คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 3|คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 3

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 3

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 3

  • Defalut Image

1.โจทก์หลายคนต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวฟ้องเรียกส่วนแบ่งที่ดินจากจำเลย โดยฟ้องรวมกันมา

บทความวันที่ 25 ก.ค. 2562, 11:17

มีผู้อ่านทั้งหมด 1459 ครั้ง


คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 3

1.โจทก์หลายคนต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวฟ้องเรียกส่วนแบ่งที่ดินจากจำเลย โดยฟ้องรวมกันมา การพิจารณาทุนทรัพย์ว่าคดีต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องพิจารณาสิทธิเรียกร้องของโจทก์แต่ละคนเป็นการใช้สิทธิเฉพาะตัวแยกกัน
คำพิพากษาฎีกาที่ 9457/2559

    โจทก์ทั้งสิบฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงโดยขอให้จำเลยทั้งสองจดทะเบียนแบ่งแยกและโอนที่ดินพิพาท เนื้อที่ 50 ไร่ 3 งาน 39 ตารางว่า ให้แก่โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 10 และจำเลยที่ 1 คนละเท่ากัน ประมาณคนละ 5 ไร่ แล่ให้แก่โจทก์ที่ 1 เนื้อที่ 3 งาน 39 ตารางวา และให้จำเลยทั้งสองรับเงินจากโจทก์ทั้งสิบ 500,000 บาท เป็นเรื่องที่โจทก์ทั้งสิบแต่ละคนใช้สิทธิฟ้องเรียกส่วนแบ่งที่ดินจากจำเลยทั้งสองเป็นการเฉพาะตัว แม้โจทก์ทั้งสิบจะฟ้องรวมกันมาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกต่างหากจากกัน โจทก์ทั้งสิบและจำเลยทั้งสองตกลงให้จำเลยที่ 2 จดทะเบียนแบ่งแยกและโอนที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ 50 ไร่ 3 งาน 39 ตารางวา แก่โจทก์ทั้งสิบ และจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ตกลงรับชำระเงิน 500,000 บาทถือว่าที่ดินพิพาทมีราคา 500,000 บาท โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 10 ฟ้องขอแบ่งที่ดินคนละ 5 ไร่ โจทก์ที่ 1 ฟ้องขอแบ่งที่ดิน 3 งาน 39 ตารางวา เมื่อคำนวณราคาที่ดินพิพาทโดยเฉลี่ยแล้ว ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ระหว่างจำเลยทั้งสองกับโจทก์แต่ละคนไม่เกิน 50,000 บาท ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง

2.โจทก์ฟ้องจำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ เมื่อจำเลยยอมรับสภาพหนี้ตามฟ้อง แต่ชำระหนี้แล้วและโจทก์ทำหนังสือระงับหนี้ ภาระการพิสูจน์ตกแก่จำเลย และค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีถือเป็นค่าฤชาธรรมเนียมด้วย
คำพิพากษาฎีกาที่  9462/2559

    โจทก์บรรยายฟ้องในความว่า จำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้พิพาทกับโจทก์เมื่อถึงกำหนดจำเลยผิดนัด พร้อมทั้งแนบสำเนาหนังสือรับสภาพหนี้พิพาทท้ายคำฟ้องด้วย จำเลยให้การว่า หลังจากจำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้พิพาท จำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว และโจทก์ทำหนังสือระงับหนี้ให้ไว้ คำให้การของจำเลยจึงเป็นคำให้การที่ยอมรับแต่โดยชัดแจ้งว่าจำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้พิพาทกับโจทก์จริงและได้ชำระหนี้หมดแล้ว ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่จำเลยที่มีหน้าที่นำสืบให้เห็นได้ว่าชำระหนี้ทั้งหมดแล้วอย่างไร ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84/1 ที่จำเลยให้การอีกว่า โจทก์ทำหนังสือระงับหนี้ให้ไว้ด้วยนั้น ก็เป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงใหม่เพื่อไม่ต้องรับผิดตามฟ้องนั้นเอง กรณีหาใช้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ออกใบเสร็จให้เพื่อระยะหนึ่งแล้วโดยมิได้อิดเอื้อน ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้เพื่อระยะก่อนๆ นั้นด้วยแล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 327 วรรคหนึ่งไม่
            ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีเป็นค่าฤชาธรรมเนียมประเภทหนึ่ง ซึ่งกฎหมายบัญญัติบังคับให้ศาลต้องมีคำสั่งไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่ ตามที่บัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 149 วรรคหนึ่ง และมาตรา 161 วรรคหนึ่ง ทั้งนี้ การที่ศาลสั่งหรือไม่สั่งให้ชดใช้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีหรือไม่ก็เป็นดุลพินิจ แต่ค่าใช่จ่ายในการดำเนินคดีนั้นต้องอยู่ในบังคับตาราง 7 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งกำหนดให้ศาลมีคำสั่งให้ชดใช้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควร โดยในคดีมีทุนทรัพย์ต้องไม่เกินร้อยละ 1 ขอจำนวนทุนทรัพย์ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยชดใช้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีแก่โจทก์ จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว

3.โจทก์เคยฟ้องจำเลยทั้งสี่เป็นคดีอาญา ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องคดีดังกล่าวโดยไม่ได้ลงชื่อโจทก์ และศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต หลังจากนั้นโจทก์จึงมาฟ้องจำเลยทั้งสี่เป็นคดีนี้ โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสี่เป็นคดีนี้
คำพิพากษาฎีกาที่ 10354/2559

    เมื่อพิเคราะห์คำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์ลงวันที่ 6 มีนาคม 2556 ในคดีก่อนตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ.1279/2555 ของศาลชั้นต้น ประกอบคำฟ้องในคดีดังกล่าวแล้ว แม้คำร้องขอถอนฟ้องจะระบุว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีอีกต่อไป จึงขอถอนฟ้องโดยปรากฏว่าในคดีฟ้องดังกล่าวโจทก์มิได้ลงลายมือชื่อในคำฟ้อง แต่ทนายโจทก์เป็นผู้ลงลายมือชื่อในคำฟ้องแทนโจทก์ทั้งปรากฏว่าในวันรุ่งขึ้นหลังจากศาลอนุญาตให้ถอนฟ้องคดีดังกล่าวแล้ว โจทก์ได้มายื่นคำฟ้องใหม่เป็นคดีนี้ในมูลคดีอาญาความผิดเดียวกันกับคดีก่อน และขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสี่ในบทมาตราเดียวกัน เชื่อว่าเหตุที่โจทก์ถอนฟ้องคดีก่อนเนื่องจากเห็นว่าโจทก์มิได้ลงลายมือชื่อในคำฟ้อง ซึ่งเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงประสงค์จะถอนฟ้องแล้วยื่นฟ้องใหม่ให้ถูกต้อง การถอนฟ้องคดีก่อนจึงมิใช่การถอนฟ้องเด็ดขาด ตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยยืนตามศาลชั้นต้นว่าโจทก์เคยฟ้องจำเลยทั้งสี่มาแล้วในมูลคดีอาญาความผิดเดียวกันและถอนฟ้องไปจึงต้องห้ามมิให้ฟ้องจำเลยทั้งสี่อีกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36 นั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา

4.จำเลยเบิกความ เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน ดังนี้ศาลจะรับฟังคำเบิกความดังกล่าวมารับฟังว่า กรณีของจำเลยไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะรอการลงโทษจำคุกให้จำเลย 
คำพิพากษาฎีกาที่ 960/2559

     ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 233 วรรคสอง บัญญัติว่า ในกรณีที่จำเลยเบิกความเป็นพยาน คำเบิกความของจำเลยย่อมใช้ยังจำเลยนั้นได้ และศาลอาจรับฟังคำเบิกความนั้นประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้ เมื่อจำเลยเบิกความตอบโจทก์ถามค้านว่า ก่อนเกิดเหตุคดีนี้จำเลยถูกฟ้องที่ศาลจังหวัดกำแพงเพชรในข้อหามีและพาอาวุธปืนไปโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ศาลจังหวัดกำแพงเพชรพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 9 เดือน จำเลยพ้นโทษเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2556 คำเบิกความของจำเลยจึงใช้ยันจำเลยได้ตามบทบัญญัติดังกล่าว ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่า จำเลยได้รับโทษจำคุกมาก่อนในความผิดต่อพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 อันมิใช่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ จึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ได้

5.ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นทั้งบทลงโทษและกำหนดโทษ แต่ทั้งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ยังคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินสองปี ต้องห้ามฎีกา
คำพิพากษาฎีกา10129/2559

    ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288,371 ประกอบมาตรา 83 เรียงกระทงลงโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91 รวมจำคุก 3 ปี 9 เดือน และปรับ 25 บาท เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปควบคุมเพื่อฝึกอบรมที่ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน เขต 5 จังหวัดอุบลราชธานี มีกำหนดขั้นต่ำ 1 ปี 6 เดือน ขั้นสูง 2 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษากลับเป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 391 จำคุก 7 วัน โทษจำคุกให้รอการลงโทษจำคุกไว้ 2 ปีและกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของจำเลยไว้ 1 ปี ยกฟ้องข้อหาร่วมกันฆ่าผู้อื่น และร่วมกันพาอาวุธไปในเมืองหมู่บ้านและทางสาธารณะโดยเปิดเผยและโดยไม่มีเหตุสมควร เป็นการแก้ทั้งบทลงโทษและกำหนดโทษอันเป็นการแก้ไขมาก แต่เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 ยังคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 2 ปี ต้องห้ามไม่ใช้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216 ประกอบพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 6
ที่มา : หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 3

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก