ละเมิดอำนาจศาล การคุ้มครองกระบวนการยุติธรรม|ละเมิดอำนาจศาล การคุ้มครองกระบวนการยุติธรรม

ละเมิดอำนาจศาล การคุ้มครองกระบวนการยุติธรรม

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ละเมิดอำนาจศาล การคุ้มครองกระบวนการยุติธรรม

  • Defalut Image

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 57/2520

บทความวันที่ 28 มี.ค. 2562, 10:19

มีผู้อ่านทั้งหมด 535 ครั้ง


ละเมิดอำนาจศาล การคุ้มครองกระบวนการยุติธรรม

1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 57/2520 (เคยถูกสั่งห้ามเข้าบริเวณศาล ต่อมาหากมีเหตุจำเป็นสามารถเข้ามาในบริเวณศาลได้)
              การที่ศาลจะออกข้อกำหนดใด ๆ โดยอาศัยอำนาจตามประมวลวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 30 จะต้องเป็นกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อรักษาความเรียบร้อยในบริเวณศาล และเพื่อให้กระบวนพิจารณาดำเนินไปตามเที่ยงธรรมและรวดเร็วเท่านั้น
              ท. เรียกเอาเงินจากจำเลยและคู่ความคดีอื่นโดยอ้างว่าเป็นค่าเขียนคำร้องศาลชั้นต้นมีคำสั่งห้ามมิให้ ท. เข้ามาในบริเวณศาลในวันเปิดทำการซึ่งรวมทั้งวันอื่น ๆ ต่อมาไม่ว่ากรณีใด ๆ จึงเป็นการเกินเลยบทบัญญัติมาตราดังกล่าวและไม่ชอบ ดังนั้น ต่อมา ท. มีเหตุจำเป็นเข้ามาในบริเวณศาลในขณะที่ศาลเปิดทำการ อ้างว่าเป็นเพื่อน ส.เพื่อฟังศาลตัดสินเรื่องบุตรชาย ส. ถูกฟ้องกับ ช. ทนายความให้นำเงินมาให้ที่ศาล ท. มิได้เข้ามาในบริเวณศาลเพื่อสร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชนการกระทำของ ท. หาเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลไม่

2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4599/2551 (ทนายความให้สินบนเจ้าพนักงานศาล ผิดละเมิดอำนาจศาล)
             เงินที่ผู้ถูกกล่าวหาที่ 3 มอบให้หม่อมหลวง ฐ. เพื่อนำไปแบ่งกับเจ้าหน้าที่ในแผนกมีจำนวนมากถึง 2,000,000 บาท แสดงให้เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาทั้งสามมีเจตนาที่จะจูงใจให้หม่อมหลวง ฐ. และเจ้าหน้าที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง การกระทำอันมิชอบด้วยหน้าที่ซึ่งอาจเชื่อมโยงไปเป็นประโยชน์แก่จำเลยในคดี การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาทั้งสามจึงเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล เป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 31 (1), 33 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 และน่าจะมีมูลความผิดฐานให้สินบนแก่เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 144 หรือความผิดอื่นต่อเจ้าพนักงาน การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาทั้งสามเป็นการกระทำที่อุกอาจท้าทายและเกิดขึ้นที่ศาลฎีกา ซึ่งเป็นศาลยุติธรรมขั้นสูงสุดของประเทศ ผู้ถูกกล่าวหาทั้งหาประกอบอาชีพทนายความและที่ปรึกษากฎหมายย่อมตระหนักดีว่าการกระทำของผู้ถูกกล่าวหาทั้งสามจะทำให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันศาลยุติธรรมและจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อถือและความศรัทธาในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรในอำนาจตุลาการ จึงเห็นสมควรลงโทษสถานหนักเพื่อนมิให้เป็นเยี่ยงอย่างอีกต่อไป ให้จำคุกผู้ถูกกล่าวหาทั้งสามคน 6 เดือน ส่วนความผิดให้สินบนแก่เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 144 หรือความผิดอื่นต่อเจ้าพนักงานให้ผู้ถูกกล่าวหาไปดำเนินการตามกฎหมายแก่ผู้ถูกกล่าวหาทั้งสามและผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไป

3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3518/2554 (เรียกสินบนนอกศาล ไม่ผิดละเมิดอำนาจศาล)
             ผู้ถูกกล่าวหาอ้างว่าจะนำเงินไปวิ่งเต้นผู้ใหญ่ในศาลเพื่อให้ ณ. ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยก็ตาม แต่ก็ได้ความว่าการเรียกเงินและรับเงินนั้นได้กระทำที่สถานีตำรวจนครบาลลุมพินี ซึ่งอยู่ห่างไกลจากศาลชั้นต้นมากไม่มีผลต่อความสงบเรียบร้อยในบริเวณศาล หรือเป็นอุปสรรคขัดขวางมิให้กระบวนพิจารณาของศาลดำเนินไปโดยเที่ยงธรรม ดังนั้น แม้การเรียกรับเงิน อ้างว่าจะไปวิ่งเต้นผู้ใหญ่ในศาลเพื่อให้ปล่อยตัวชั่วคราว จะเข้าข่ายเป็นความผิดอาญาร้ายแรง กระทบต่อชื่อเสียงเกียรติคุณของสถาบันศาลยุติธรรม สมควรลงโทษให้หลาบจำมิให้เป็นเยี่ยงอย่างต่อไป แต่เมื่อการกระทำความผิดกฎหมายดังกล่าวเกิดขึ้นนอกบริเวณศาลก็จำต้องให้ดำเนินการไปตามขั้นตอนกระบวนการยุติธรรมคดีอาญากรณียังถือไม่ได้ว่าเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลชั้นต้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 31 (1)
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก