คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 10|คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 10

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 10

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 10

  • Defalut Image

เงินที่ชำระหลังวันทำสัญญา แม้สัญญาจะระบุว่าเป็นส่วนหนึ่งของเงินมัดจำ ก็ไม่ใช่่เงินมัดจำ

บทความวันที่ 9 ก.ค. 2562, 10:25

มีผู้อ่านทั้งหมด 1735 ครั้ง


คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 10

เงินที่ชำระหลังวันทำสัญญา แม้สัญญาจะระบุว่าเป็นส่วนหนึ่งของเงินมัดจำ ก็ไม่ใช่่เงินมัดจำ
คำพิพากษาฎีกาที่ 7122/2549

    สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน ข้อ 3 ระบุว่า ในวันทำสัญญาโจทก์ผู้จะซื้อได้วางเงินมัดจำไว้ส่วนหนึ่งเป็นเงิน 10,000 บาท ส่วนที่เหลือจำนวน 914,000 บาท จะชำระเป็นงวดรายเดือน จำนวน 10 เดือน ดังนั้น เงินที่วางมัดจำไว้ในวันทำสัญญาดังกล่าวจึงมีเพียง 10,000 บาท เท่านั้น ส่วนเงินค่างวดที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยทั้งสามอีก 10 งวด เป็นเงิน 170,000 บาท นั้น แม้ตามสัญญาจะระบุว่าเป็นส่วนหนึ่งของเงินมัดจำ ก็ไม่ใช่เงินมัดจำตามความหมายดังกล่าว แต่เป็นเพียงการชำระราคาที่ดินบางส่วน เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาและจำเลยทั้งสามบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์แล้ว สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวจึงเป็นอันเลิกกัน จำเลยทั้งสามจึงมีสิทธิริบเงินมัดจำจำนวน 10,000 บาท ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 378 (2) ส่วนเงินที่โจทก์ชำระค่าที่ดินบางส่วนดังกล่าว จำเลยทั้งสามต้องให้โจทก์กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 แต่การที่โจทก์และจำเลยทั้งสามตกลงกันให้ริบเงินดังกล่าวได้ตามสัญญาข้อ 13 ข้อตกลงดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับที่กำหนดเป็นจำนวนเงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ถ้าสูงเกินส่วนศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง

ผู้ชนะการประมูลงานก่อนสร้าง จะโอนสิทธิเรียกจะได้รับเงินค่าจ้างก่อนสร้างให้แก่บุคคลอื่นได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 7790/2554

    แม้ขณะจำเลยทำหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินค่าจ้างที่จะได้รับจากองค์การบริหารส่วนตำบลเวียงชัยให้แก่ผู้ร้อง จำเลยเพียงแต่เป็นผู้ชนะการประมูลงานรับเหมาก่อสร้างได้ โดยยังมิได้ทำสัญญาจ้างและเริ่มทำงาน ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้สิทธิในการดำเนินงานก่อสร้างและรับเงินค่าก่อสร้างเมื่อทำงานเสร็จแล้ว สิทธิดังกล่าวอยู่ในสภาพเปิดช่องให้โอนกันได้แล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 303 และเมื่อ ป. นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเวียงชัยเขียนข้อความในหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องว่า "ได้รับทราบและยินยอมในการโอนสิทธิดังกล่วแล้ว" พร้อมกับลงลายมือชื่อและประทับตรา ถือว่าองค์การบริหารส่วนตำบลเวียงชัยลูกหนี้ได้ยินยอมด้วยในการโอนนั้นแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 วรรคหนึ่ง สิทธิที่จะได้รับเงินค่าจ้างก่อสร้างจึงตกเป็นของผู้ร้องแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าขณะโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าว ผู้ร้องได้รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นทางให้โจทก์ต้องเสียเปรียบ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขออายัดเงินดังกล่าวได้

ภาระจำยอมแม้ไม่จดทะเบียนก็สามารถฟ้องร้องกับคู่สัญญาได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 2539/2549

    ฎีกาของจำเลยที่ว่า จำเลยไม่ได้ตกลงให้โจทก์ทำถนนในทางพิพาท โดยจำเลยตกลงจะไปจดทะเบียนทางพิพาทเป็นภาระจำยอม ค่าเสียหายของโจทก์มีจำนวนน้อยกว่า 100,000 บาท เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ เป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและฎีกาของจำเลยที่ว่าโจทก์ถมดินในทางพิพาทเพื่อประโยชน์ของตนเอง แล้วนำคดีมาฟ้องเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต เป็นปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงเสียก่อนว่า จำเลยได้ตกลงให้โจทก์ถมดินในทางพิพาทโดยจำเลยจะไปจดทะเบียนทางพิพาทเป็นภาระจำยอมให้จริงหรือไม่ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายตามที่จำเลยฎีกาเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ฎีกาจำเลยทุกข้อจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง 
    ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคแรก กำหนดให้การได้มาซึ่งทรัพยสิทธิที่มิได้ทำหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่อาจใช้ยันและไม่อาจบังคับบุคคลภายนอกที่มิได้เป็นคู่สัญญาเท่านั้น มิได้เป็นการกำหนดให้นิติกรรมนั้นในส่วนที่เป็นบุคคลสิทธิตกเป็นโมฆะเสียเปล่าไป นิติกรรมดังกล่าวจึงยังคงมีผลผูกพันบังคับกันได้ในระหว่างคู่สัญญา ดังนั้น แม้จะได้ความว่า ข้อตกลงเรื่องภาระจำยอมระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นข้อตกลงที่มิได้จดทะเบียนไว้กับพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ใช้บังคับกันได้ในระหว่างโจทก์กับจำเลย

ออกเช็คชำระหนี้ การกู้ยืมเงินไม่มีหลักฐานในการกู้ยืม แต่หนี้เงินกู้ก็ยังคงอยู่ ผู้ทรงจึงฟ้องเรียกเงินทางตามเช็คได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 9843/2557

    จำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสามฉบับมอบให้โจทก์เพื่อชำระหนี้เงินยืม แม้โจทก์ไม่มีหลักฐานการกู้ยืมเงินโจทก์ และเช็คไม่ถือว่าเป็นหลักฐานในการกู้ยืมเงิน ก็คงมีผลตามมาตรา 653 ว่าโจทก์จะฟ้องร้องให้บังคับคดีการกู้ยืมเงินไม่ได้ แต่หนี้เงินกู้ยังอยู่ ไม่มีผลทำให้หนี้เงินกู้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกเงินตามเช็คที่จำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่าย โจทก์เป็นผู้เรียกเก็บเงินตามเช็คพิพาททั้งสามฉบับ โจทก์จึงเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาททั้งสามฉบับ จำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาททั้งสามฉบับให้แก่โจทก์ตามมาตรา 900 มาตรา 914 ประกอบมาตรา 989

การใช้มือขวาจับมือซ้ายผู้เสียหายออกเพื่อกระชากสร้อยคอเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้าย
คำพิพากษาฎีกาที่ 4891/2549

    การดึงมือผู้เสียหายที่ปิดป้องสร้อยคอออกแล้วกระชากสร้อยคอของผู้เสียหายไป เป็นการกระทำแก่เนื้อตัวหรือกายผู้เสียหาย จึงเป็นการใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อให้ความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือการพาทรัพย์นั้นไป และยึดถือเอาทรัพย์นั้นไว้ อัันเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์

การดัดแปลงมิเตอร์ไฟฟ้าเพื่อใช้ไฟฟ้าฟรี เป็นความผิดฐานลักทรัพย์
คำพิพากษาฎีกาที่ 481/2549

     ศาลฎีกาพิพากษาว่า จำเลยกับพวกลักเอากระแสไฟฟ้าไปใช้ด้วยการทำให้มิเตอร์ไฟฟ้าไม่หมุนเพื่อให้ตัวเลขวัดการใช้ไฟฟ้าไม่เคลื่อนที่ ซึ่งก็ตรงกับข้อเท็จจริงตามรายงานการสืบเสาะและพินิจ พฤติการณ์ดังกล่าวย่อมแสดงว่าจำเลยกระทำโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเอากระแสไฟฟ้าของผู้เสียหายไปใช้โดยไม่เสียค่าไฟฟ้าเป็นสำคัญ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์ และตรงตามคำบรรยายฟ้องและคำขอให้ลงโทษของโจทก์แล้ว กรณีจึงไม่จำต้องพิจารณาต่อไปว่าการกระทำของจำเลยจะเป็นความผิดฐานร่วมกันทำให้เสียทรัพย์หรือไม่

ที่มา : บทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 10

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก