รปภ.ไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา|รปภ.ไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา

รปภ.ไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

รปภ.ไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา

  • Defalut Image

คำพิพากษาฎีกาที่ 352/2561

บทความวันที่ 17 ธ.ค. 2561, 13:16

มีผู้อ่านทั้งหมด 1713 ครั้ง


รปภ.ไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา

คำพิพากษาฎีกาที่ 352/2561
            งานเฝ้าดูแลสถานที่หรือทรัพย์สินอันเป็นหน้าที่การทำงานปกติของจำเลยร่วม  มีกฎกระทรวงกำหนดงานที่ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาและค่าล่วงเวลาในวันหยุด พ.ศ.2552 ที่ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 65(9) กำหนดไว้โดยเฉพาะ โดยข้อ 2 กำหนดให้งานเฝ้าดูแลสถานที่หรือทรัพย์สินอันเป็นหน้าที่การทำงานปกติของลูกจ้างเป็นงานที่ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 61 จึงไม่อาจนำกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาใช้บังคับกับงานเฝ้าดูแลสถานที่หรือทรัพย์สินอันเป็นหน้าที่การทำงานปกติ จำเลยร่วมซึ่งมีตำแหน่งพนักงานรักษาความปลอดภัยทำงานเฝ้าดูแลสถานที่หรือทรัพย์สินอันเป็นหน้าที่การทำงานปกติ จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา คงมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเท่ากับอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 65 เท่านั้น โจทก์จ่ายค่าตอบแทนการทำงานให้จำเลยร่วมชอบแล้ว

มีข้อสงสัยเพิ่มเติม ปรึกษาทนายความทนายคลายทุกข์ โทร.02-9485700

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก