คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 10|คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 10

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 10

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 10

  • Defalut Image

1. การที่ผู้คัดค้านร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงเดียวกันแต่เนื้อที่เกินกว่าที่ผู้ร้องขอ

บทความวันที่ 7 ส.ค. 2562, 10:20

มีผู้อ่านทั้งหมด 1907 ครั้ง


คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 10

1. การที่ผู้คัดค้านร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงเดียวกันแต่เนื้อที่เกินกว่าที่ผู้ร้องขอ จึงต้องถือว่าคำคัดค้านในส่วนที่ขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนที่เกินจากคำร้องขอไม่เกี่ยวกับคำร้องขอเดิมตามมาตรา 177 วรรคสามเพราะผู้ร้องมิได้โต้แย้งกรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนดังกล่าว ชอบที่ศาลจะสั่งไม่รับตามมาตรา 177 วรรคสี่
คำพิพากษาฎีกาที่ 18230/2555

ผู้ร้องยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนด ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านพร้อมฟ้องแย้งขอแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดทั้งแปลง จึงเป็นคดีมีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ.มาตรา 188(4)และมีทุนทรัพย์ คำคัดค้านของผู้คัดค้านถือเสมือนเป็นคำให้การและคำคัดค้านในส่วนที่ร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินทั้งแปลง ถือเสมือนเป็นฟ้องแย้งตามมาตรา 177 วรรคสาม การที่ผู้คัดค้านร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงเดียวกันแต่เนื้อที่เกินกว่าที่ผู้ร้องขอ จึงต้องถือว่าคำคัดค้านในส่วนที่ขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนที่เกินจากคำร้องขอไม่เกี่ยวกับคำร้องขอเดิมตามมาตรา 177 วรรคสาม เพราะผู้ร้องมิได้โต้แย้งกรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนดังกล่าว ชอบที่ศาลจะสั่งไม่รับตามมาตรา 177 วรรคสี่

2.คำร้องขอให้หมายเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดีตาม ป.วิ.พ มาตรา 57 (3) ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง คำสั่งของศาลดังกล่าวไม่เป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความแต่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ที่จำเลยต้องโต้แย้งไว้ก่อนจึงจะอุทธรณ์ได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 1474-1476/2558
มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสามในประเด็นแรกว่า ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามเกี่ยวกับคำร้องขอให้เรียกนายวิชาเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมชอบด้วยกฏหมายหรือไม่ ที่จำเลยทั้งสามฎีกาว่า คำร้องดังกล่าวเป็นคำคู่ความการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องดังกล่าว จึงไม่ใช่คำสั่งระหว่างพิจารณาที่จำเลยทั้งสามต้องโต้แย้งคัดค้านไว้ก่อนจึงจะอุทธรณ์ได้นั้น เห็นว่า คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่เรียกนายวิชาเข้ามาเป็นโจทก์ร่วม ไม่ใช่มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสามในประเด็นแรกว่า ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามเกี่ยวกับคำร้องขอให้เรียกนายวิชาเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ที่จำเลยทั้งสามฎีกาว่า คำร้องดังกล่าวเป็นคำคู่ความการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องดังกล่าว จึงมิใช่คำสั่งระหว่างพิจารณาที่จำเลยทั้งสามต้องโต้แย้งไว้ก่อนจึงจะอุทธรณ์ได้นั้น เห็นว่า คำสั่งศาลชั้นต้นไม่เรียกนายวิชาเข้ามาเป็นโจทก์ร่วม ไม่ใช่คำสั่งไม่รับคำคู่ความ เพราะนายวิชาซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไม่ได้ขอเข้ามาหรือแสดงเหตุเข้ามาเป็นคู่ความ จึงไม่เป็นการตั้งประเด็นระหว่างคู่ความอันจะทำให้คู่ความตามประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(5) คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาที่จำเลยทั้งสามต้องโต้แย้งคำสั่งเพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์ภายหลังศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วตามประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226(2) เมื่อจำเลยทั้งสามมิได้โต้แย้งคำสั่งดังกล่าว จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์เกี่ยวกับคำสั่งดังกล่าว

3.ปัญหาว่าสัญญาเช่าซื้อตกเป็นโมฆะเพราะไม่ทำตามแบบและการคิดดอกเบี้ยไม่ถูกต้องนั้น เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน 
คำพิพากษาฎีกาที่ 5746/2559
นิติกรรมใดมิได้ทำให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายบังคับไว้ นิติกรรมนั้นเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 152 ซึ่งสัญญาเช่าซื้อนั้น ถ้าไม่ได้ทำเป็นหนังสือเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572 วรรคสอง ปัญหาว่าสัญญาเช่าซื้อที่โจทก์นำมาฟ้องตกเป็นโมฆะเพราะทำไม่ถูกต้องตามแบบหรือไม่จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ในปัญหาดังกล่าวก็ย่อมมีสิทธิยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 วรรคสอง
คำพิพากษาฎีกาที่ 6205/2559
ปัญหาที่ว่า โจทก์ทั้งสองคิดดอกเบี้ยไม่ถูกต้องนั้นเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 2 มิได้หยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ ก็มีสิทธิที่จะอุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง

4. ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แต่ให้ใส่ชื่อจำเลยในโฉนดไว้แทนเป็นการกล่าวอ้างข้อความให้ผิดไปจากข้อความในเอกสาร โจทก์มีภาระการพิสูจน์แม้เป็นการพิจารณาโดยขาดนัด
คำพิพากษาฎีกาที่ 3975/2558
จำเลยมีชื่อถือกรรมสิทธ์ในโฉนดที่ดินพิพาทซึ่งเป็นเอกสารมหาชนที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้น ย่อมได้รับผลประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แต่ให้ใส่ชื่อจำเลยในโฉนดไว้แทนเป็นการกล่าวอ้างข้อความให้ผิดไปจากข้อความในเอกสาร โจทก์มีภาระการพิสูจน์แม้เป็นการพิจารณาโดยขาดนัด โจทก์ก็ต้องนำสืบให้ได้ความตามที่กล่าวอ้างตามประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 127 และมาตรา 198 ทวิ

5.โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรศาลชั้นต้นอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟังแล้ว จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง  ศาลชั้นต้นก็ต้องสอบถามจำเลยให้ชัดเจนว่า จะให้การรับสารภาพในข้อหาร่วมกันลักทรัพย์ในเวลากลางคืนและในเคหสถานหรือข้อหารับของโจร แล้วจึงพิพากษาลงโทษจำเลยในข้อหาที่จำเลยให้การรับสารภาพดังกล่าวแต่ศาลชั้นต้นมิได้สอบคำให้การของจำเลยให้ชัดเจน กลับพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์ในเวลากลางคืนและในเคหสถานโดยไม่ปรากฏแน่ชัดว่าจำเลยให้การรับสารภาพในข้อหาดังกล่าว จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาฎีกาที่ 7735/2557
ประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 172 วรรคสอง บัญญัติว่า เมื่อโจทก์หรือทนายโจทก์และจำเลยมาอยู่ต่อหน้าศาลแล้ว และศาลเชื่อว่าเป็นจำเลยจริง ให้อ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง และถามว่าได้กระทำผิดจริงหรือไม่ จะให้การต่อสู้อย่างไรบ้าง คำให้การของจำเลยให้จดไว้ ถ้าจำเลยไม่ยอมให้การก็ให้ศาลจดรายงานไว้ และดำเนินการพิจารณาต่อไป ดังนี้ ศาลชั้นต้นจึงมีหน้าที่และอธิบายฟ้องให้จำเลยฟังและถามว่าจำเลยกระทำความผิดจริงหรือไม่ จะให้การต่อสู้อย่างไรบ้าง คดีนี้ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์ในเวลากลางคืนและในเคหสถาน หรือรับของโจรฐานใดฐานหนึ่ง เมื่อศาลชั้นต้นอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟังแล้ว จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลชั้นต้นก็ต้องสอบถามจำเลยให้ชัดเจนว่า จะให้การรับสารภาพในข้อหาร่วมกันลักทรัพย์ในเวลากลางคืนและในเคหสถานหรือข้อหารับของโจร แล้วจึงพิพากษาลงโทษจำเลยในข้อหาที่จำเลยให้การรับสารภาพดังกล่าว แต่ศาลชั้นต้นมิได้สอบคำให้การของจำเลยให้ชัดเจน กลับพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์ในเวลากลางคืนและในเคหสถานโดยไม่ปรากฏแน่ชัดว่าจำเลยให้การรับสารภาพในข้อหาดังกล่าว จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบและมีผลให้กระบวนพิจารณาต่อไป ตลอดจนคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 ไม่ชอบไปด้วย ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาตั้งแต่สอบคำให้การจำเลยใหม่ แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

ที่มา : หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 10

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก