คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 4|คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 4

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 4

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 4

  • Defalut Image

1. ศาลพิพากษาให้โจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดิน ในชั้นบังคับคดี

บทความวันที่ 25 ก.ค. 2562, 11:14

มีผู้อ่านทั้งหมด 1697 ครั้ง


คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 4

1. ศาลพิพากษาให้โจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดิน ในชั้นบังคับคดี จำเลยคัดค้านการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เมื่อเจ้าพนักงานแจ้งโจทก์ไม่สามารถทำการออกได้ โจทก์ไม่สามารถฟ้องจำเลยให้ส่งมอบหนังสือรับรองหรือเจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการออกใบแทนได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 4439/2560 

    โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้บังคับจำเลยส่งมอบต้นฉบับหนังสือรับรองการทำประโยชน์แก่โจทก์หรือเจ้าพนักงานที่ดิน หรือให้เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการออกใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าว โดยบรรยายฟ้องว่าเดิมโจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยกับพวกขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 มีสิทธิครอบครองที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่าโจทก์ที่ 1 และที่ 2 มีสิทธิครอบครองที่ดินตามฟ้อง ต่อมาโจทก์ทั้งสองขอให้เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการให้โจทก์ทั้งสองมีชื่อทางทะเบียนในที่ดิน เจ้าพนักงานที่ดินแจ้งว่าไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจากไม่มีต้นฉบับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ โจทก์ทั้งสองบอกกล่าวให้จำเลยนำต้นฉบับหนังสือรับรองการทำประโยชน์เพื่อดำเนินการ จำเลยเพิกเฉย เจ้าพนักงานที่ดินจึงมีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยนำต้นฉบับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ไปดำเนินการ จำเลยทราบประกาศแล้วไม่คัดค้านภายในกำหนด ต่อมาจำเลยยื่นคำคัดค้านการออกใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เจ้าพนักงานที่ดินจึงมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบว่าเนื่องจากจำเลยยื่นคำคัดค้าน จึงไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้นั้น คำฟ้องของโจทก์ทั้งสองเป็นคำฟ้องที่ได้โต้แย้งและเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษา ซึ่งเป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันในชั้นบังคับคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 302 วรรคหนึ่ง ( ปัจจุบันคือมาตรา 271 วรรคหนึ่ง ) ประกอบมาตรา 7 ( 2 ) ซึ่งตามบทบัญญัติดังกล่าวโจทก์ทั้งสองจะต้องขอให้ดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีเดิม มิใช่ว่าเมื่อมีปัญหาเกี่ยวด้วยการบังคับคดีก็ต้องฟ้องคดีใหม่ต่อไป จะทำให้ไม่รู้จักจบสิ้น ที่โจทก์ทั้งสองนำเรื่องเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาคดีเดิมมาฟ้องเป็นคดีนี้ โดยอ้างว่าเป็นการถูกโต้แย้งสิทธิจึงไม่ถูกต้อง โจทก์ทั้งสองไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้

2. การกระทำความผิดนอกราชอาณาจักร พนักงานอัยการสูงสุดสามารถเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 6553/2559

    คดีนี้โจทก์ฟ้องและนำสืบว่า จำเลยพา ร. ผู้เสียหายจากประเทศไทยส่งออกไปนอกราชอาณาจักรยังประเทศญี่ปุ่น แล้วหน่วงเหนี่ยวกักขังไว้และจัดให้อยู่อาศัยในประเทศญี่ปุ่นเพื่อให้ผู้เสียหายทำการค้าประเวณีที่สถานที่การค้าประเวณีที่ประเทศญี่ปุ่นโดยการฉ้อฉลและใช้อุบายหลอกลวงผู้เสียหาย เพื่อบังคับข่มขู่ให้ผู้เสียหายกระทำการค้าประเวณี หรือเพื่อสนองความใคร่หรือสำเร็จความใคร่ในทางกามารมณ์ของผู้อื่น อันเป็นการสำส่อนเพื่อสินจ้างหรือประโยชน์อื่นใดอันเป็นการมิชอบ เพื่อจำเลยจะได้แสวงหาประโยชน์จากการค้าประเวณีของผู้เสียหาย โดยผู้เสียหายไม่ยินยอมและไม่สามารถขัดขืนได้ เหตุเกิดที่ประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นหลายท้องที่เกี่ยวพันกัน อันเป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 มาตรา 6, 52 พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 มาตรา 9 ป.อ. มาตรา 283 การกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นการกระทำความผิดที่มีโทษตามกฎหมายไทยและได้กระทำลงนอกราชอาณาจักรไทยด้วย ซึ่ง ป.วิ.อ. มาตรา 20 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้อัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการแทนเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ หรือจะมอบหมายหน้าที่นั้นให้พนักงานอัยการหรือพนักงานสอบสวนคนใดเป็นผู้รับผิดชอบทำการสอบสวนแทนก็ได้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า อัยการสูงสุดมอบหมายให้พนักงานสอบสวน กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ทำการสอบสวน โดยให้พนักงานอัยการ สำนักงานคดีอาญาร่วมทำการสอบสวน และให้ผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์หรือผู้รักษาการแทนเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ดังนี้ พนักงานสอบสวน กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ จึงมีอำนาจสอบสวนคดีนี้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

3. ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ริบของกลาง เป็นว่าให้คืนของกลางแก่เจ้าของ ส่วนการยกฟ้องเป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ต้องห้ามฎีกาแม้จะเป็นปัญหาข้อกฎหมาย
คำพิพากษาฎีกาที่ 2909/2559

    คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง แต่ให้ริบรถยนต์ของกลาง ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้คืนรถยนต์ของกลางแก่เจ้าของ ส่วนการยกฟ้องยังคงเป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์จึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220 ที่โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายว่ารถยนต์ของกลางเป็นทรัพย์สินซึ่งคนร้ายได้ใช้ในการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์โดยตรง ศาลจึงมีอำนาจสั่งริบได้ตาม ป.อ. มาตรา 33 (1) นั้น ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

4. การพิจารณาคดีส่วนแพ่งจะต้องรอคำพิพากษาคดีส่วนอาญาก่อน
คำพิพากษาฎีกาที่ 4549/2560

    ศาลในคดีส่วนแพ่งจะรอฟังข้อเท็จจริงจากคำพิพากษาคดีส่วนอาญาหรือไม่ก็ได้ ย่อมเป็นดุลพินิจของศาลที่จะพิจารณาเป็นเรื่อง ๆ ไป ทั้งไม่มีกฎหมายบังคับให้จำต้องต้องรอฟังข้อเท็จจริงในคดีส่วนอาญาดังกล่าว เมื่อไม่อาจทราบได้ว่าคดีส่วนอาญาจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดเมื่อใด การที่ศาลล่างทั้งสองไม่รอฟังคดีในส่วนอาญาของจำเลยที่ 1 ก่อนจึงไม่เป็นการขัดกับ ป.วิ.อ. มาตรา 46

5. ฟ้องโจทก์เพียงแต่ลงลายมือชื่อโจทก์ท้ายฟ้องและผู้เขียนหรือพิมพ์ฟ้อง โดยโจทก์ไม่ได้ลงชื่อผู้เรียงฟ้อง ศาลสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้องหรือยกฟ้อง หรือไม่ประทับรับฟ้องได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 4744/2560

    ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 158(7) บัญญัติว่า ฟ้องต้องทำเป็นหนังสือ และมี อนุ (7) ลายมือชื่อโจทก์ ผู้เรียง ผู้เขียนหรือพิมพ์ฟ้อง ซึ่งการยื่นคำฟ้องตาม ป.วิ.อ.ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่พนักงานอัยการหรือราษฎรยื่นฟ้องก็ตาม จะต้องยื่นฟ้องตามแบบที่กฎหมายกำหนด กล่าวคือ ต้องทำเป็นหนังสือและต้องมีข้อความหรือรายละเอียดตามที่ระบุไว้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 158(1) ถึง (7) จึงจะเป็นฟ้องที่ถูกต้อง แต่ตามฟ้องโจทก์คงปรากฏแต่เพียงลายมือชื่อโจทก์ท้ายฟ้องและผู้เขียนหรือพิมพ์ฟ้อง โดยโจทก์ไม่ได้ลงชื่อผู้เรียงฟ้อง ฟ้องของโจทก์จึงไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 158(7) ซึ่งหากศาลชั้นต้นตรวจพบข้อผิดพลาดดังกล่าวก็จะใช้อำนาจตาม ป.วิ.อ.มาตรา 161 สั่งให้โจทก์แก้ไขฟ้องให้ถูกต้องหรือยกฟ้องหรือไม่ประทับฟ้องได้ แต่ถ้าศาลชั้นต้นสั่งประทับฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาจนคดีขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 แล้ว การที่จะสั่งให้โจทก์แก้ไขฟ้องให้ถูกต้องหรือไม่ประทับฟ้องตาม ป.วิ.อ.มาตรา 161 วรรคหนึ่ง ย่อมล่วงเลยเวลาที่จะปฏิบัติได้เพราะศาลชั้นต้นได้สั่งประทับฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาจนเสร็จสิ้นแล้ว ทั้งกรณีดังกล่าวไม่เข้าเหตุตาม ป.วิ.อ.มาตรา 208(2) ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จะสั่งให้ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ย่อมไม่มีวิธีปฏิบัติเป็นประการอื่นนอกจากต้องพิพากษายกฟ้องโจทก์เสีย

ที่มา : หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 4

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

ขอคำแนะนำด้วยค่ะ

      แฟนของดิฉัน โดนศาลชั้นต้าตัดสินรอลงอาญา2ปีคุมประะฤติปรับ30000 ช่วงฝาดขัง3ฝากแบะประกัาข้อเท้าออกมา เพราะมีแม่แบะลูกต้องดผีแลแม่เดินไม่ปรกติมีโรคประจำตัวลูกต้องเรียนไม่มีให้ทำงานหาเงินได้เลย  ไม่ตามนัดทุดครั่งจนตัดสิน.พอ8เดือนโเนซาลอุทรฟ้องพอไปฟังโดนเพิ่มโทษ3ปี4เดือน  จะขอประกันตีวมาขอความเป็นธรรมขิงศาลฎีกา จะประกันได้ไมและจะขอใส่ขอ้ท้าเมื่อชั่นต้นได้ไม  เพราะกลัวเงินไม่พอค่ะ กว่าจะตกดีฎีกานานขนาดไหน รับจ้างแต่ระวันไม่พอมีผ่อนรถมีมาทำงานส่งของอีก จึงหาทางออกไม่ได้เลยขอความคิดเห็นค่ะ

โดยคุณ อรรัฎฐ์ 1 ส.ค. 2562, 20:33

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก