คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 15|คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 15

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 15

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 15

  • Defalut Image

1. การถ่ายสำเนาบัตรประชาชนผู้อื่น แล้วลงลายมือชื่อปลอม ให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าเป็นเจ้าของบัตร

บทความวันที่ 18 ก.ค. 2562, 10:26

มีผู้อ่านทั้งหมด 1402 ครั้ง


คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 15

1. การถ่ายสำเนาบัตรประชาชนผู้อื่น แล้วลงลายมือชื่อปลอม ให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าเป็นเจ้าของบัตร เป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร ไม่ใช่ปลอมเอกสารราชการ
คำพิพากษาฎีกา 12137/2558

ความผิดฐานปลอมเอกสารต้องเป็นการกระทำต่อเอกสารอันเป็นผลให้เอกสารนั้นผิดแผกแตกต่างไป ด้วยเจตนาให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเอกสารนั้นเป็นเอกสารที่แท้จริง แม้สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนจะเป็นเอกสารราชการ แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่ามีเพียงการปลอมลายมือชื่อของโจทก์ร่วมลงในสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนที่แท้จริงของโจทก์ร่วม โดยไม่มีการเติมหรือตัดทอนข้อความ หรือแก้ไขสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนให้แตกต่างไปจากสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนนี้แต่อย่างใด สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนดังกล่าวยังคงเป็นเอกสารที่แท้จริง การปลอมลายมือชื่อโจทก์ร่วมลงในสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนจึงเป็นเพียงการปลอมเอกสารตาม ป.อ. มาตรา 264 วรรคแรก เท่านั้น เมื่อจำเลยใช้สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของโจทก์ร่วมดังกล่าว จึงไม่เป็นความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอม คงมีความผิดฐานใช้เอกสารปลอมตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 264 วรรคแรก
 
2. ผู้ร่วมกระทำความผิดฐานลักทรัพย์นายจ้าง หากผู้ร่วมกระทำความผิดไม่ใช่ลูกจ้าง ไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์นายจ้างร่วมกัน
คำพิพากษาฎีกาที่ 12888/2558

    จำเลยทั้งสองนำสืบต่อสู้ จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของโจทก์ร่วมจึงมีความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์นายจ้างตาม ป.อ. มาตรา 335 (7) (11) วรรคสอง ส่วนจำเลยที่ 2 มิได้เป็นลูกจ้างของโจทก์ร่วม ย่อมไม่อาจร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานลักทรัพย์นายจ้างได้ จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (7) วรรคแรก

3. สัญญาจ้างเหมาก่อสร้างงานโครงสร้างมีข้อกำหนดห้ามมิให้โอนสิทธิเรียกร้องเว้นแต่เฉพาะสถาบันการเงินเท่านั้น หากผู้รับจ้างโอนสิทธิเรียกร้องไปยังบุคคลภายนอกยอมไม่มีผลใช้บังคับแก่ผู้ว่าจ้าง
คำพิพากษาฎีกาที่ 2230/2558

    สัญญาระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้มีข้อกำหนดห้ามมิให้โอนสิทธิเรียกร้อง เว้นแต่เฉพาะกับสถาบันการเงินเท่านั้น การที่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นจำเลยในคดีนี้โอนสิทธิเรียกร้องให้แก่โจทก์ซึ่งมิใช่สถาบันการเงิน เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่าโจทก์เป็นบุคคลภายนอกผู้กระทำการรับโอนสิทธิเรียกร้องโดยสุจริต จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ตามป.พพ. มาตรา 303 วรรคสอง

4. หนี้อันจะต้องชำระ ณ เวลาที่มีกำหนดแน่นอนและลูกหนี้ผิดนัดแล้วลูกหนี้สั่งจ่ายเช็คลงวันที่ล่วงหน้าชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ จะถือเป็นการผ่อนเวลาการชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้อันจะทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้น
คำพิพากษาฎีกาที่ 2856/2558

    การผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ที่ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดนั้น จะต้องเป็นการตกลงผ่อนเวลาแน่นอนและมีผลว่าในระหว่างผ่อนเวลานั้นเจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องฟ้องร้องไม่ได้ การที่จำเลยที่ 1 ซื้อสินค้าจากดจทก์ โดยจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกัน แล้วจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ แม้จำเลยที่ 1 จะสั่งจ่ายเช็คลงวันที่ล่วงหน้าชำระหนี้ให้แก่โจทก์ แต่เมื่อโจทก์ยังสามารถบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามมูลหนี้ซื้อขายได้ กรณีไม่ใช่เป็นการตกลงกำหนดวันหรือระยะเวลาชำระหนี้ให้เป็นการแน่นอน จึงไม่เป้นการที่เจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้อันจะทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดตามประมวลกกหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 700 (เดิม) จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าว 

5. ผู้เช่าไม่สามารถรื้อถอนอาคารสิ่งปลูกสร้างเดิมและก่อสร้างอาคารและสิ่งปลูกสร้างใหม่ตามแบบแปลนเอกสารท้ายสัญญาเช่าได้ เนื่องจากพื้นที่เช่าได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ผู้เช่าจะฟ้องบังคับให้ผู้ให้เช่าปฎิบัติตามสัญญาเช่าและเรียกค่าเสียหายคืนได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 10514 - 10515/2558

    โจทก์ไม่สามารถเริ่มลงมือก่อสร้างได้ สืบเนื่องมาจากพื้นที่เช่าได้รับการขึ้นทะเบียนจากกรมศิลปากรให้เป็นโบราณสถานภายหลังจากทำสัญญาเช่าแล้ว การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างเดิมและก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างใหม่ของโจทก์เพื่อให้เป็นไปตามสัญญาเช่าย่อมเป็นไปไม่ได้ ถือได้ว่าการชำระหนี้โดยการปฏิบัติตามสัญญากลายเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นภายหลังที่ได้ก่อหนี้และซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบ ลูกหนี้เป็นอันหลุดพ้นจากการชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 219 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงไม่อาจฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามสัญญาและเรียกให้ชดใช้ค่าเสียหายได้ แต่สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งคู่สัญญามีหน้าที่จะต้องชำระหนี้ตอบแทนกัน แม้จำเลยที่ 1 จะหลุดพ้นจากการชำระหนี้ก็ตาม แต่จำเลยที่ 1 ก็หามีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ตอบแทนไม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 372 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเอาค่าตอบแทนการเช่าที่ชำระไปแล้วในวันทำสัญญาคืนจากจำเลยที่ 1 ได้

6. พินัยกรรมมีทั้งลายพิมพ์นิ้วมือและลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรม และมีพยายในพินัยกรรมสองคนลงลายมือชื่อรับรองไว้ในขณะทำพินัยกรรม ดังนี้ พินัยกรรมจึงถูกต้องตามแบบและสมบูรณ์ตามกฎหมาย
คำพิพากษาฎีกาที่ 8687 -8688/2558

    เมื่อจำเลยถึงแก่ความตาย คำสั่งศาลที่ตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกไม่มีผลต่อไป แต่ความรับผิดของผู้จัดการมรดกอันเกิดจากการจัดการมรดกมิชอบมิใช่เป็นการเฉพาะตัวจึงย่อมตกทอดแก่ทายาท ที่ศาลอนุญาตให้ ท. เป็นคู่ความแทนที่จำเลยจึงชอบแล้ว
    พินัยกรรมมีลายมือชื่อพยานสองคนและไม่มีกฎหมายห้ามมิให้พยานในพินัยกรรมเป็นพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือในขณะเดียวกัน เมื่อไม่ปรากฏว่าพยานในพินัยกรรมทั้งสองเป็นบุคคลต้องห้าม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1670 การที่ผู้ทำพินัยกรรมลงลายมือชื่อและพิมพ์ลายนิ้วมือต่อหน้า ช. กับ ห. เมื่อบุคคลทั้งสองลงลายมือชื่อรับรองไว้ในขณะทำพินัยกรรม ตามมาตรา 1665 พินัยกรรมจึงถูกต้องตามแบบและสมบูรณ์ตามกฎหมาย

ที่มา : หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 15

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก