คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 12|คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 12

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 12

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 12

  • Defalut Image

1.จำเลยมีสิทธินำสืบพยานบุคคล เพราะเป็นการนำพยานบุคคลมาสืบประกอบ

บทความวันที่ 9 ส.ค. 2562, 10:06

มีผู้อ่านทั้งหมด 2257 ครั้ง


คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 12

1.จำเลยมีสิทธินำสืบพยานบุคคล เพราะเป็นการนำพยานบุคคลมาสืบประกอบข้ออ้างว่าพยานเอกสารที่แสดงนั้นเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ถูกต้องทั้งหมดหรือแต่บางส่วนหรือสัญญาหรือหนี้อย่างอื่นที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคท้าย
คำพิพากษาฎีกาที่ 8237/2559

แม้ตามสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันระบุจำนวนเงิน 550,000 บาท และสัญญากู้ระบุว่าจำเลยที่ 1 ได้รับเงินจากโจทก์ครบถ้วนแล้ว จำเลยทั้งสองก็มีสิทธินำสืบพยานบุคคลตามข้อต่อสู้ตามคำให้การของจำเลยทั้งสองได้ว่าจำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์เพียง 50,000 บาท และจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันเพียงวงเงินดังกล่าว ขณะที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ลงชื่อไว้ในสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันยังไม่ได้กรอกข้อความ โจทก์ปลอมเอกสารสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันโดยกรอกข้อความและจำนวนเงินเป็น 550,000 บาท โดยจำเลยทั้งสองมิได้ยินยอม เพราะเป็นการนำพยานบุคคลมาสืบประกอบข้ออ้างว่าพยานเอกสารที่แสดงนั้นเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ถูกต้องทั้งหมดหรือแต่บางส่วนหรือสัญญาหรือหนี้อย่างอื่นที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคท้าย

2.ประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง ที่ว่า พฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้คู่ความฝ่ายใดยกปัญหาใดๆ ขึ้นกล่าวอ้างในศาลชั้นต้นได้นั้นมีได้เฉพาะปัญหาข้อกฏหมายเท่านั้น 
คำพิพากษาฎีกาที่ 8592/2559

บทบัญญัติแห่งประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง ที่ว่า พฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้คู่ความฝ่ายใดยกปัญหาใดๆ ขึ้นกล่าวอ้างในศาลชั้นต้นได้นั้นมีได้เฉพาะปัญหาข้อกฏหมายเท่านั้น ฎีกาของผู้ร้องที่ว่า น. ผู้ถือหุ้นอีกคนหนึ่งยังไม่ได้รับคำบอกกล่าวเชิญประชุมใหญ่ เป็นปัญหาที่ต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานของคู่ความก่อนว่า น. ได้รับคำบอกกล่าวเชิญประชุมใหญ่แล้วหรือไม่ แล้วจึงวินิจฉัยข้อกฏหมาย ดังนี้เป็นฏีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่นำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย ผู้ร้องไม่อาจยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาโดยมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้นตามบทบัญญัติดังกล่าวได้

3. จำเลยทั้งสองฎีกาอ้างว่า คดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลในคดีอาญามีคำพิพากษาคดีถึงที่สุดแล้วในระหว่างพิจารณาคดีในศาลชั้นต้น จึงเป็นพฤติการณ์ที่ไม่เปิดช่องให้จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ในปัญหาดังกล่าวได้ จำเลยทั้งสองย่อมหยิบยกปัญหานี้ขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคสอง
คำพิพากษาฎีกาที่ 1001/2559

ที่จำเลยทั้งสองฎีกาอ้างว่า คดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลในคดีอาญามีคำพิพากษาในคดีถึงที่สุดแล้ว ว่าการที่จำเลยทั้งสองใช้คนงานรื้อทุบทำลายกำแพงและก่อสร้างกำแพงประตูรั้วขึ้นใหม่ เป็นการใช้สิทธิความเป็นเจ้าของเพื่อป้องกันรักษาทรัพย์การกระทำของจำเลยทั้งสองไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ซึ่งโจทก์ทั้งสามทราบดีอยู่แล้ว การนำคดีนี้มาฟ้องศาลเพื่อกลั่นแกล้งจำเลยทั้งสอง ถือว่าโจทก์ทั้งสามฟ้องคดีโดยไม่สุจริตนั้น ได้ความว่า ศาลในคดีอาญามีคำพิพากษาถึงที่สุดในระหว่างพิจารณาคดีในศาลชั้นต้น จึงเป็นพฤติการณ์ที่ไม่เปิดช่องให้จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ในปัญหาดังกล่าวได้ จำเลยทั้งสองย่อมหยิบยกปัญหานี้ขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคสอง

4.ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง แต่ให้ริบรถยนต์ของกลาง ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้คืนรถยนต์ของกลางแก่เจ้าของ ส่วนการยกฟ้องยังคงเป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์จึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220 ในปัญหาข้อกฎหมายว่ารถยนต์ของกลางเป็นทรัพย์สินซึ่งคนร้ายได้ใช้ในการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์โดยตรง ศาลจึงมีอำนาจสั่งริบได้ตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)
คำพิพากษาฎีกาที่ 2909/2559

คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง แต่ให้ริบรถยนต์ของกลาง ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้คืนรถยนต์ของกลางแก่เจ้าของ ส่วนการยกฟ้องยังคงเป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์จึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220 ที่โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายว่ารถยนต์ของกลางเป็นทรัพย์สินซึ่งคนร้ายได้ใช้ในการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์โดยตรง ศาลจึงมีอำนาจสั่งริบได้ตาม ป.อ. มาตรา 33 (1) นั้น ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

5.คำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเข้ามาในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ตามประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 44/1 เป็นเพียงคำฟ้องตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. โดยให้ถือว่าผู้เสียหายอยู่ในฐานะเป็นโจทก์ในคดีส่วนแพ่ง  จึงมีสิทธิเพียงอุทธรณ์ฎีกาในคดีส่วนแพ่งเท่านั้น เมื่อผู้ร้องซึ่งเป็นผู้เสียหายไม่ได้ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 30 จึงไม่มีฐานะเป็นโจทก์ร่วมที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่เป็นการโต้แย้งข้อเท็จจริงในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาจึงไม่อาจฎีกาได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 1917/2559

คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 วรรคหนึ่ง ให้สิทธิผู้เสียหายที่จะยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเข้ามาในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ โดยไม่จำต้องไปฟ้องเป็นคดีแพ่งเรื่องใหม่ แต่มาตรา 44/1 วรรคสอง บัญญัติให้ถือว่า คำร้องดังกล่าวเป็นเพียงคำฟ้องตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. โดยให้ถือว่าผู้เสียหายอยู่ในฐานะเป็นโจทก์ในคดีส่วนแพ่ง จึงมีสิทธิเพียงอุทธรณ์ฎีกาในคดีส่วนแพ่งเท่านั้น คดีนี้พนักงานอัยการเป็นโจทก์ในคดีส่วนอาญา ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้เสียหายไม่ได้ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 30 จึงไม่มีฐานะเป็นโจทก์ร่วมที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาในคดีส่วนอาญาได้ ฎีกาของผู้ร้องที่ว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่จึงเป็นการโต้แย้งข้อเท็จจริงในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาจึงไม่อาจฎีกาได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลต้องถือข้อเท็จจริงในส่วนคดีอาญาที่รับฟังเป็นยุติว่าจำเลยไม่ได้ร่วมกระทำผิด ตามมาตรา 46 จึงต้องฟังว่าจำเลยไม่ได้กระทำละเมิดอันจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ร้อง

ที่มา : หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 12

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

กรณียาเสพติด เมื่อวันที่8สิงหาคม 2562 หนูกับแฟนได้นอนอนอยู่ในห้อง แต่จู่ๆมีชุด ปปส.ชุดจับกุม มาล้อมบ้าน และพังประตูเข้ามาจับแฟน มาค้นในบ้านหนูไม่สิ่งเสพติด บ้านแฟนก็ไม่มี แต่ตำรวจไปเจอยาที่บ้านอีกคนนึก ยา2000เม็ดกับไอซ์150 กรัม เอาตัวแฟนหนูไป ลงชื่อเซ็นรับยา แฟนหนูบอกไม่ใช่ของผมตรวจรอยนิ้วมือก็ได้ จะขอโทรหาแม่ก็ไม่ให้โทร คือตอนนั้นไม่สามารถติดต่อใครได้เลยคะ หนูอยากทราบว่า ยาไปเจอที่บ้านคนอื่นแต่ทำไมต้องให้แฟนหนูไปรับเป็นของตัวเอง ถ้าเป็นแบบนี้ จะสู้คดีได้มั้ยค่ะ

โดยคุณ นิชาภัทร คำหงษา 7 ก.ย. 2562, 00:44

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก