คำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันไม่มีกฎหมายห้ามรับฟัง|คำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันไม่มีกฎหมายห้ามรับฟัง

คำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันไม่มีกฎหมายห้ามรับฟัง

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันไม่มีกฎหมายห้ามรับฟัง

  • Defalut Image

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1325/2542

บทความวันที่ 13 มี.ค. 2562, 09:15

มีผู้อ่านทั้งหมด 1070 ครั้ง


คำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันไม่มีกฎหมายห้ามรับฟัง

1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1325/2542
              คำให้การและคำเบิกความของพยานโจทก์ที่ว่าจำเลยใช้ให้ บ. กับ ส. ฆ่าผู้ตายนั้น ในส่วนสาระสำคัญสอดคล้องกันทุกประการ จะมีแตกต่างกันบ้างก็เป็นเพียง พลความเท่านั้นไม่ทำให้พยานหลักฐานของโจทก์ขาดน้ำหนักในการรับฟัง และในที่สุด บ. กับ ส. มิได้เป็นคนร้ายฆ่าผู้ตาย คนร้ายที่ฆ่าผู้ตายเป็นกลุ่มบุคคลอื่น ซึ่งต่อมาถูกดำเนินคดีและศาลพิพากษาลงโทษแล้ว กลุ่มคนร้ายที่ฆ่าผู้ตาย ไม่มีความเกี่ยวพันกับ บ. และ ส.หากเรื่องไม่เป็นความจริงก็ไม่น่าเชื่อว่าพยานโจทก์จะแกล้งปรักปรำจำเลยในความผิด ข้อหาอุกฉกรรจ์พยานหลักฐานของโจทก์ฟังได้โดยปราศจากสงสัย ว่าจำเลยใช้ให้ บ.และ ส. ฆ่าผู้ตาย แต่ บ.และ ส. มิได้กระทำการตามที่จำเลยใช้ จำเลยจึงมีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 84 วรรคหนึ่งและวรรคสองตอนท้าย ประกอบมาตรา 289(4) คำซัดทอดระหว่างผู้ร่วมกระทำผิดด้วยกัน ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้รับฟังคำให้การเช่นว่านี้เสียทีเดียวหากการซัดทอดมีเหตุผลรับฟังได้ ศาลมีอำนาจรับฟังมาประกอบการพิจารณาได้ ว. จำคนร้ายไม่ได้และไม่ทราบว่าคนร้ายเป็นใครขณะเกิดเหตุ ว. กำลังขับรถคนร้ายยิงผู้ตายแล้วขับรถจักรยานยนต์หลบหนีไปทันที ว. ทราบเหตุต่อเมื่อผู้ตายถูกยิงแล้ว และล้มตัวเข้ามาหาพร้อมกับบอกว่าถูกยิง เชื่อว่าขณะนั้นคนร้ายหลบหนีไปแล้ว คำเบิกความของ ว. จึงไม่มีผลทำลายน้ำหนักพยานหลักฐานอื่นของโจทก์หลังจากเจ้าพนักงานตำรวจจับ ส. และ น. ได้ บุคคลทั้งสองพาไปหาหมวกกันน็อกที่ทิ้งไว้ในป่าหญ้าข้างทาง ปรากฏว่าหมวกใบหนึ่งมีเส้นผมติดอยู่ จากการตรวจพิสูจน์ของผู้เชี่ยวชาญ ปรากฏว่าเป็นเส้นผมของ น. การตรวจพิสูจน์นี้เป็นการทำตามหลักวิชาและมีความแน่นอนสามารถเชื่อถือได้ ประกอบกับ อาวุธปืนที่ น. ใช้ยิงผู้ตายได้มีการดัดแปลงแก้ไขให้ผิดไปจากเดิมอันเป็นพิรุธ พยานหลักฐานของโจทก์ มีน้ำหนักมั่นคงโดยปราศจากสงสัยว่าจำเลยเป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่น ฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน การกระทำของจำเลยคือการติดต่อว่าจ้าง อ.กับ ก.ให้ฆ่าผู้ตาย ที่ ก.ขอให้ ส.เข้ามาช่วยเหลือแล้วส. ไปว่าจ้าง กต.และสจ. ให้มาร่วมก็เพียงเพื่อให้สามารถฆ่าผู้ตายให้สำเร็จตามที่ ก. รับจ้างมาจากจำเลยเมื่อ กต.กับสจ.ล้มเลิกส. และ ก. จึงไปติดต่อ น.กับ ช.ให้เข้ามาร่วมทำงานต่อไปจนสำเร็จการที่ส.ก.กต.และสจ. ได้ร่วมกันไปดักยิงผู้ตายหลายครั้งแต่ไม่สำเร็จแล้วในที่สุด ส.ก.น.และช. สามารถฆ่าผู้ตายได้สำเร็จ จึงเป็นผลของการกระทำที่สืบเนื่องติดต่อมาจากการว่าจ้างของจำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวอันเป็นความผิดฐานใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดฐานฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และผู้ถูกใช้ได้กระทำความผิดนั้น ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 84 วรรคสอง ประกอบมาตรา 289(4)

2.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 39/2542
                ไม่มีกฎหมายบทใดบัญญัติห้ามมิให้ศาลรับฟังคำให้การชั้นจับกุมและชิ้นสอบสวนของจำเลยประกอบการพิจารณาของศาล ส่วนจะมีน้ำหนักรับฟังได้เพียงใดหรือไม่นั้นสุดแล้วแต่เหตุผลของคำให้การนั้น ไม่มีบทกฎหมายใดห้ามมิให้รับฟังคำชัดทอดของผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันเป็นพยานหลักฐาน เพียงแต่คำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำความผิดเพียงอย่างเดียวเป็นพยานหลักฐานที่มีน้ำหนักน้อยต้องรับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ด้วย จึงจะมีน้ำหนักรับฟังเพื่อลงโทษผู้กระทำความผิดคนอื่นได้ โจทก์มีร้อยตำรวจโทฉ.พนักงานสอบสวนเป็นพยานเบิกความยืนยันว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ได้ให้การ รับสารภาพในชั้นสอบสวนด้วยความสมัครใจตามเอกสาร หมาย จ.10 ถึง จ.12 ส่วนจำเลยที่ 5 ให้การรับสารภาพ ในชั้นจับกุมตามเอกสารหมาย จ.4 และให้การภาคเสธ ตามเอกสารหมาย จ.14 และจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ได้นำชี้สถานที่เกิดเหตุประกอบคำให้การรับสารภาพตามเอกสารหมาย จ.17 และแสดงท่าทางให้ถ่ายภาพประกอบคำให้การรับสารภาพตามภาพถ่ายหมาย จ.18ซึ่งกระทำต่อหน้าประชาชนจำนวนมาก เชื่อได้ว่าให้การรับสารภาพด้วยความสมัครใจ คำให้การของจำเลยแต่ละคนกล่าวถึงข้อเท็จจริงในการกระทำความผิดและระบุชัดว่าจำเลยแต่ละคนร่วมกับ บ. ในการเคลื่อนย้ายศพผู้ตาย ซึ่งสอดคล้องกับคำเบิกความของสิบตำรวจตรีธ.ผู้ไปตรวจดูสภาพหลุมศพว่าได้ขุดพบโครงกระดูกของผู้ตายประกอบกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ล้วนแต่สนิทสนมกับบ.ผู้ต้องหาในคดีฆ่าส.ผู้ตายโดยเจตนา และจำเลยที่ 5 เป็นภริยาของบ.เช่นนี้พฤติการณ์จึงมีน้ำหนักฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 มีเจตนาเคลื่อนย้ายศพส. เพื่อช่วยบ. จริง ในการวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ เมื่อศาลล่างทั้งสองมิได้ฟังคำซัดทอดของร.และน.เพียงอย่างเดียว แต่โจทก์มีพยานวัตถุและคำให้การรับสารภาพของ จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ในชั้นจับกุม คำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และ 3 ในชั้นสอบสวน และบันทึกการนำชี้สถานที่เกิดเหตุประกอบคำให้การรับสารภาพกับภาพถ่ายการชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำให้การรับสารภาพเป็นพยานหลักฐาน ย่อมฟังได้โดย ปราศจากข้อสงสัยใด ๆ ว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3และที่ 5 ได้เคลื่อนย้ายศพส.เพื่อปิดบังการตายหรือสาเหตุแห่งการตายของส.ตามฟ้อง ดังนี้ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยปัญหานี้ชอบแล้ว เมื่อกรณีมีเหตุอันสมควรปรานีรอการลงโทษจำคุก จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 และการรอการลงโทษ ดังกล่าวเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีศาลฎีกาจึงมีอำนาจ พิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 4 ที่มิได้ฎีกาให้ได้รับการรอ การลงโทษดุจจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบ ด้วยมาตรา 225

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก