คำให้การของผู้ต้องหาเมื่อถูกจับกุม มีความน่าเชื่อถือมากกว่าคำให้การของจำเลยในชั้นศาล |คำให้การของผู้ต้องหาเมื่อถูกจับกุม มีความน่าเชื่อถือมากกว่าคำให้การของจำเลยในชั้นศาล

คำให้การของผู้ต้องหาเมื่อถูกจับกุม มีความน่าเชื่อถือมากกว่าคำให้การของจำเลยในชั้นศาล

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คำให้การของผู้ต้องหาเมื่อถูกจับกุม มีความน่าเชื่อถือมากกว่าคำให้การของจำเลยในชั้นศาล

  • Defalut Image

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1481/2548  

บทความวันที่ 13 มี.ค. 2562, 09:38

มีผู้อ่านทั้งหมด 1035 ครั้ง


คำให้การของผู้ต้องหาเมื่อถูกจับกุม มีความน่าเชื่อถือมากกว่าคำให้การของจำเลยในชั้นศาล เพราะไม่มีโอกาสคิดปรับปรุงแต่งเพื่อสู้คดี 

1.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1481/2548
                คำให้การในชั้นสอบสวนของ ส. และ ช. แม้จะมีลักษณะเป็นคำซัดทอดในระหว่างผู้ต้องหาด้วยกัน แต่ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้รับฟังคำให้การเช่นว่านี้เสียทีเดียว หากการซัดทอดมีเหตุผลรับฟังได้ศาลก็มีอำนาจรับฟังประกอบการพิจารณาได้ ทั้งคำให้การดังกล่าวก็ไม่ปรากฏว่ามีเหตุจูงใจว่าให้การเพื่อให้ตนพ้นความผิดหรือได้รับประโยชน์แต่อย่างใด ศาลจึงรับฟังคำให้การของ ส. และ ช. ประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้
               เมื่อปรากฏว่าจำเลยเป็นคนร้ายร่วมกับพวกในการปล้นทรัพย์ แต่ผู้เสียหายและผู้ตายมิได้ถูกยิงในขณะจำเลยกับพวกร่วมกันปล้นทรัพย์ แต่ถูกยิงขณะจำเลยกับพวกพาผู้เสียหายและผู้ตายไปห่างไกลจากที่เกิดเหตุปล้นทรัพย์ถึง 4 กิโลเมตรและอยู่ในท้องที่ต่างตำบลกับท้องที่เกิดเหตุปล้นทรัพย์ ดังนั้น การที่ผู้เสียหายและผู้ตายถูกยิงได้รับบาดเจ็บสาหัสและถึงแก่ความตาย จึงมิใช่เป็นผลจากการยิงต่อเนื่องกับการปล้นทรัพย์ การปล้นทรัพย์ได้ขาดตอนไปแล้ว การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 วรรคสาม วรรคสี่ และวรรคท้าย ปัญหานี้แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4310 - 4311/2547
               แม้คดีนี้ จ. และ ผ. พยานโจทก์จะเป็นผู้ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยทั้งสอง คำเบิกความของ จ. และคำให้การในชั้นสอบสวนของ ผ. จึงถือได้ว่าเป็นคำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันและถูกพิพากษาลงโทษไปแล้วในความผิดฐานเดียวกันกับจำเลยทั้งสอง ที่ระบุว่าจำเลยทั้งสองเป็นคนร้ายที่ร่วมกันลักทรัพย์ด้วย คำซัดทอดดังกล่าวก็มิได้เป็นเรื่องบอกปัดความผิดของผู้ซัดทอดให้เป็นความผิดแต่เฉพาะจำเลยทั้งสองเท่านั้น หากแต่เป็นการเบกความและให้การถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากการกระทำผิดของตนยิ่งกว่าเป็นการปรักปรำจำเลยทั้งสอง ทั้งไม่มีเหตุจูงใจที่จะเบิกความและให้การเพื่อให้ตนเองพ้นผิดหรือได้รับประโยชน์จากการกระทำของตนไม่ ดังจะเห็นได้ว่าเมื่อเบิกความตอบทนายจำเลยทั้งสองถามค้าน จ. พยายามเบิกความบ่ายเบี่ยงว่าจำเลยทั้งสองไม่ใช่คนร้ายรายนี้เพื่อช่วยเหลือจำเลยทั้งสอง ดังนั้นคำเบิกความและคำให้การของ จ. และ ผ. จึงมิใช่เป็นพยานหลักฐานที่จะรับฟังไม่ได้เสียเลยเพียงแต่มีน้ำหนักน้อย และจะต้องรับฟังด้วยความระมัดระวังประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ ซึ่งคำให้การชั้นสอบสวนของ จ. และ ผ. สอดคล้องกับคำเบิกความชั้นพิจารณาและสอดคล้องเชื่อมโยงกับคำให้การและคำเบิกความของ ว. พยานโจทก์อีกปาก ซึ่งนับว่าเป็นพยานพฤติเหตุแวดล้อมกรณีใกล้ชิดในขณะเกิดเหตุ ฟังประกอบพยานโจทก์ทั้งสองดังกล่าวมีน้ำหนักรับฟังลงโทษจำเลยทั้งสองได้
3.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 810 - 813/2544
              คำให้การของ ส. ซึ่งเป็นผู้กระทำผิด ที่พาดพิงถึงจำเลยมีลักษณะเป็นการซัดทอด แต่ก็ใช่ว่าจะรับฟังไม่ได้เสียทีเดียว และ ส. ไม่ได้ เป็นจำเลยในคดีนี้ มิใช่เป็นการซัดทอดจำเลยในคดีเดียวกันทั้ง ส. มาเบิกความด้วยตนเองโดยตรงต่อศาล มิใช่พยานบอกเล่าจึงรับฟังได้
4.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 64/2540
             พยานโจทก์ทั้งสามไม่เคยมีสาเหตุกับจำเลยที่2มาก่อนเบิกความถึงพฤติการณ์ที่จำเลยทั้งสองร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายอย่างสอดคล้องเชื่อมโยงกันกอปรด้วยเหตุผลและจำเลยที่2ให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมและสอบสวนโดยสมัครใจคำรับสารภาพดังกล่าวย่อมใช้ยันจำเลยที่2ในชั้นพิจารณาได้และโจทก์ยังมีคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยที่1ที่ให้การว่าจำเลยที่2มีส่วนร่วมในการกระทำผิดซึ่งแม้จะเป็นคำซัดทอดของผู้กระทำผิดด้วยกันแต่ก็ไม่มีกฎหมายห้ามมิให้รับฟังศาลมีอำนาจรับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้พยานหลักฐานของโจทก์จึงมีน้ำหนักเชื่อได้โดยปราศจากสงสัยว่าจำเลยที่2ได้ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่1จริง
5.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 937/2536
               ชั้นสอบสวนจำเลยที่ 1 ให้การซัดทอดจำเลยที่ 2 ซึ่งคำให้การซัดทอดดังกล่าว จำเลยที่ 1 ได้ให้การต่อพนักงานสอบสวนทันทีในวันที่จำเลยที่ 1 ถูกจับเป็นการยากที่จำเลยที่ 1 จะปรุงแต่งขึ้นไว้เพื่อต่อสู้คดีหรือปรักปรำจำเลยที่ 2 ทั้งเป็นคำให้การที่มิได้เกิดจากการจูงใจ มีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญหลอกลวงหรือโดยมิชอบประการอื่น และคำให้การชั้นสอบสวนของผู้กระทำผิดด้วยกันก็ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้ศาลรับฟังแต่อย่างไร ดังนั้นคำให้การของจำเลยที่ 1 ในชั้นสอบสวนศาลย่อมนำมาฟังประกอบการพิจารณาลงโทษจำเลยที่ 2 ได้

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก