คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 11|คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 11

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 11

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 11

  • Defalut Image

1. บุคคลภายนอกที่จะร้องสอดเข้ามาในคดีได้นั้น ผลของคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยต้องมีผลกระทบต่อผู้ร้องสอด

บทความวันที่ 8 ส.ค. 2562, 10:48

มีผู้อ่านทั้งหมด 1739 ครั้ง


คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 11

1. บุคคลภายนอกที่จะร้องสอดเข้ามาในคดีได้นั้น ผลของคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยต้องมีผลกระทบต่อผู้ร้องสอด
คำพิพากษาฎีกาที่ 2738/2560

    โจทก์ฟ้องว่าจำเลยและบริวารเข้ามาปลูกบ้านพักอาศัยในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เลขที่ 795/191 ของโจทก์โดยไม่ได้รับอนุญาต ขอให้ขับไล่จำเลยพร้อมบริวารและเรียกค่าเสียหาย จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย ระหว่างพิจารณา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินทำแผนที่พิพาท ปรากฏว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ 3 งาน 42 ตารางวา ตามพื้นที่สีเขียวในแผนที่พิพาท ส่วนผู้ร้องสอดอ้างว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3ก) เลขที่ 191 เนื้อที่ 2 งาน 30 ตารางวา โดยปลูกบ้านอยู่อาศัยและปลูกผักสวนครัวมานานกว่า 40 ปี ขอให้พิพากษาว่าผู้ร้องสอดมีสิทธิครอบครองที่ดินดังกล่าว ซึ่งเป็นที่ดินคนละส่วนกับที่ดินพิพาทที่จำเลยอ้างว่ามีสิทธิครอบครอง คำร้องของผู้ร้องสอดจึงมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทหรือมีส่วนได้เสียกับจำเลยแต่อย่างใด ข้ออ้างของผู้ร้องสอดดังกล่าวเป็นกรณีที่ผู้ร้องสอดตั้งข้อพิพาทโต้แย้งสิทธิครอบครองที่ดินส่วนอื่นนอกเหนือจากที่โจทก์และจำเลยพิพาทกัน หากผู้ร้องสอดมีสิทธิในที่ครอบครองอยู่เพียงใดก็คงมีสิทธิอยู่อย่างนั้น ผลคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยย่อมไม่กระทบถึงสิทธิของผู้ร้องสอด กรณีจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเข้ามาเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ คำร้องของผู้ร้องสอดไม่ต้องด้วยบทบัญญัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ผู้ร้องสอดจึงไม่มีสิทธิร้องเข้ามาเป็นคู่ความ

2.การร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ต้องกระทำภายใน 10ปีนับแต่มีคำพิพากษา 
คำพิพากษาฎีกาที่ 1692/2560

    สิทธิจำนองเป็นทรัพยสิทธิจะระงับสิ้นไปเมื่อมีเหตุใดเหตุหนึ่งดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 744(1)ถึง(6) ผู้รับจำนองย่อมมีสิทธิบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองแม้หนี้ที่ประกันหรือสิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นประธานจะขาดอายุความ เพียงแต่จะบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่าห้าปีไม่ได้ ตามที่ ป.พ.พ.มาตรา 193/27 และมาตรา 745 บัญญัติไว้ แต่บทบัญญัติดังกล่าวเป็นกฎหมายสารบัญญัติ ซึ่งกำหนดสิทธิและหน้าที่ของคู่กรณีที่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน หากเจ้าหนี้ถูกโต้แย้งสิทธิและฟ้องลูกหนี้เป็นคดีต่อศาลเพื่อบังคับจำนอง กระบวนพิจารณาต้องบังคับตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งอันเป็นกฎหมายวิธีสบัญญัติ และเมื่อ ป.วิ.พ.ภาค 4 ลักษณะ 2 การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง มาตรา 271 บัญญัติให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องร้องขอให้บังคับคดีภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง โดยไม่มีข้อยกเว้นมิให้ใช้บังคับแก่เจ้าหนี้จำนอง ดังนั้นการร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของเจ้าหนี้จำนองต้องกระทำภายในระยะเวลาสิบปีตามบทบัญญัติดังกล่าวเช่นกัน ซึ่งจะเป็นการบังคับคดีที่ต้องตามเจตนารมณ์ของกฎหมายวิธีพิจารณาความ
    จำเลยทั้งสองผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความตั้งแต่งวดแรกวันที่ 18 กรกฎาคม 2546 และมีข้อตกลงว่าหากผิดนัดงวดใดงวดหนึ่งถือว่าผิดนัดทั้งหมดยอมให้โจทก์บังคับคดียึดทรัพย์สินจำนองขายทอดตลาด โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีภายในสิบปีนับแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2546 อันเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับคดีตามคำพิพากษาได้ แต่โจทก์เพิ่งยื่นคำขอให้ออกหมายบังคับคดียึดทรัพย์สินจำนองของจำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2559 จึงพ้นระยะเวลาสิบปีนับแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2546 แล้วโจทก์ไม่มีสิทธิบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินจำนองของจำเลยทั้งสอง อย่างไรก็ตาม ทรัพย์สิทธิจำนองยังคงอยู่และโจทก์สามารถใช้ยันต่อลูกหนี้จำนองหรือบุคคลภายนอกที่รับโอนทรัพย์สินจำนองต่อไปได้

3.โจทก์ฟ้องว่าจำเลยลักทรัพย์ของบุคคลหนึ่ง ทางพิจารณาได้ความว่าบุคคลอีกคนหนึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์ที่จำเลยลักไป ไม่ถือว่าเป็นข้อแตกต่างในข้อสาระสำคัญของคดี
คำพิพากษาฎีกาที่ 9425/2559

    แม้ความผิดฐานลักทรัพย์จะต้องเป็นทรัพย์ของผู้อื่น แต่กฎหมายมิได้บังคับเด็ดขาดว่าต้องระบุชื่อเจ้าของทรัพย์เสมอไป เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏในชั้นอุทธรณ์ว่าบริษัท ส. นายจ้างของจำเลยเป็นเจ้าของเงินที่จำเลยลักไป แตกต่างจากข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องว่าบริษัท ช. เป็นนายจ้างของจำเลยและเป็นเจ้าของเงินที่จำเลยลักไป จึงเป็นเพียงรายละเอียด มิใช่เป็นข้อแตกต่างในข้อสาระสำคัญ ทั้งจำเลยให้การรับสารภาพแสดงว่าจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลจึงลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง

4. ถ้อยคำตามภาษาไทยตามความหมายทั่วไป มิใช่คำพิเศษที่คนทั่วไปฟังแล้วไม่อาจเข้าใจได้ ไม่ต้องนำสืบอธิบายความหมายคำนั้น
คำพิพากษาฎีกาที่ 4397/2560

    เหตุเกิดที่ห้องประชุมคณะกรรมาธิการ อาคารรัฐสภา 2 ในระหว่างการบรรยายของโจทก์เรื่องการทำนุบำรุงส่งเสริมศาสนา ที่จัดโดยคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ห้องประชุมที่เกิดเหตุจึงเป็นสาธารณสถาน มิใช่สถานที่จำกัดแต่เฉพาะชาวคริสต์ ความหมายของคำว่า “มารศาสนา” ที่จำเลยแสดงในป้ายและด้วยคำพูดตะโกนในห้องประชุมในเวลาและโอกาสเช่นนั้น จึงต้องพิจารณาตามความหมายทั่วไปและคำดังกล่าวมิใช่คำพิเศษที่คนทั่วไปฟังแล้วไม่อาจเข้าใจได้ ความหมายของคำจึงเป็นข้อเท็จจริงที่รู้กันอยู่ทั่วไป โจทก์ไม่จำต้องนำสืบอธิบายความหมายอีก

5. ความผิดตาม พ.ร.ก. กู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนรัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย 
การกระทำอันเป็นเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท หากบทที่มีโทษหนักสุดมีอัตราโทษไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ แต่อัตราโทษบทหนักสุดโจทก์หาใช่ผู้เสียหาย เมื่ออัตราโทษบทเบาโจทก์มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 3ปี จึงต้องห้ามอุทธรณ์
คำพิพากษาฎีกาที่ 2306/2560

    บทบัญญัติตาม พรก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนมาตรา 4 หรือมาตรา 5 เป็นบทบัญญัติที่วางมาตรการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนเป็นส่วนรวม ความผิดฐานนี้จึงเป็นความผิดต่อรัฐ รัฐเท่านั้นที่จะดำเนินคดีแก่ผู้กระทำความผิดได้ เอกชนไม่ใช่ผู้เสียหายในการกระทำความผิดข้อหาดังกล่าว โจทก์ร่วมจึงไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดข้อหานี้ และเมื่อโจทก์ร่วมไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์มาตั้งแต่แรก โจทก์ร่วมย่อมไม่มีสิทธิที่จะอุทธรณ์และฎีกา ศาลฎีกา จึงไม่จำต้องพิจารณาฎีกาของโจทก์ร่วมในปัญหาว่าจำเลย กระทำความผิดข้อหาฉ้อโกงประชาชนตามฟ้องอีก
    โจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายเฉพาะความผิดฐานฉ้อโกงเท่านั้น มิได้เป็นผู้เสียหายความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตาม พรก. การกู้ยืมที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนพ.ศ. 2527 ด้วย ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์ร่วมจึงมีสิทธิที่จะอุทธรณ์เฉพาะในความผิดที่โจทก์เป็นผู้เสียหายเท่านั้น เมื่อความผิดฐานฉ้อโกงตาม ปอ.มาตรา 341 ที่โจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายมี อัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท(เดิม) หรือทั้งจำทั้งปรับ จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ปวิอ. ม.193 ทวิ แม้ความผิด ฐานฉ้อโกงประชาชนตาม พรก. การกู้ยืมเงินอันเป็นการฉ้อโกงประชาชนพ.ศ. 2527 มาตรา 5,12 จะมีอัตราโทษไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงและเป็นการกระทำกรรมเดียวกับความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ร่วมมิได้เป็นผู้เสียหายในความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน อันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด โจทก์ร่วมจึงไม่อาจอุทธรณ์โดยอ้างทำนองว่าเมื่อโทษตามบทหนักไม่ต้องห้ามให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงแล้ว การอุทธรณ์ในบทเบาย่อมอุทธรณ์ได้ด้วยหาได้ไม่

6. โจทก์ฟ้องว่าจำเลยประมาทเลินเล่อ จำเลยให้การว่าไม่ได้ประมาทเลินเล่อ  เป็นข้อสันนิษฐานที่ควรจะเป็นซึ่งปรากฏจากสภาพปกติธรรมดาของเหตุการณ์เป็นคุณแก่โจทก์ ภาระการพิสูจน์ตกแก่จำเลย
คำพิพากษาฎีกาที่ 6511/2560
    ต้นเพลิงเกิดจากโรงเรียนของจำเลยที่ 1 แล้วไฟไหม้ลุกลามไปไหม้บ้านของโจทก์ได้รับความเสียหายย่อมถือว่าเป็นข้อสันนิษฐานที่ควรจะเป็นซึ่งปรากฏจากสภาพปกติธรรมดาของเหตุการณ์เป็นคุณแก่โจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84/1 โจทก์จึงได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานดังกล่าว จำเลยทั้งสองมีหน้าที่ต้องพิสูจน์เพื่อหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว

ที่มา : หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 11

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก