ถ้าผู้รับเหมาไม่ยอมทำงานต่อ จ้างคนอื่นทำแทนได้  |ถ้าผู้รับเหมาไม่ยอมทำงานต่อ จ้างคนอื่นทำแทนได้  

ถ้าผู้รับเหมาไม่ยอมทำงานต่อ จ้างคนอื่นทำแทนได้  

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ถ้าผู้รับเหมาไม่ยอมทำงานต่อ จ้างคนอื่นทำแทนได้  

  • Defalut Image

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11777/2554

บทความวันที่ 15 มี.ค. 2562, 13:45

มีผู้อ่านทั้งหมด 1338 ครั้ง


ถ้าผู้รับเหมาไม่ยอมทำงานต่อ จ้างคนอื่นทำแทนได้  

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11777/2554
                ตามหนังสือสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างมีข้อตกลงว่า โจทก์ต้องนำหนังสือค้ำประกันผลงานในวงเงินร้อยละ 10 ของมูลค่างานทั้งหมด มีกำหนดระยะเวลา 1 ปี มอบให้แก่จำเลยเป็นการประกันต่อไปหลังจากส่งมอบงานและรับเงินงวดสุดท้ายแล้ว โดยจำเลยจะคืนให้เมื่อโจทก์พ้นจากข้อผูกพันตามสัญญาข้อที่ว่าหากมีเหตุชำรุดเสียหายเกิดขึ้นแก่งานจ้างภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับมอบงาน โจทก์ต้องทำการแก้ไขให้เรียบร้อยภายในเวลาที่จำเลยกำหนด หากบิดพลิ้วไม่แก้ไขเสีย จำเลยมีสิทธิจ้างผู้อื่นมาทำงานจ้างแทนโจทก์ได้ ซึ่งตามมาตรา 198 บัญญัติถึงกรณีนี้ไว้ว่า ถ้าการอันมีกำหนดพึงกระทำเพื่อชำระหนี้นั้น มีหลายอย่าง แต่จะต้องกระทำเพียงอย่างเดียว สิทธิจะเลือกทำการอย่างใด ตกแก่ฝ่ายลูกหนี้ เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น และมาตรา 199 บัญญัติไว้ว่า การเลือกให้ทำด้วยการแสดงเจตนาแก่คู่กรณี และหากเลือกแล้วให้ถือว่าเป็นอย่างเดียวที่ต้องกระทำแต่ต้นมา และหากฝ่ายใดมีสิทธิเลือก มิได้เลือกในกำหนดเวลานั้น สิทธิจะตกไปอยู่แก่อีกฝ่าย เมื่อไม่ปรากฏว่า โจทก์ได้แสดงเจตนาจะเลือกการชำระหนี้ด้วยทางใด สิทธิจึงตกแก่จำเลย เมื่อจำเลยแจ้งให้โจทก์แก้ไข แต่โจทก์เพิกเฉย จำเลยย่อมมีสิทธิยึดหน่วงหนังสือค้ำประกันไว้จนกว่าโจทก์จะแก้ไขความชำรุดนั้น ตามทางที่จำเลยเลือกได้

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก