คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 1|คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 1

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 1

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 1

  • Defalut Image

1.คำฟ้องของโจทก์ใช้แบบพิมพ์ศาลเดิม ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์จัดทำฟ้องโดยใช้แบบพิมพ์ตามที่กำหนดไว้ท้ายระเบียบ

บทความวันที่ 22 ก.ค. 2562, 11:59

มีผู้อ่านทั้งหมด 1339 ครั้ง


คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 1

1.คำฟ้องของโจทก์ใช้แบบพิมพ์ศาลเดิม ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์จัดทำฟ้องโดยใช้แบบพิมพ์ตามที่กำหนดไว้ท้ายระเบียบ แต่โจทก์ไม่ปฏิบัติตาม ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องถือว่าชอบแล้ว
คำพิพากษาฎีกาที่ 9151/2559

     ปวิพ.มาตรา 18 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้อำนาจแก่ศาลชั้นต้นที่จะตรวจคำคู่ความที่พนักงานเจ้าหน้าที่ศาลได้รับไว้เพื่อยื่นต่อศาล หรือสั่งให้แก่คู่ความหรือบุคคลใดๆ เมื่อศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องของโจทก์ซึ่งเป็นคำคู่ความแล้วเห็นว่าคำฟ้องของโจทก์ไม่ได้ใช้แบบพิมพ์ศาลตามระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม ว่าด้วยแบบพิมพ์ศาล พ.ศ.2557 ซึ่งให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป คือวันที่ 1 เมษายน 2557 ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจส่งคืนคำฟ้องให้โจทก์ทำมาใหม่ให้ถูกต้องตาม ปวิพ.มาตรา 18 วรรคสอง แม้ระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมว่าด้วยแบบพิมพ์ศาล พ.ศ.2557 ข้อ 5 และข้อ 7 จะให้ใช้แบบพิมพ์ศาลที่เจ้าพนักงาน คู่ความ หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องจัดทำ ซึ่งมีลักษณะ ขนาด รูปแบบ และมีข้อความรวมทั้งสี ขนาด และรูปแบบตัวอักษรตรงกัน หรือแตกต่างเพียงเล็กน้อยจากแบบพิมพ์ที่กำหนดไว้โดยอนุโลม และให้ใช้แบบพิมพ์เดิมที่เหลืออยู่ได้ต่อไปจนกว่าจะหมด แต่ต้องไม่เกิน 180 วัน นับแต่วันที่ประกาศใช้ระเบียบดังกล่าวก็ตาม แต่ก็เป็นดุลพินิจของศาลชั้นต้นในการตรวจคำคู่ความดังกล่าว เข้าหลักเกณฑ์ที่จะอนุโลมใช้แบบพิมพ์เดิมหรือเป็นการใช้แบบพิมพ์เดิมที่เหลืออยู่หรือไม่ เมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาและมีคำสั่งให้โจทก์จัดทำคำฟ้องโดยใช้แบบพิมพ์ขนาดเอ 4 ซึ่งเป็นแบบพิมพ์ตามที่กำหนดไว้ท้ายระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมว่าด้วยแบบพิมพ์ศาล พ.ศ.2557 มาใหม่ภายใน 7 วัน จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายและเมื่อโจทก์ทราบคำสั่งดังกล่าวแล้วไม่ปฏิบัติตามภายในเวลาที่กำหนด ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งไม่รับคำฟ้องได้ตามที่บัญญัติไว้ใน ปวิพ.มาตรา 18 วรรคสอง แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง ก็มีผลเท่ากับศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้อง คำสั่งของศาลชั้นต้นในส่วนนี้จึงชอบแล้ว แต่เมื่อกรณีถือว่าเป็นคำสั่งไม่รับคำฟ้องของโจทก์ ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งให้คืนค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นที่โจทก์ชำระไว้แล้วทั้งหมดให้แก่โจทก์ ตาม ปวิพ.มาตรา 151 วรรคหนึ่ง

2. โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบุกรุกที่ดินขอให้บังคับจำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินของโจทก์และให้จำเลยชำระค่าเสียหาย จำเลยให้การฟ้องแย้งว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายเนื่องจากโจทก์กู้ยืมเงินจำเลยและให้จำเลยทำกินในที่ดินพิพาทต่างดอกเบี้ย ถือว่าเป็นคนละเรื่องคนละมูลกรณีกับโจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดฐานละเมิด
คำพิพากษาฎีกาที่ 1458/2560

    โจทก์ฟ้องว่า จำเลยบุกรุกเข้ามาปลูกต้นอ้อยในที่ดินที่โจทก์มีสิทธิครอบครองขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทและเรียกค่าเสียหาย จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าโจทก์อนุญาตให้จำเลยเข้าไปในที่ดินพิพาทจากโจทก์ผู้ยืมเงินจำเลย และให้จำเลยทำประโยชน์ในที่ดินแทนการชำระดอกเบี้ยจนกว่าโจทก์จะชำระเงินกู้ยืมแก่จำเลย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหาย ประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่าจำเลยบุกรุกที่ดินพิพาทหรือไม่ ซึ่งหากฟังข้อเท็จจริงได้ตามที่จำเลยให้การว่าโจทก์อนุญาตให้จำเลยเข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทแทนการชำระดอกเบี้ยเงินกู้ยืม เท่ากับจำเลยไม่ได้บุกรุกที่ดินพิพาท โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลย ศาลต้องพิพากษายกฟ้องโดยไม่ต้องพิจารณาสภาพแห่งข้อหาตามฟ้องแย้งว่าโจทก์เป็นหนี้เงินกู้ยืมจำเลยหรือไม่ ซึ่งเป็นคนละเรื่องคนละมูลกรณีกับที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดฐานละเมิด ฟ้องแย้งของจำเลยจึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินด้วยกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม ประกอบมาตรา 179 วรรคท้าย

3. คดีฟ้องขับไล่ออกจากอสังหาริมทรัพย์ จำเลยกล่าวแก้ข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ในที่ดิน การอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องใช้หลักเกณฑ์เป็นการต่อสู้เรื่องขับไล่ มิใช่ยกข้ออ้างว่าตนมีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน อันเป็นการกล่าวแก้เรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดิน มิใช่คดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวนเป็นราคาได้ ตามหลัก ป.วิ.พ มาตรา 224 
คำพากษาฎีกาที่ 4438/2560

    การที่คู่ความในคดีแพ่งจะใช้สิทธิอุทธรณ์ข้อเท็จจริงตาม ปวิพ. มาตรา 224 วรรคสอง ในคดีฟ้องขับไล่บุคคลใดๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องเกินเดือนละสี่พันบาทได้นั้น ต้องเป็นคดีที่จำเลยซึ่งถูกฟ้องขับไล่ไม่ได้ยกข้อกล่าวอ้างว่าตนมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทขึ้นต่อสู้ แต่คดีนี้จำเลยที่หนึ่งให้การต่อสู้ว่าที่ดินส่วนที่จำเลยที่ 1 ครอบครองอยู่เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 โดยบิดาของจำเลยที่ 1 ได้รับการยกให้มาจากนางเฮง มารดาและครอบครองจนได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์อันเป็นการกล่าวแก้ข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ในที่ดิน จึงไม่ใช่คำร้องให้ปลดเปลื่องทุกอันไม่อาจคำนวณราคาได้หรือเป็นคดีมีทุนทรัพย์ตาม ปวิพ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ไม่ว่าโจทก์จะฟ้องเรียกค่าเสียหายมาด้วยหรือไม่ หรือฟ้องเรียกค่าเสียหายมาเดือนละเท่าไร ก็ไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่โจทก์จะใช้สิทธิ์อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตามปวิพ.มาตรา 224 วรรคสองได้ เมื่อคดีที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยที่ 1 ออกจากที่ดินพิพาทกลายเป็นคดีมีคำขอให้ปลดเปลื่องทุกข์อันอาจคำนวณราคาเป็นเงินได้หรือเป็นคดีมีทุนทรัพย์ จึงต้องใช้หลักเกณฑ์การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงตาม ปวิพ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ซึ่งกฎหมายบัญญัติว่าต้องมีจำนวนทุกทรัพย์พิพาทในชั้นอุทธรณ์กว่า 50,000 บาท จึงจะอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ แต่ราคาที่ดินพิพาทตามที่คู่ความทั้งสองฝ่ายกำหนดคือ 15,000 บาท และโจทก์ไม่ติดใจคัดค้านในส่วนของค่าเสียหายและจำนวนทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์ จึงเท่ากับราคาที่ดินพิพาทซึ่งมีราคาไม่ถึง 50,000 บาท เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้พิพากษาซึ่งนั่งพิจารณาในคดีนั้นในศาลชั้นต้นได้ทำความเห็นแย้งไว้ หรือรับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้ หรือโจทก์ได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์เป็นหนังสือจากอธิบดีผู้พิพากษาภาค 4 ผู้มีอำนาจ โจทก์จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว

4. จำเลยฎีกาว่า ไม่ได้กระทำความผิด ต่อมาจำเลยยื่นคำร้องขอให้การรับสารภาพในชั้นฎีกา ไม่สามารถทำได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 9241/2559 

    จำเลยฎีกา จำเลยไม่ได้กระทำความผิดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ที่ว่าจำเลยขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ขอให้พิพากษายกฟ้องโจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสอง กับให้ยกคำร้องขอให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนของโจทก์ร่วมที่ 2 การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้การรับสารภาพในชั้นฎีกา ถือได้ว่าเป็นการขอแก้ไขคำให้การจากคำให้การปฏิเสธเป็นให้การรับสารภาพ ซึ่งจำเลยไม่สามารถกระทำได้เพราะการแก้ไขคำให้การต้องกระทำก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา ตาม ปวิอ.มาตรา163 วรรคสอง และไม่อาจถือได้ว่าคำร้องดังกล่าวเป็นการขอถอนฎีกาตาม ปวิอ.มาตรา202 ประกอบมาตรา 225 แต่อย่างไรก็ดี คำร้องของจำเลยดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงโดยไม่โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 แล้ว

5. การกระทำกรรมเดียวแต่เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท คดีก่อนศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง คดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์จะถือว่า มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดแล้ว
คำพิพากษาฎีกาที่ 289/2560 

                 คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลชั้นต้นเป็นคดีอาญาในความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ณ. ตาม ปอ.มาตรา 83,295 และเป็นเหตุการณ์ที่จำเลยทั้งสองร่วมกันเข้าไปบุรุกทำร้าย ณ. ในเคหสถานซึ่งอยู่ในความครอบครองของโจทก์ร่วม ซึ่งวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุตลอดจนสาระแห่งการกระทำของจำเลยเป็นเหตุการณ์เดียวกันกับข้อเท็จจริงที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ (ปอ.มาตรา 362,364,365) จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวกันแต่เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ตาม ปอ.มาตรา 90 แม้คดีก่อนศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง และคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 5 ก็ถือได้ว่ามีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจำเลยทั้งสองของโจทก์ในคดีนี้ย่อมเป็นอันระงับไปตาม ปวิอ.มาตรา 39 (4)

ที่มา : หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 1
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก