เลิกจ้างไม่จำเป็นต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งยินยอม|เลิกจ้างไม่จำเป็นต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งยินยอม

เลิกจ้างไม่จำเป็นต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งยินยอม

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

เลิกจ้างไม่จำเป็นต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งยินยอม

  • Defalut Image

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5737/2561

บทความวันที่ 2 พ.ค. 2562, 16:52

มีผู้อ่านทั้งหมด 2542 ครั้ง


เลิกจ้างไม่จำเป็นต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งยินยอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5737/2561
                สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับบริษัทนายจ้างเป็นสัญญาที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา ซึ่งการบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงานที่ไม่มีกำหนดระยะเวลานั้น นายจ้างหรือลูกจ้างมีสิทธิแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงานได้แต่เพียงฝ่ายเดียวโดยไม่จำต้องให้มีอีกฝ่ายหนึ่งยินยอมตกลงหรืออนุมัติ แม้ตามสัญญาจ้างแรงงานระบุว่า ถ้าลูกจ้างจะประสงค์บอกเลิกสัญญาลูกจ้างต้องแจ้งเป็นหนังสือให้นายจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน  และจำเลยจะอ้างว่าโจทก์ลาออกนั้นเป็นเพียงขั้นตอนและระเบียบปฎิบัติภายในของของบริษัทนายจ้าง ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงการแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาของโจทก์ได้  สัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับบริษัทนายจ้างจึงเป็นอันสิ้นสุดลงตามหนังสือขอลาออกของโจทก์ และโจทก์ไม่มีหน้าที่ที่จะต้องทำงานให้แก่บริษัทนายจ้างอีกต่อไป การที่จำเลยอ้างในอุทธรณ์ว่าโจทก์ขาดงานตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน 2558 เป็นต้นไปติดต่อกันเกิน 3 วัน บริษัทนายจ้างจึงพิจารณาเลิกจ้างโจทก์นั้น จึงหามีผลตามกฎหมายไม่เพราะสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับบริษัทนายจ้างได้สิ้นสุดลงไปก่อนหน้านั้นแล้ว จึงไม่อาจมีการบอกเลิกสัญญาได้อีก
    ตามข้อบังคับกองทุนเฉพาะส่วนของบริษัทนายจ้างและข้อบังคับของกองทุนจำเลยดังกล่าวจะเข้ากรณีที่ยกเว้นไม่ต้องจ่ายเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบให้แก่ลูกจ้างที่เป็นสมาชิกของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเฉพาะในกรณีที่ลูกจ้างที่เป็นสมาชิกถูกไล่ออกหรือถูกนายจ้างเลิกจ้างเท่านั้น  ไม่รวมถึงกรณีที่ลูกจ้างลาออกด้วย เมื่อสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับบริษัทนายจ้างสิ้นสุดลงเพราะโจทก์มีหนังสือขอลาออกมิใช่เพราะโจทก์ถูกไล่ออกหรือถูกเลิกจ้าง ย่อมไม่เข้าข้อยกเว้นที่จำเลยไม่ต้องจ่ายเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบให้แก่โจทก์ แม้หลังจากที่โจทก์ลาออกจากบริษัทนายจ้างแล้ว โจทก์ไปทำงานที่บริษัท จ. ซึ่งประกอบธุรกิจประเภทเดียวกันและเป็นคู่แข่งทางการค้าโดยตรงกับบริษัทนายจ้างอันเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงาน ก็เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับบริษัทนายจ้าง โดยบริษัทนายจ้างต้องไปว่ากล่าวกันเองกับโจทก์อีกส่วนหนึ่งต่างหาก เมื่อโจทก์มิได้พ้นจากการเป็นลูกจ้างด้วยเหตุถูกบริษัทนายจ้างไล่ออกหรือเลิกจ้าง การที่จำเลยไม่จ่ายเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบให้แก่โจทก์จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยจ่ายเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบให้แก่โจทก์ได้

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 2

กรณีให้ออกแต่ไม่จ่ายเงินรายได้....สามารถร้องเรียนหน่วยงานใดได้หรือไม่ 

1.'แบ่งรายได้ด้วยเปอร์เซ็นจากยอดขาย เจ้าของกิจการ 100รับ 65% ลูกจ้าง 100%รับ35%  

2.เวลาเข้า-ออกงาน มี2 รอบ โดยสลับ วันเว้นเวลาพักเบรค(ไม่มีแจ้งว่ามีหรือไม่มี)

2.1.เข้างาน11:00น.เวลาเลิก23:00น.

2.2.งาน13:00น.เวลาเลิกคือ00:00น.

รวมเวลาทำงาน 11-12 ชม./วัน  สายหัก ชม.ละ100 

3.กรณีหยุด ต้องจ่ายเงินให้ร้านหรือหักจากรายได้ของลูกจ้าง จำนวน 500-1000บาท/วัน 

4.กรณีลาป่วย 

4.1. ไม่มีใบรับรองแพทย์และสลิปการจ่ายเงิน ลูกจ้างต้องจ่ายเงินให้ร้าน 500-1000 บาท.

4.2.มีใบรับรองแพทย์ไม่สลิปการจ่ายเงิน ลูกจ้างก็ต้องจ่ายเงินให้กับทางร้านเช่นกัน

สาเหตุคือ!!

พึ่งเริ่มงานใหม่ด้วยโรคประจำตัวจึงหยุดงาน กระทันทันหัน ในวันที่หยุด ด้วยอาการป่วยจึงไม่ได้แจ้งให้ทางร้านทราบ ร้านเปิดให้บริการ รู้สึกตัวได้จะแจ้งทางร้าน แต่ทางร้านแจ้งผ่านคนแนะนำ "ไม่ต้องมาทำงานแล้ว" เราก็ได้แจ้งสาเหตุว่าเพราะอะไร 2วันติดกัน ทำงานเกือบ20 ชม.ในวันนึงห้ามไม่ให้เบรคทานข้าวเนื่องจากรับลูกค้าแล้ว ต้องเดินกตากไฝนไปทำงานให้อีกสาขาหนึ่ง ทั้ง2 วันติด กฏระเบียบไม่ชัดเจน จากยอดเงินที่ทำได้ แม้จะหักตามกฏก็ยังมียอดคงเหลือ แต่ทางร้านแจ้งทำงานไม่ครบกำหนด"ไม่จ่าย" 

ก็เลยงงกับเหตุการณ์ แจ้งช้าเพราะป่วย ก็ให้ออกโดยไม่จ่ายเงินเรา ได้ด้วยหรอ เพียงเพราะเริ่มงานใหม่แล้วหยุดเพราะป่วยจากการทำงานไม่ถึงอาทิตย์ เรายังมีสิทธิ์ที่จะได้เงินที่เป็นส่วนของเราได้หรือไม่อย่างไรคะ.


โดยคุณ ต้องมีสักวันที่ดี88 11 มิ.ย. 2562, 20:45

ความคิดเห็นที่ 1

ขอบคุณครับมีประโยชน์มากจริงๆครับคุณ







โดยคุณ slotslotonline 15 พ.ค. 2562, 22:17

ตอบความคิดเห็นที่ 1


โดยคุณ slotslotonline 15 พ.ค. 2562, 22:18

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก