยินยอมของน. แม้การค้นจะกระทำโดยไม่มีหมายค้นที่ออกโดยศาลอนุญาตให้ค้นได้ ก็หาได้เป็นการค้นโดยมิชอบไม่ นอกจากนี้ก่อนที่เจ้าพนักงานตำรวจจะดำเนินการค้นได้เห็นจำเลยซึ่งอยู่ในห้องนอนโยนเมทแอมเฟตามีนออกไปนอกหน้าต่าง อันเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานตำรวจพบจำเลยกำลังกระทำความผิด ซึ่งหน้าและได้กระทำลงในที่รโหฐาน เจ้าพนักงานตำรวจย่อมมีอำนาจจับจำเลยได้โดยไม่ต้องมีหมายจับหรือหมายค้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 78(1),92(2) เมทแอมเฟตามีนที่เจ้าพนักงานตำรวจยึดได้จึงนำมารับฟังประกอบคำรับสารภาพของจำเลยได้

คำพิพากษาฎีกาที่ 6894/2549
    ร้านที่เกิดเหตุเป็นร้านจำหน่ายอุปกรณ์เครื่องเล่นเกมต่างๆ และแผ่นเกม ย่อมเป็นสถานที่ที่เชื้อเชิญให้ประชาชนทั่วไปสามารถเดินเข้าไปดูและเลือกซื้อสินค้าได้ นับเป็นที่สาธารณสถานซึ่งเจ้าพนักงานตำรวจมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้ เมื่อสิบตำรวจ ส. เป็นผู้ทำการตรวจค้น แผ่นซีดีเกมส์อยู่ในตะกร้าซึ่งอยู่ในตู้สามารถมองเห็นได้ โดยแผ่นซีดีเกมส์ของกลางดังกล่าวละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วม มีลักษณะภายนอกของแผ่นซีดีของกลางต่างจากของโจทก์ร่วมอย่างเห็นได้ชัด จึงเป็นกรณีของการค้นในที่สาธารณสถานโดยเจ้าพนักงานตำรวจซึ่งมีเหตุอันควรสงสัยว่าร้านที่เกิดเหตุมีสิ่งของที่มีไว้เป็นความผิด ไม่จำเป็นต้องมีหมายค้น ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 93 ทั้งเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานตำรวจสามารถจับจำเลยได้ตามมาตรา 78 (1) ประกอบมาตรา 80 วรรคหนึ่ง การค้นและจับจึงชอบด้วยกฎหมาย
 
คำพิพากษาฎีกาที่ 3751/2551
    ขณะที่เจ้าพนักงานตำรวจเข้าตรวจค้นตัวจำเลยนั้น จำเลยกำลังขายก๋วยเตี๋ยวอยู่ที่ร้านก๋วยเตี๋ยวของจำเลย ซึ่งมีลูกค้ากำลังนั่งรับประทานก๋วยเตี๋ยวอยู่ที่ร้านของจำเลย ดังนี้ร้านก๋วยเตี๋ยวของจำเลยจึงหาใช่เป็นที่รโหฐานไม่ แต่เป็นที่สาธารณสถานเมื่อเจ้าพนักงานตำรวจมีเหตุอันควรสงสัยว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองอันเป็นความผิดต่อกฎหมาย เจ้าพนักงานตำรวจย่อมมีอำนาจค้นจำเลยได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 93 และเมื่อตรวจค้นพบเมทแอมเฟตามีนอยู่ในครอบครองของจำเลย การกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดซึ่งหน้า เจ้าพนักงานตำรวจย่อมมีอำนาจจับจำเลยได้โดยไม่ต้องมีหมายจับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 78 (1) การตรวจค้นและจับกุมจึงชอบด้วยกฎหมาย

ที่มา : หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 13

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก