ทนายความของโจทก์นำที่ดินตามสัญญายอมไปจดทะเบียนให้บุคคลอื่นเช่า โดยโจทก์มิได้มอบหมาย ผิดฐานยักยอกหรือไม่|ทนายความของโจทก์นำที่ดินตามสัญญายอมไปจดทะเบียนให้บุคคลอื่นเช่า โดยโจทก์มิได้มอบหมาย ผิดฐานยักยอกหรือไม่

ทนายความของโจทก์นำที่ดินตามสัญญายอมไปจดทะเบียนให้บุคคลอื่นเช่า โดยโจทก์มิได้มอบหมาย ผิดฐานยักยอกหรือไม่

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ทนายความของโจทก์นำที่ดินตามสัญญายอมไปจดทะเบียนให้บุคคลอื่นเช่า โดยโจทก์มิได้มอบหมาย ผิดฐานยักยอกหรือไม่

  • Defalut Image

ความผิดฐานยักยอก ตาม ป.อ.มาตรา 352 จะต้องได้ความในเบื้องต้นก่อนว่า ทรัพย์เป็นของโจทก์

บทความวันที่ 8 ส.ค. 2561, 11:02

มีผู้อ่านทั้งหมด 1725 ครั้ง


ทนายความของโจทก์นำที่ดินตามสัญญายอมไปจดทะเบียนให้บุคคลอื่นเช่า โดยโจทก์มิได้มอบหมาย ผิดฐานยักยอกหรือไม่

                  ความผิดฐานยักยอก ตาม ป.อ.มาตรา 352 จะต้องได้ความในเบื้องต้นก่อนว่า ทรัพย์เป็นของโจทก์ เมื่อทรัพย์ดังกล่าวยังไม่ใช่ทรัพย์ของโจทก์ โจทก์จึงไม่อาจอ้างได้ว่าโจทก์ถูกผู้อื่นยักยอกทรัพย์ได้ และในส่วนของสิทธิที่โจทก์อ้างว่าจะได้รับตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น ไม่ถือเป็นทรัพย์ ตามความหมายของ ป.อ. มาตรา 352 ซึ่งหมายถึงทรัพย์ที่มีรูปร่าง จึงไม่อาจถูกยักยอกได้เช่นกัน

คำพิพากษาฎีกาที่อ้างอิง
คำพิพากษาฎีกาที่ 6811/2559

    โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ขอให้เพิกถอนนิติกรรมและเรียกกรรมสิทธิ์ในที่ดินคืนต่อศาลชั้นต้น ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 แบ่งแยกและโอนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ การฟ้องเพิกถอนดังกล่าวโจทก์ตั้งจำเลยที่ 5 เป็นทนายความ ต่อมาในระหว่างที่ยังไม่มีการจดทะเบียนแบ่งแยกและโอนที่ดินให้โจทก์ตามสัญญาซื้อขาย จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ได้นำที่ดินแปลงดังกล่าวไปจดทะเบียนให้จำเลยที่ 8 เช่ามีกำหนดระยะเวลา 30 ปี โดยมีจำเลยที่ 5 เป็นผู้ดำเนินการในการจดทะเบียนเช่าดังกล่าวนั้น ตามสัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์ยังไม่ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดิน เพียงแต่โจทก์อยู่ในฐานะจดทะเบียนสิทธิได้ก่อนผู้อื่นเท่านั้น ความผิดฐานยักยอกตาม ป.อ. มาตรา 352 จะต้องได้ความในเบื้องต้นเสียก่อนว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ เมื่อที่ดินพิพาทยังเป็นของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 อยู่ โจทก์ไม่อาจอ้างได้ว่าโจทก์ถูกผู้อื่นยักยอกทรัพย์ได้และสิทธิดังกล่าวที่โจทก์มีอยู่ ไม่ใช่ทรัพย์ตามความหมายของ ป.อ. มาตรา 352 ซึ่งหมายถึงทรัพย์ที่มีรูปร่าง จึงไม่อาจถูกยักยอกได้ เมื่อทางนำสืบของโจทก์เองโจทก์มิเคยได้มอบหมายให้จำเลยที่ 5 นำสิทธิเรียกร้องของโจทก์ไปดำเนินการใดๆ เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 5 ไปดำเนินการโดยพลการ เงินที่ได้มาจึงมิใช่เงินที่จำเลยที่ 5 จะต้องส่งมอบให้แก่โจทก์ โจทก์มีแต่สิทธิที่จะบังคับให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง 
ประมวลกฎหมายอาญา 
มาตรา 352
ผู้ใดครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่น หรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานยักยอก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
    ถ้าทรัพย์นั้นได้ตกมาอยู่ในความครอบครองของผู้กระทำความผิด เพราะผู้อื่นส่งมอบให้โดยสำคัญผิดไปด้วยประการใด หรือเป็นทรัพย์สินหายซึ่งผู้กระทำความผิดเก็บได้ ผู้กระทำต้องระวางโทษแต่เพียงกึ่งหนึ่ง

ปรึกษาข้อกฎหมายกับทีมทนายความ ทนายคลายทุกข์ โทร.02-9485700, 081-6161425

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก