กันผู้ร่วมกระทำความผิดไว้เป็นพยานพิสูจน์ความผิดของจำเลยทำได้หรือไม่|กันผู้ร่วมกระทำความผิดไว้เป็นพยานพิสูจน์ความผิดของจำเลยทำได้หรือไม่

กันผู้ร่วมกระทำความผิดไว้เป็นพยานพิสูจน์ความผิดของจำเลยทำได้หรือไม่

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

กันผู้ร่วมกระทำความผิดไว้เป็นพยานพิสูจน์ความผิดของจำเลยทำได้หรือไม่

  • Defalut Image

คำพิพากษาฎีกาที่ 1287/2531

บทความวันที่ 8 ก.ค. 2562, 10:26

มีผู้อ่านทั้งหมด 697 ครั้ง


กันผู้ร่วมกระทำความผิดไว้เป็นพยานพิสูจน์ความผิดของจำเลยทำได้หรือไม่


คำพิพากษาฎีกาที่ 1287/2531
             พยานโจทก์ซึ่งเป็นผู้ใช้จ้างวานให้จำเลยที่ 1 กับพวกไปฆ่าผู้ตาย นับว่ามีพฤติการณ์เป็นผู้ที่ร่วมกระทำผิดด้วย จึงถือได้ว่าเป็นคำซัดทอดของผู้ที่กระทำผิดเพื่อให้ตนเองพ้นจากการเป็นผู้ต้องหาเพราะพนักงานสอบสวนย่อมจะกันไว้เป็นพยานเพื่อให้เบิกความปรักปรำจำเลยที่ 2 ทำให้มีข้อระแวงสงสัยว่าพยานอาจกระทำตามลำพังเอง หรืออาจได้รับการติดต่อจากบุคคลอื่นซึ่งไม่ใช่จำเลยที่ 2 ทั้งนี้เพื่อให้ตนและผู้ที่ใช้จ้างวานตนพ้นผิด ดังนี้ คำเบิกความของพยานปากดังกล่าวจึงมีน้ำหนักน้อย จะนำมาใช้ยันจำเลยที่ 2 ซึ่งให้การปฏิเสธตลอดมาหาได้ไม่
            การที่จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนว่าพยานปากนี้บอกว่าได้รับการติดต่อจากจำเลยที่ 2 เป็นผู้ว่าจ้างให้ฆ่าผู้ตายนั้นเป็นเพียงพยานบอกเล่าที่จำเลยที่1 ได้รับทราบจากปากคำของพยานเท่านั้น จึงไม่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ.

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก