คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 72 ปีการศึกษา 2562 เล่มที่ 4|คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 72 ปีการศึกษา 2562 เล่มที่ 4

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 72 ปีการศึกษา 2562 เล่มที่ 4

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 72 ปีการศึกษา 2562 เล่มที่ 4

  • Defalut Image

ผู้รับจ้างหลอกลวงผู้ว่าจ้างว่าธนาคารได้ออกหนังสือค้ำประกันแล้ว  และรับเงินค่าจ้างแล้ว ภายหลังปรากฎว่าธนาคารไม่ได้ออกหนังสือค้ำประกัน เป็นความผิดฐานฉ้อโกง 

บทความวันที่ 2 ก.ค. 2562, 10:52

มีผู้อ่านทั้งหมด 2658 ครั้ง


คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 72 ปีการศึกษา 2562 เล่มที่ 4

ผู้รับจ้างหลอกลวงผู้ว่าจ้างว่าธนาคารได้ออกหนังสือค้ำประกันแล้ว  และรับเงินค่าจ้างแล้ว ภายหลังปรากฎว่าธนาคารไม่ได้ออกหนังสือค้ำประกัน เป็นความผิดฐานฉ้อโกง 
คำพิพากษาฎีกาที่ 6404/2560

               ตามระเบียบการทำสัญญาจ้างทำความสะอาดโรงพยาบาล ช. ผู้รับจ้างจะต้องมีหนังสือค้ำประกันของธนาคารมายื่นให้ผู้ว่าจ้างเพื่อเป็นการค้ำประกันในกรณีที่ผู้รับจ้างก่อให้เกิดความเสียหายใด ๆ หรือต้องชำระค่าปรับ หรือค่าใช้จ่ายใดๆ หรือผู้รับจ้างมิได้ปฏิบัติตามภาระหน้าที่ใดๆ ที่กำหนดในสัญญาจ้าง หากผู้รับจ้างคนใดไม่มีหนังสือค้ำประกันของธนาคารมาแสดง ก็ไม่อาจทำสัญญาจ้างผู้รับจ้างคนดังกล่าวได้ การที่จำเลยทั้งสองประสงค์จะให้ร้านของจำเลยทั้งสองได้รับงานจ้างทำความสะอาดโรงพยาบาล ข. จึงหลอกลวงนำหนังสือค้ำประกันของธนาคาร ก. ที่ว่า  ธนาคารยอมผูกพันตนโดยไม่มีเงื่อนไขที่จะค้ำประกันชนิดเพิกถอนไม่ได้เช่นเดียวกับลูกหนี้ชั้นต้นในการชำระเงินให้ตามสิทธิเรียกร้องของโรงพยาบาล ช. ผู้ว่าจ้าง  ในกรณีที่ร้านของจำเลยทั้งสองผู้รับจ้างก่อให้เกิดความเสียหายใดๆ หรือต้องชำระค่าปรับหรือค่าใช้จ่ายใดๆ หรือร้านของจำเลยทั้งสองผู้รับจ้างมิได้ปฏิบัติตามภาระหนี้ใดๆ ที่กำหนดในสัญญาจ้างมาแสดงต่อความจริงแล้วธนาคารมิได้ออกหนังสือค้ำประกันดังกล่าวให้แก่จำเลยทั้งสอง การหลอกลวงดังกล่าวเป็นการกระทำเพื่อแสวงหาประโยชน์มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับร้านของจำเลยทั้งสอง เพราะหากร้านของจำเลยทั้งสองไม่มีหนังสือค้ำประกันของธนาคารผู้เสียหายไม่ยอมทำสัญญาจ้างทำของจำเลยทั้งสอง  การหลอกลวงดังกล่าวจึงเป็นการกระทำโดยทุจริต และการหลอกลวงโดยทุจริตดังกล่าวเป็นเหตุให้ผู้เสียหายหลงเชื่อตกลงทำสัญญาจ้างร้านของจำเลยทั้งสองทำความสะอาดโรงพยาบาล ช. ซึ่งเป็นการก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยทั้งสองในการที่จะเข้าไปทำความสะอาดโรงพยาบาล ช. อันเป็นการหลอกลวงโดยทุจริตให้ผู้เสียหายเข้าสัญญาจ้างอันเป็นเอกสารสิทธิ เมื่อการหลอกลวงโดยทุจริตเป็นเหตุให้ผู้เสียหายหลงเชื่อตกลงทำสัญญาจ้างร้านของจำเลยทั้งสองทำความสะอาดกับโรงพยาบาล ช. โรงพยาบาล ช. จึงให้สิทธิจำเลยทั้งสองเข้ารับงานอันเป็นผลให้จำเลยทั้งสองมีโอกาสเข้าทำความสะอาดโรงพยาบาล ช. และได้ทรัพย์สินเป็นเงินค่าจ้างจากการทำงาน 108,000 บาท จึงถือได้ว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงแล้ว  แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าภายหลังทำสัญญาจำเลยทั้งสองเข้าทำความสะอาดโรงพยาบาล ช. จริง โรงพยาบาล ช. จึงตรวจรับงานและอนุมัติค่าจ้างงวดแรกให้แก่ร้านของำจเลยทั้งสอง 108,000 บาท แต่การเข้าทำงานดังกล่าวก็เนื่องมาจากจำเลยทั้งสองโดยทุจริตหลอกลวงผู้เสียหายหลงเชื่อทำสัญญาจ้างร้านของจำเลยทั้งสองทำความสะอาดโรงพบาบาล ช. ดังนั้น การที่จำเลยทั้งสองเข้าทำความสะอาดโรงพยาบาล ช. จริงงก็ไม่เป็นเหตุให้การกระทำความผิดอาญาของจำเลยทั้งสองที่เกิดขึ้นแล้วกลับกลายไม่เป็นความผิด  การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงตามฟ้องแล้ว
              จำเลยทั้งสองโดยทุจริตหลอกลวงผู้เสียหายว่า ธนาคาร ก. ได้ออกหนังสือค้ำประกันให้ร้านของจำเลยทั้งสอง แต่ความจริงแล้วธนาคารมิได้ออกหนังสือค้ำประกันดังกล่าวให้แก่ร้านของจำเลยทั้งสอง  โดยการหลอกลวงดังกล่าวเป็นเหตุให้ผู้เสียหายหลงเชื่อตกลงทำสัญญาจ้างร้านของจำเลยทั้งสองให้ทำความสะอาดอาคารโรงพยาบาล ช. หากจำเลยทั้งสองไม่มีหนังสือค้ำประกันจากะนาคาร ผู้เสียหายจะไม่เข้าทำสัญญาจ้างกับจำเลยทั้งสอง  กรณีจึงถือได้ว่านิติกรรมสัญญาจ้างระหว่างผู้เสียหายกับจำเลยทั้งสองเกิดจากกลฉ้อฉลถึงขนาด สัญญาจ้างดังกล่าวจึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 159 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง  เมื่อผู้เสียาหายบอกเลิกสัญญาอันเป็นการบอกล้างโมฆียะกรรม ทำให้สัญญาจ้างตกเป็นโมฆะตั้งแต่วันทำสัญญา ผู้เสียหายและจำเลยทั้งสองจึงต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม ตาม ป.พ.พ.มาตรา 176 วรรคหนึ่ง แม้การที่จะให้จำเลยทั้งสองคืนเงินค่าจ้างทำความสะอาดแก่ผู้เสียหายไม่เป็นการพ้นวิสัย แต่การงานที่จำเลยทั้งสองทำให้ผู้เสียหายไปแล้วซึ่งเป็นประโยชน์แก่ผู้เสียหาย และผู้เสียหายยอมรับเอาการงานของจำเลยทั้งสองแล้ว ตามหนังสือขออนุมัติเบิกจ่ายเงิน ผู้เสียหายก็ต้องกลับคืนไปยังฐานะเดิมด้วยเช่นกัน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 176 วรรคหนึ่ง เมื่อการที่จะให้การงานที่ทำไปแล้วกลับคืนยังฐานะเดิมเป็นการพ้นวิสัย ผู้เสียหายจึงต้องใช้ค่าเสียหายที่สมควรแก่หน้าที่การงานให้แก่จำเลยทั้งสอง โดยถือว่าค่าจ้างตามฟ้องที่จำเลยทั้งสองได้รับไปแล้วเป็นค่าเสียหายจำนวนนั้น  ผู้เสียหายจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาเงินดังกล่าวคืนจากจำเลยทั้งสองอีก

ผู้ถือหุ้นจะฟ้องเพิกถอนนิติกรรมสัญญาที่กรรมการบริษัทกระทำไปตามอำนาจหน้าที่ไม่ได้
คำพิพากษาฎีกาที่  4605/2561

             โจทก์กล่าวอ้างว่าเป็นผู้ถือหุ้นที่แท้จริงในบริษัทจำเลยที่ 1 โดยบรรดาผู้ถือหุ้นทุกคนของบริษัทจำเลยที่ 1 ถือหุ้นแทนโจทก์ หกเป็นจริงดังที่กล่าวอ้างโจทก์มีสถานะเป็นเพียงผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นกรรมการบริษัทซึ่งเป็นผู้แทนนิติบุคคลของบริษัท จะมีสิทธิแต่เพียงควบคุมการดำเนินงานของกรรมการบริษัททุกประการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้เท่านั้น  หาอาจก้าวล่วงเข้าไปจัดการงานของบริษัทเสียเองได้ไม่ หรือหากกรรมการทำให้เกิดความเสียหายแก่บริษัท  ซึ่งบริษัทมีสิทธิจะฟ้องร้องเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนแก่กรรมการ แล้วบริาทไม่ยอมฟ้องร้อง ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคนใดจะเอาคดีนั้นขึ้นว่ากันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1169 วรรคหนึ่ง อันเป็นการใช้สิทธิของบริษัทเพื่อประโยชน์ของบริษัท แต่ผู้ถือหุ้นอาจจะเข้ามาดำเนินการฟ้องเพิกถอนนิติกรรมสัญญาที่กรรมการของบริษัทกระทำไปตามอำนาจหน้าที่ไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้พิพากษาแสดงว่านิติกรรมการจดทะเบียนซื้อขายทรัพย์สินตามฟ้องระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 5 ตกเป็นโมฆะ และโอนทรัพย์สินกลับมาเป็นของจำเลยที่ 1 ตามเดิม หากไม่สามารถกระทำได้ให้จำเลยที่ 1  ถึงที่ 3 และที่ 5 ร่วมกันชำระเงินแทน แม้ทรัพย์สินตามฟ้องจะเป็นที่ดินที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนซื้อจากบริษัท อ. ซึ่งโจทก์เป็นผู้จดทะเบียนจัดตั้ง มีชื่อถือหุ้น และมีชื่อเป็นกรรมการของบริษัทคนหนึ่งในช่วงที่มีการจดทะเบียนขายให้แก่จำเลยที่ 1 เพื่อให้จำเลยที่ 1 นำมาเป็นหลักประกันประกอบการขอสินเชื่อจากธนาคารก็ดี เครื่องจักรในนามของจำเลยที่ 1 ที่โจทก์ ออกเงินทดลองจ่ายไปก็ดี  ก็ไม่อาจทำให้โจทก์กลายเป็นเจ้าของที่ดินและเครื่องจักรไปได้แต่เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1  ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้ถือหุ้นทั้งหลายซึ่งรวมเข้ากันเป็นบริษัทนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1015

คำพิพากษาฎีกาที่  4065/2561
             บทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1169  เป็นกรณีที่ผู้ถือหุ้นให้สิทธิฟ้องแทนหรือฟ้องเพื่อประโยชน์ของบริษัท เฉพาะกรณีที่บริษัทไม่ฟ้องและเป็นการฟ้องเรีกยร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากรรมการของบริษัท การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสาม ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท ท. โดยมีคำขอให้พิพากษาว่าหนังสือยืนยันการชำระค่าหุ้นและการเก็บรักษาค่าหุ้น  สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นในการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น และบันทึกข้อตกลงแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตกเป็นโมฆะกับให้เพิกถอนสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นและบันทึกข้อตกลงแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้มิใช่เป็นการฟ้องเพื่อเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยทั้งสาม  โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเพื่อเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยทั้งสาม โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามในส่วนนี้
             โจทก์เป็นเพียงผู้ถือหุ้นและไม่มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท ท. คงมีสิทธิเพียงควบคุมการดำเนินงานของบริษัท ท. บางประการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้จึงหาอาจก้าวล่วงเข้าไปจัดการงานของบริษัท ท. โดยกล่าวอ้างว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการยกเอาความเสียเปล่าแห่งนิติกรรมซึ่งได้กระทำโดยจำเลยทั้งสามในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท ท. ซึ่งตกเป็นโมฆะขึ้นกล่าวอ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 วรรคหนึ่ง หาได้ไม่  โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามในส่วนนี้เช่นกัน

ที่มา : บทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 72 ปีการศึกษา 2562 เล่มที่ 4

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก